ที่ผ่านมา รุสซอลประสบความสำเร็จในการพัฒนา ALLOW INERTA ซึ่งเป็นอะลูมิเนียมที่มีคาร์บอนต่ำเป็นพิเศษในขบวนการผลิต ด้วยเทคโนโลยีอันทันสมัย โดยช่วยลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในระหว่างกระบวนการอิเล็กโทรลิซิสได้อย่างมีนัยสำคัญ นวัตกรรมนี้สามารถลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ประเภทที่ 1 (Scope 1) และ ประเภทที่ 2 (Scope 2) ให้เหลือเพียง 0.01 ตันของ CO2 (คาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า) ต่ออะลูมิเนียมหนึ่งตัน เทียบกับค่าเฉลี่ยของอุตสาหกรรมที่ 11.4 ตันของ CO2 ต่ออะลูมิเนียมหนึ่งตัน (ตามการประเมินของสถาบันอะลูมิเนียมระหว่างประเทศปี 2565[1])
การผลิตอะลูมิเนียม ALLOW INERTA มีลักษณะพิเศษเพราะใช้แอโนดที่ทำจากวัสดุที่ไม่สิ้นเปลือง เช่น เซรามิกหรือโลหะผสม ซึ่งช่วยลดระดับการปล่อยก๊าซระหว่างกระบวนการอิเล็กโทรลิซิสได้เป็นอย่างมาก แนวทางนี้ยังลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (ประเภทที่ 1 และ 2) ให้เหลือเพียง 0.01 ตัน ของ CO2 ต่อการผลิตอะลูมิเนียมหนึ่งตัน
ปัจจุบัน อะลูมิเนียม ALLOW INERTA ผลิตที่โรงงานอะลูมิเนียม Krasnoyarsk (KrAZ) ของรุสซอล โดยในปี 2564 มีการจัดส่งอะลูมิเนียมล็อตแรกไปยังบริษัทต่างๆ ในอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ พลังงาน ยานยนต์ และอิเล็กทรอนิกส์ รวมแล้วมีการผลิตในช่วงการทดสอบเทคโนโลยีกว่า 4,100 ตัน
ล่าสุด ยังมีการผลิต ALLOW INERTA และยื่นทดสอบประสิทธิภาพเพิ่มเติมในหลายอุตสาหกรรม ซึ่งรวมถึงอุตสาหกรรมสายเคเบิลและแบตเตอรี่สำหรับยานยนต์ไฟฟ้าด้วย
พันธมิตรของรุสซอลซึ่งเป็นผู้ผลิตสายเคเบิลและสายไฟระดับสากลได้ประสบความสำเร็จในการทดสอบและรับรองคุณภาพของเหล็กลวดคาร์บอนต่ำพิเศษว่าเป็นไปตามคุณสมบัติทางเทคนิคที่ประกาศไว้ โดยจะมีการนำเหล็กลวดที่ทำจาก ALLOW INERTA ไปใช้ในโครงการพลังงานหมุนเวียนของพันธมิตรด้วย
ข้อดีอีกประการหนึ่งก็คือเหล็กลวดนี้จะมีคุณสมบัติการนำไฟฟ้าที่ดียิ่งขึ้น เนื่องจากลักษณะเฉพาะของโลหะที่ผลิตโดยเทคโนโลยีขั้วไฟฟ้าแอโนดซึ่งมีความเฉื่อยในการทำปฏิกิริยา โดยในมุมของผู้ผลิตนั้น สิ่งดังกล่าวจะช่วยลดต้นทุนวัสดุสายเคเบิลและงบประมาณโครงการที่ต้องใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตและจำหน่ายไฟฟ้า ปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ทั้งหมดของเหล็กลวดชนิดใหม่นี้อยู่ที่ 4 ตันของ CO2 ต่ออะลูมิเนียมหนึ่งตัน ซึ่งสอดคล้องกับแนวโน้มการลดคาร์บอนในอุตสาหกรรมสายเคเบิลทั่วโลก
ส่วนในด้านผู้ผลิตแบตเตอรี่สำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้านั้น โรงงานผลิตแบตเตอรี่ชนิดดังกล่าวหลายแห่งในประเทศจีนก็มีแผนที่จะใช้อะลูมิเนียม ALLOW INERTA ในการผลิตแผ่นฟอยล์เพื่อใช้ในด้านวิศวกรรมไฟฟ้า โดยเฉพาะในแบตเตอรี่สำหรับยานยนต์ไฟฟ้า
ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมมักจะวิเคราะห์ซัพพลายเออร์รายต่างๆ อย่างต่อเนื่อง เพราะต้องคำนึงถึงปริมาณการปล่อยคาร์บอนของวัตถุดิบ และพยายามเลือกซัพพลายเออร์ที่สอดคล้องกับเป้าหมายการลดคาร์บอน ดังนั้นการใช้ ALLOW INERTA จึงถือเป็นก้าวต่อไปที่สำคัญสู่การสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด
ที่มา: PRecious Communications