'นครพนม' เปิดระบบแล้วลงทะเบียนร่วม 'เดิน วิ่ง ปั่น ป้องกันอัมพาต ครั้งที่ 10'ร่วมเป็น 'หนึ่งในล้าน' แสดงความจงรักภักดีฯ ผ่านการออกกำลังกาย-ป้องกัน 'โรคหลอดเลือดสมอง'

พุธ ๒๘ สิงหาคม ๒๕๖๗ ๑๖:๓๔
'ผู้ว่าฯ วันชัย จันทร์พร' เชิญชวนพี่น้องชาวนครพนมทุกกลุ่มวัย ออกมาร่วมแสดงความจงรักภักดี ผ่านการออกกำลังกายในโครงการ "เดิน วิ่ง ปั่น ป้องกันอัมพาต ครั้งที่ 10 เฉลิมพระเกียรติฯ" 'สนามจังหวัดนครพนม' เปิดระบบให้ลงทะเบียนแล้ว ทาง https://wrb10.thai.run/event/NPM มี 3 ประเภทกิจกรรม 'เดิน 5 กม. วิ่ง 10 กม. และปั่นจักรยาน 21 กม.' ด้าน 'นายแพทย์ปรีดา วรหาร' เผย 'โรคหลอดเลือดสมอง' เป็นภัยเงียบที่อันตรายที่สุด และมีโอกาสเกิดได้ในทุกคน ย้ำ.! การออกกำลังกายเป็นหนึ่งในวิธีป้องกันที่ดีที่สุด ลดการเกิด 'โรคหลอดเลือดสมอง' ได้ถึง 90% จังหวัดนครพนม โดยกลุ่มงานควบคุมโรคไม่ติดต่อ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครพนม รณรงค์เชิญชวนมาออกกำลังกาย ร่วมเป็น 1 ในหนึ่งล้านคน พร้อมกันทั้ง 77 จังหวัด ทั่วประเทศ 2 พฤศจิกายนนี้
'นครพนม' เปิดระบบแล้วลงทะเบียนร่วม 'เดิน วิ่ง ปั่น ป้องกันอัมพาต ครั้งที่ 10'ร่วมเป็น 'หนึ่งในล้าน' แสดงความจงรักภักดีฯ ผ่านการออกกำลังกาย-ป้องกัน 'โรคหลอดเลือดสมอง'

นายวันชัย จันทร์พร ผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม กล่าวว่า ขอเชิญชวนพี่น้องชาวนครพนมทุกกลุ่มวัยในจังหวัดนครพนม ออกมาร่วมแสดงความจงรักภักดี เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 ผ่านการออกกำลังกาย ในกิจกรรม 'โครงการเดิน วิ่ง ปั่น ป้องกันอัมพาต ครั้งที่ 10 เฉลิมพระเกียรติฯ' ในวันเสาร์ที่ 2 พฤศจิกายน 2567 นี้ โดยสมัครลงทะเบียนร่วมกิจกรรมได้ทาง https://wrb10.thai.run/event/NPM ซึ่งสนามจังหวัดนครพนม มี 3 ประเภทกิจกรรม คือ เดิน ระยะทาง 5 กิโลเมตร วิ่ง ระยะทาง 10 กิโลเมตร และปั่นจักรยาน ระยะทาง 21 กิโลเมตร ปล่อยตัว ณ จุดสตาร์ท 'ลานพญาศรีสัตตนาคราช' ผู้ร่วมกิจกรรมสวมเสื้อเหลืองไม่จำกัดรูปแบบ

นายแพทย์ปรีดา วรหาร นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครพนม เปิดเผยว่า "โรคหลอดเลือดสมอง" เป็นภัยเงียบที่อันตรายที่สุด และเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 รองจากอุบัติเหตุและโรคมะเร็ง และโรคนี้มีโอกาสเกิดได้ในทุกคนและพบบ่อย โดยในทุก 1 ชั่วโมง จะมีคนไทยมากกว่า 39 คน เป็น 'สโตรค' และเมื่อเป็นแล้วส่วนใหญ่จะพิการ หรือความจำเสื่อม การออกกำลังกายเป็นหนึ่งในวิธีป้องกันโรคหลอดเลือดสมองที่ดีที่สุด และสามารถลดอัตราการเกิดโรคหลอดเลือดสมองได้ถึง 90 เปอร์เซ็น ซึ่งหากออกกำลังกายติดต่อกันเป็นประจำ จะทำให้มีสุขภาพแข็งแรง ห่างไกลจากโรค และช่วยลดค่าใช้จ่ายในการรักษา ตลอดจนลดภาระของปัญหาโรคเรื้อรังได้

อนึ่ง ศูนย์โรคหลอดเลือดสมองศิริราช คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ร่วมกับศิริราชมูลนิธิ มีกำหนดจัด 'โครงการเดิน วิ่ง ปั่น ป้องกันอัมพาต ครั้งที่ 10 เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567' หัวข้อ 'คนไทยสมองดี' (HEALTHY THAIS, HEALTHY BRAINS) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงเป็นดั่งแสงนำใจและทรงเป็นแบบอย่างแก่ประชาชนชาวไทย ในการรักษาสุขภาพและการออกกำลังกาย โดยกำหนดจัดกิจกรรมการออกกำลังกาย "เดิน วิ่ง ปั่น ป้องกันอัมพาต เฉลิมพระเกียรติฯ" ในวันเสาร์ที่ 2 พฤศจิกายน 2567 โดยตั้งเป้าหมายรณรงค์เชิญชวนพี่น้องชาวไทยให้ออกมาร่วมกิจกรรมออกกำลังกายในโครงการฯ นี้ จำนวน 1,000,000 คน (หนึ่งล้านคน) พร้อมกันทั้ง 77 จังหวัด ทั่วประเทศ

 

ที่มา: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครพนม

'นครพนม' เปิดระบบแล้วลงทะเบียนร่วม 'เดิน วิ่ง ปั่น ป้องกันอัมพาต ครั้งที่ 10'ร่วมเป็น 'หนึ่งในล้าน' แสดงความจงรักภักดีฯ ผ่านการออกกำลังกาย-ป้องกัน 'โรคหลอดเลือดสมอง'

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