อว. นำทีม สกสว. - ศอ.บต. รวมพลังรัฐ - เอกชน ดึงงานวิจัยเด่นจากกลุ่มมหา'ลัย ลดขัดแย้ง สร้างสันติภาพ เสริมเศรษฐกิจในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้

พฤหัส ๒๙ สิงหาคม ๒๕๖๗ ๑๐:๔๓
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริม วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ร่วมกับศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ ตัวแทนจากทั้งภาครัฐ เอกชน ภาคประชาสังคม และภาคการศึกษา ร่วมหารือ วิเคราะห์ความต้องการและโจทย์วิจัยจากพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ทั้งในมิติด้านความเป็นอยู่ที่ดี มิติด้านความขัดแย้ง ความรุนแรง และสันติภาพ เพื่อใช้วางแนวทางการบูรณาการงานวิจัยของระบบ ววน. กับหน่วยงานในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ พร้อมติดตามสถานะของผลการวิจัยและการใช้ประโยชน์จากผลงานวิจัยในพื้นที่ เพื่อสร้างกระบวนการทำงานเชิงบูรณาการ และการแก้ไขปัญหาของพื้นที่ชายแดนใต้ในทุกมิติ
อว. นำทีม สกสว. - ศอ.บต. รวมพลังรัฐ - เอกชน ดึงงานวิจัยเด่นจากกลุ่มมหา'ลัย ลดขัดแย้ง สร้างสันติภาพ เสริมเศรษฐกิจในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้

แพทย์หญิงเพชรดาว โต๊ะมีนา ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวง อว. กล่าวว่า ปัญหาความขัดแย้งในจังหวัดชายแดนภาคใต้ปรากฏขึ้น ตั้งแต่ ปี 2547 เป็นต้นมา นับเป็นเวลา 20 ปี แล้ว แม้ว่าสถิติความรุนแรงทางกายภาพ - ทางการทหารจะลดลง แต่ความขัดแย้งดูจะยังไม่มีท่าทีจะคลี่คลาย อีกทั้งยังแสดงให้เห็นผลกระทบเชิงลึกที่เกี่ยวเนื่องจากปัญหาความขัดแย้ง เช่น ปัญหาความยากจน ปัญหายาเสพติด ในส่วนนี้ นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวง อว. ได้มอบหมายให้ประสานทุกหน่วยงานในสังกัด อว. ร่วมกันสนับสนุน ส่งเสริม และขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่และสร้างสันติภาพในจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยรับฟังปัญหา ความต้องการและข้อเสนอแนะของคนในพื้นที่อย่างแท้จริง เพื่อนำข้อมูลสำคัญไปใช้วางแผนขับเคลื่อนร่วมกันต่อไป

โดยเฉพาะการจัดสรรงบประมาณที่ใช้สนับสนุนงานวิจัยที่ตรงกับความต้องการ ให้ความรู้จากการวิจัยและการนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ เป็นกลไกเชื่อมต่อการทำงานของหน่วยงานต่าง ๆ เพราะความสำเร็จและผลกระทบจากการวิจัยจะขยายผลด้วยความร่วมมือของทุกภาคส่วนไม่ใช่แค่หน่วยงานในระบบ ววน. ดังนั้นการประชุมนี้ จึงเป็นโอกาสอันดีที่จะได้รับฟังความเห็น ความต้องการและแนวทางการบูรณาการงานวิจัยเพื่อให้เกิดการนำไปใช้ประโยชน์ให้มากขึ้นในอนาคต โดยเฉพาะอย่างยิ่ง งานวิจัยและการใช้ประโยชน์จากการวิจัย ประเด็นการแก้ปัญหาความขัดแย้ง ลดความรุนแรงและการสร้างสันติภาพ

"เพื่อให้การบูรณาการงานวิจัย และการขับเคลื่อนการนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์มีประสิทธิภาพ ทั้งในระดับประเทศและระดับพื้นที่ ในฐานะ กมธ. วิสามัญเพื่อพิจารณาศึกษาและเสนอแนวทางการส่งเสริมกระบวนสร้างสันติภาพเพื่อแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ สภาผู้แทนราษฎร จะนำแนวทางการบูรณาการฯ และผลงานวิจัยเด่นของมหาวิทยาลัยในพื้นที่ อาทิ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา รวมถึงข้อเสนอแนะต่าง ๆ ของคนในพื้นที่ นำเสนอต่อคณะกรรมการฯ เพื่อร่วมสนับสนุนการทำงานให้ปัญหาชายแดนใต้ที่เกิดขึ้นร่วม 20 ปี ถูกแก้ไขได้ดีขึ้น"

