ม.มหิดลเตรียมสร้าง Digital Medical Hub ขยายผลโลจิสติกส์ จากภาคสาธารณสุข สู่ภาคการเกษตร

พฤหัส ๒๙ สิงหาคม ๒๕๖๗ ๐๘:๔๘
จากความสำเร็จที่ได้ออกแบบระบบโลจิสติกส์อัจฉริยะ นับตั้งแต่ช่วงวิกฤติ COVID - 19 ที่ผ่านมาของ มหาวิทยาลัยมหิดล โดย ศูนย์การจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน (LogHealth) ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จนได้ส่งต่อเทคโนโลยีสู่ชุมชนทั่วประเทศ
ม.มหิดลเตรียมสร้าง Digital Medical Hub ขยายผลโลจิสติกส์ จากภาคสาธารณสุข สู่ภาคการเกษตร

ปัจจุบันเตรียมยกระดับสู่การเป็น "Digital Medical Hub" พร้อมขยายผลจาก "ภาคสาธารณสุข" สู่ "ภาคการเกษตร"

รองศาสตราจารย์ ดร.เดชรัตน์ สัมฤทธิ์ อาจารย์ประจำหลักสูตรโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน กลุ่มสาขาวิชาโลจิสติกส์และระบบขนส่งทางราง คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เสนอแบบโมเดล "Quadruple Innovation Helix" รองรับการเชื่อมโลกดิจิทัลเพื่อพัฒนาภาคการเกษตรของไทย ภายใต้การสร้าง "ระบบนิเวศ" (Ecosystem) สำหรับรัฐ - มหาวิทยาลัย - อุตสาหกรรม และ กลุ่มประชาสังคม ที่สะท้อนการเปลี่ยนผ่านภาคการเกษตร จากดั้งเดิมไปสู่ดิจิทัล

การประยุกต์ใช้อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่งทางอุตสาหกรรม (IIoT) ในห่วงโซ่อุปทานภาคการเกษตรถือเป็นก้าวสำคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพ และความโปร่งใสในกระบวนการผลิต ขนส่ง และกระจายสินค้า IIoT ช่วยให้เกษตรกรและผู้ประกอบการ สามารถติดตามสถานะของสินค้าในทุกขั้นตอน ตั้งแต่การปลูก เก็บเกี่ยว ขนส่ง จนถึงการจัดจำหน่าย โดยสามารถติดตามการเคลื่อนไหวของสินค้าแบบเรียลไทม์ ช่วยจัดการสต็อกสินค้าและคาดการณ์ความต้องการของตลาดได้อย่างแม่นยำ

ในการขนส่งและการกระจายสินค้า IIOT ช่วยตรวจสอบสภาพแวดล้อมภายในยานพาหนะ เช่น อุณหภูมิ ความชื้น และการสั่นสะเทือน ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการรักษาคุณภาพของสินค้าเกษตร โดยเฉพาะสินค้าที่เน่าเสียง่าย นอกจากนี้ยังช่วยวิเคราะห์และปรับเส้นทางการขนส่งเพื่อลดค่าใช้จ่าย และการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ส่งเสริมความยั่งยืนในการขนส่งสินค้า

IIoT ยังเพิ่มความสามารถในการตรวจสอบย้อนกลับของสินค้า ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการรับรองความปลอดภัยทางอาหาร ข้อมูลจาก IIoT สามารถบันทึกประวัติการปลูก การใช้สารเคมี และกระบวนการขนส่ง ทำให้ผู้บริโภคสามารถทราบถึงแหล่งที่มาของอาหารได้อย่างละเอียด อีกทั้งยังช่วยให้เกษตรกรระบุและแก้ไขปัญหาในกระบวนการผลิตได้อย่างรวดเร็ว เพิ่มความเชื่อมั่นในคุณภาพ และความปลอดภัยของสินค้า

การสร้างระบบนิเวศสำหรับการประยุกต์ใช้อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่งทางอุตสาหกรรม (IIoT) ในการเตรียมความพร้อมของห่วงโซ่อุปทานภาคการเกษตรของประเทศไทย ต้องอาศัยความร่วมมือจากกลุ่มหลัก 4 กลุ่ม ได้แก่ อุตสาหกรรม สถาบันการศึกษา รัฐบาล และกลุ่มประชาสังคม (Quadruple Innovation Helix)

โดยอุตสาหกรรมมีบทบาทสำคัญในการพัฒนา และนำเทคโนโลยี IIoT มาใช้ในภาคการเกษตรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการห่วงโซ่อุปทาน เช่น การติดตามผลผลิต และการจัดการทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ สถาบันการศึกษาให้การสนับสนุนด้านวิจัยและการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่สามารถนำไปใช้ในภาคการเกษตร