ด้าน รองศาสตราจารย์ ดร.ปัทมาวดี โพชนุกูล ผู้อำนวยการ สกสว. กล่าวว่า สกสว. เป็นหน่วยงาน ที่มีหน้าที่ในการส่งเสริม สนับสนุน และขับเคลื่อนระบบวิจัยและนวัตกรรมของประเทศในทุกด้าน เพื่อให้เกิดการพัฒนาประเทศอย่างสมดุลและยั่งยืน ส่งเสริมและสนับสนุนการนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ ในการแก้ไขปัญหาพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ นอกจากการจัดทำแผนและกรอบงบประมาณด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) ยังได้จัดสรรงบประมาณให้กับหน่วยบริหารจัดการทุน เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานการวิจัยเชิงกลยุทธ์ (Strategic Fund) และหน่วยรับงบประมาณ เพื่อสนับสนุนงาน
มูลฐาน หรือ ตามพันธกิจของหน่วยงาน (Fundamental Fund) ที่รวมถึงมหาวิทยาลัยในพื้นที่ประกอบด้วย มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา มหาวิทยาลัยสงขลานรินทร์ วิทยาเขตปัตตานี มหาวิทยาลัยฟาฏอนี และมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ เป็นต้น

ดังนั้น การเปิดรับฟังความคิดเห็น และ ข้อเสนอแนะด้านการจัดทำโจทย์วิจัย รวมถึงการกำหนดตัวชี้วัดร่วมกัน
เพื่อเป็นข้อมูลสำคัญให้ สกสว.นำไปออกแบบการทำงานต่อ อีกทั้งประสานการทำงาน ทั้งหน่วยงานในระดับพื้นที่ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องด้านการกำหนดนโยบาย รวมถึงคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ เพื่อส่งต่อผลการศึกษาและข้อเสนอแนะที่เกี่ยวกับ
การส่งเสริมกระบวนการสร้างสันติภาพ และการแก้ไขปัญหาในพื้นที่ชายแดนใต้ในทุกมิติ เพื่อสร้างกระบวนการทำงาน
เชิงบูรณาการการใช้ข้อมูลงานวิจัย และการนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ต่อไป

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. แพร ศิริศักดิ์ ดำเกิง ประธานหน่วยบูรณาการประเด็นเชิงยุทธศาสตร์(Strategic Agenda Team : SAT) ด้านธรรมาภิบาล คอรัปชั่น และลดความรุนแรง สกสว. กล่าวว่า จากการสำรวจงานวิจัยในระบบ ววน. พบว่า งานวิจัยในประเด็นจังหวัดชายแดนภาคใต้ เกือบทั้งหมดมีทิศทางที่มุ่งเน้นไปที่ประเด็นการพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดีขึ้นเป็นหลัก (well-being) ทั้งงานวิจัย Fundamental Fund และ Strategic Fund ทั้งในด้านการแก้ปัญหาความยากจน การพัฒนาคุณภาพการศึกษา การยกระดับผลผลิตทางการเกษตร การพัฒนาการท่องเที่ยวบนฐานอัตลักษณ์ เป็นต้น ขณะที่ในด้านการการแก้ไขปัญหาด้านความขัดแย้ง ความรุนแรง และการสร้างสันติภาพ พบว่ามีงานวิจัยน้อยมาก แม้ว่าแผนด้าน ววน. ปี 2566 - 2570 จะมีแผนงาน P14 (S2) พัฒนานโยบายและต้นแบบ เพื่อสร้างสังคมไทยไร้ความรุนแรงฯ แต่ก็พบว่ายังไม่มีงานวิจัยที่เจาะประเด็นความรุนแรงและความขัดแย้งในจังหวัดชายแดนภาคใต้โดยตรงมากนัก ทำให้งานวิจัยไม่สามารถตอบโจทย์ความต้องการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการแก้ปัญหาอย่างเข้าใจพลวัต ความขัดแย้ง ความรุนแรงได้อย่างลึกซึ้ง และทันต่อสถานการณ์

คณะทำงานได้ทำการสำรวจความเห็นของผู้เข้าร่วมหารือว่าด้วยโจทย์งานวิจัยในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ แบ่งเป็น โจทย์ด้านกระบวนการสันติภาพ เรื่องกฎหมายพิเศษ (การบังคับใช้กฎหมาย ยกเลิกกฎหมาย พิเศษ เขตปลอดทหาร อาวุธ ยาเสพติด การบังคับใช้กฎหมาย ความมั่นคง และต่อด้วยกฎหมายอื่น ๆ ที่ตามมาโดยไม่สุจริต เช่น พรบ.บุคคลที่ถูกกำหนด พรบ.ป้องกันการกระทำความผิดซ้ำ) การศึกษาเพื่อสันติภาพและพัฒนาคุณภาพชีวิต (ความเหลื่อมล้ำของระบบการศึกษา ความสำคัญของการศึกษา การทำงานวิจัยเรื่องความสามารถและศักยภาพของครู ทำอย่างไร ให้ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาภาคใต้พ้นจากลำดับท้ายของประเทศ รวมถึงการพัฒนาศักยภาพเยาวชน) การสร้างการรับรู้ และความเข้าใจ ต่อกระบวนการต่าง ๆ โจทย์ด้านการเมือง ความต้องการการปกครองรูปแบบพิเศษของคนปัตตานี (วิจัยเชิงลึก "การปกครองตนเองภายใต้รัฐธรรมนูญ") และรูปแบบการกระจายอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โจทย์ด้านเศรษฐกิจ ทั้งในส่วนของการพัฒนาการแปรรูปผลิตภัณฑ์ในท้องถิ่น และการพัฒนาเทคโนโลยีที่ช่วยส่งเสริมการผลิตและส่งออก (AI กับการ วิเคราะห์ตลาด) พัฒนาเศรษฐกิจในพื้นที่ (การมีงานทำ การพัฒนาทักษะที่ตรงกับความต้องการของตลาดแรงงาน เศรษฐกิจฐานราก สร้างมูลค่าเพิ่ม ทางวัฒนธรรม ระบบผูกขาดนายทุน เพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตร) และ โจทย์ด้านการแพทย์ งานวิจัยคลินิก โดยนำทรัพยากรด้านสมุนไพรในพื้นที่มาผลิตเป็นยา เป็นต้น

ทั้งนี้ ผู้เข้าร่วมประชุมได้เสนอความคิดเห็นว่าด้วยความต้องการและโจทย์วิจัยอย่างหลากหลายโดยเชื่อมโยงกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ไม่ว่าจะเป็นประเด็น สันติภาพ (Peace) เช่น การมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่าง ๆ ในกระบวนการสันติภาพ การเป็นหุ้นส่วนในการพัฒนา (Partnership) เช่น การทำงานร่วมกันระหว่างนักวิชาการ ผู้ประกอบการ และภาคนโยบาย ด้านผู้คนและสังคม (People) เช่น การพัฒนาคุณภาพแรงงานตลอด value chain ของเศรษฐกิจสำคัญในพื้นที่ ด้านเศรษฐกิจและความมั่งคั่ง (Prosperity) เช่น การสร้างมูลค่าเพิ่มของผลผลิตทางการเกษตรในพื้นที่ และด้านสิ่งแวดล้อม (Planet) เช่น การบรรเทาผลกระทบภัยพิบัติ และการบริหารจัดการน้ำ เป็นต้น

ที่มา: เจซีแอนด์โค คอมมิวนิเคชั่นส์

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๐ ธ.ค. ASMT ผนึก TFT ร่วมลงนามด้านวิชาการด้านอุตสาหกรรมการบิน
๒๐ ธ.ค. กรมวิชาการเกษตร เดินหน้า ถ่ายทอดองค์ความรู้การผลิตอะโวคาโดคุณภาพ สร้างรายได้เพิ่มให้เกษตรกรกว่า 2 แสนบาท/ไร่
๒๐ ธ.ค. Dow มุ่งพัฒนาประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์ Personal Care ควบคู่ความยั่งยืน ตอบโจทย์ผู้บริโภคตลาดเครื่องสำอางในภูมิภาคเอเชีย
๒๐ ธ.ค. โอซีซี มอบความรู้ พัฒนาอาชีพให้ผู้ต้องขังหญิง
๒๐ ธ.ค. ดร.นุชนารถ ชลคงคา นำทีมสถาบัน ESTC จัดอบรมให้ Karmakamet
๒๐ ธ.ค. กนภ. เห็นชอบร่าง พรบ. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กลไกสำคัญสู่เส้นทางเศรษกิจคาร์บอนต่ำ และมีภูมิคุ้มกันฯ
๒๐ ธ.ค. WePlay x คอลแลบตัวละครสุดปัง! พบกับมินิเกมใหม่ และการ์ตูนสุดน่ารักที่คุณจะต้องหลงรัก
๒๐ ธ.ค. เดลต้า ประเทศไทย และ WEnergy Global ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงเพื่อขับเคลื่อนอนาคตพลังงานสีเขียว
๒๐ ธ.ค. ความภาคภูมิใจของ ไลอ้อน กับ 3 รางวัลแห่งเกียรติยศ เผยผลงานโดดเด่นกับหลายรางวัลที่ได้รับในปี 2567
๒๐ ธ.ค. NOBLE คว้าเรทติ้งสูงสุด ระดับ AAA SET ESG Ratings ประจำปี 2567 ยกระดับองค์กรสู่ความยั่งยืนภายในแนวคิด Live Different ตามกรอบ