รัฐบาลมีบทบาทในการสร้างนโยบาย และกฎระเบียบที่เอื้อต่อการนำเทคโนโลยี IIoT มาใช้ รวมถึงการสนับสนุนด้านการเงิน และการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ช่วยลดต้นทุนการลงทุนในเทคโนโลยีใหม่ๆ ส่วนกลุ่มประชาสังคม หรือผู้ใช้มีความสำคัญในการให้ข้อเสนอแนะแบบจริงจังเกี่ยวกับความต้องการ และความคาดหวังของผู้ใช้ที่แท้จริง ข้อมูลและความคิดเห็นจากกลุ่มนี้ช่วยให้การพัฒนาเทคโนโลยีสามารถตอบสนองต่อความต้องการของตลาดได้ดีขึ้น และสอดคล้องกับความเป็นจริงของการปฏิบัติ

การทำงานร่วมกันของทั้ง 4 กลุ่มนี้ช่วยสร้างระบบนิเวศที่แข็งแกร่งซึ่งสนับสนุนการใช้ IIoT ในห่วงโซ่อุปทานภาคการเกษตรได้อย่างมีประสิทธิภาพ การสร้างความร่วมมือที่ดีระหว่างกลุ่มต่างๆ จะนำไปสู่การพัฒนาเทคโนโลยีที่สามารถแก้ไขปัญหาต่างๆ ในภาคเกษตร เช่น การเพิ่มผลผลิต การลดการใช้สารเคมี และการประหยัดน้ำ การบูรณาการเทคโนโลยี IIoT กับการปฏิบัติการเกษตรอย่างยั่งยืนจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ และความยั่งยืนของห่วงโซ่อุปทานได้อย่างแท้จริง

โดยการจัดการ "ข้อมูล" ให้เข้าสู่ "ระบบสารสนเทศ" จะก่อให้เกิด "การเรียนรู้" พร้อมพัฒนาสู่ "ปัญญา" สร้างคนสร้างชาติอย่างมั่นคง และยั่งยืน ตามปณิธานของมหาวิทยาลัย สู่การเป็น "ปัญญาของแผ่นดิน" ได้ต่อไปในอนาคต

ติดตามข่าวสารที่น่าสนใจจากมหาวิทยาลัยมหิดลได้ที่ www.mahidol.ac.th

ที่มา: มหาวิทยาลัยมหิดล

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๑๕ SOLUX Clinic เปิดตัวอย่างยิ่งใหญ่ ตอกย้ำความสวยที่มีระดับ (พรีเมียม)
๑๖:๓๖ บลจ.อีสท์สปริง เปิดขายกองทุนพันธบัตรรัฐมุ่งรักษาเงินต้น อายุ 6 เดือน มูลค่า 6,000 ล้านบาท 21-28 พ.ย.นี้ ชูโอกาสรับผลตอบแทน 1.90%
๑๖:๒๗ เมอร์เซเดส-เบนซ์ เปิดตัวทัพยนตรกรรมระดับ Top-End Luxury สะท้อนนิยาม The Art of Cultivated Luxury จัดแสดงครั้งแรกที่ One Bangkok
๑๖:๕๑ 'ผู้ว่าฯ ชัชชาติ' เยี่ยมชมผลงาน DEKOCM SPU เรียน เล่น เล่า ครั้งที่ 2 พร้อมส่งมอบ 7 โมเมนต์แห่งความสุขในกรุงเทพฯ
๑๖:๕๓ ซีพีเอฟ เปิดเวที Feed Sustainovation 2024 เสริมพลังบุคลากรด้วย AI และนวัตกรรมเพื่ออนาคตที่ยั่งยืน
๑๖:๔๙ ธุรกิจสุกร CPF คิดสร้างสรรค์ Waste No More สานต่อความยั่งยืน พลิกฟื้นคืนของเสีย.สู่ของดีอย่างมีประสิทธิภาพ
๑๖:๒๖ ซีพีเอฟหนุน ร้านกาแฟเด็กน้อยทำมือ มุ่งสู่อาชีพที่ยั่งยืน ฝีกทักษะนักเรียน รร.บ้านราษฎร์ดำเนิน ชัยภูมิ
๑๖:๐๗ NAM ฐานแน่น! แย้มผลงาน Q4/67 ทรงดี อานิสงส์นโยบายภาครัฐหนุนดีมานด์ผลิตภัณฑ์การแพทย์ ลุยเจาะตลาด B2B-B2C
๑๖:๔๙ Finnomena Funds ชูแคมเปญ 'ของดีฟินโนมีนา' เผยโพยกองทุนลดหย่อนภาษีโค้งสุดท้ายปี 2567 พร้อมอีเวนต์สุดพิเศษ
๑๖:๔๖ กรมอนามัย ย้ำ ท้องถิ่นเร่งปรับปรุงระบบประปาหมู่บ้าน หลังพบการปนเปื้อนแบคทีเรีย