ผศ.ดร.คณกร กล่าวอีกว่า การอบรมครั้งนี้มีผู้บริหารมหาวิทยาลัย นักศึกษา บุคลากร และผู้เกี่ยวข้องเข้าร่วมเป็นจำนวนมาก รวมทั้งยังมีกิจกรรมที่น่าสนใจ เช่น การบรรยายหัวข้อ แนวคิดการใช้เศรษฐกิจสร้างสรรค์จากองค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยศ.กิตติคุณวัฒนะ จูฑะวิภาต อาจารย์จากมหาวิทยาลัยรังสิต หัวข้อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจเชิงบูรณาการการศึกษาการสร้างสรรค์งานการใช้ทรัพย์สินทางปัญญาที่เชื่อมโยงกับรากฐานทางวัฒนธรรม การสั่งสมความรู้ทางสังคมและเทคโนโลยี่/นวัตกรรมสมัยใหม่ และหัวข้อ ความหลากหลายของชาติพันธ์ของ กลุ่มชาติพันธุ์ลาวครั่ง และ กลุ่มชาติพันธุ์ลาวเวียง โดย รศ.ดร. เกรียงศักดิ์ เขียวมั่ง อาจารย์จากมหาวิทยาลัยบูรพา หัวข้อ ความหลากหลายของชาติพันธ์ กลุ่มชาติพันธุ์ไทยพื้นถิ่น กลุ่มชาติพันธุ์ไทย-จีนและกลุ่มชาติพันธุ์ไทยทรงดำ (ไทยโซ่ง) และหัวข้อกรณีศึกษาผลงานงานระดับดุษฎีนิพนธ์จากสาธารณรัฐประชาชนจีน หัวข้อกรณีศึกษาการพัฒนาตลาดน้ำสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรีโดย ศ. ว่าที่ร้อยโทพิชัย ดร. พิชัย สดพิบาล อาจารย์จากมหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี หัวข้อ การจัดการข้อมูลเชิงระบบเพื่อนำมาใช้ประโยชน์เชิงบูรณาการและหัวข้อ กรณีศึกษาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy)สาธารณรัฐเกาหลี และ ประเทศไทย โดย ดร. มิยอง ซอ อาจารย์จากมหาวิทยาลัยบูรพา
ด้าน ผศ.ดร.ปณิตา แจ้ดนาลาว ผู้ช่วยอธิการบดี มบส . กล่าวว่า จากข้อมูลทางสังคมและวัฒนธรรมที่ทางมบส.ได้เข้าไปร่วมพัฒนาในกลุ่ม 5 ชาติพันธุ์มีดังนี้ 1.ต.ดอนคา กลุ่มชาติพันธุ์ลาวเวียง และกลุ่มผ้าทอลาวเวียง วัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ลาวเวียง และกลุ่มผ้าทอลาวเวียง จะมีการท่อผ้า และมีประเพณีบุญข้าวจึ่ บุญบั้งไฟ บุญกระยาสารท เป็นต้น 2.ต.จระเข้สามพัน กลุ่มชาติพันธุ์ไทพื้นถิ่น การจัดทำขนมกง โดยมีช่องทางการจัดจำหน่ายที่ตลาด กระยาสารท มีการละเล่นพื้นบ้าน มีผ้าทอมือและกีฬาวัวลาน 3.ต.อู่ทอง กลุ่มชาติพันธุ์ไทพวน(หมู่ 5 บ้านเขาพระ) มีพิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน กิจกรรมสู่ขวัญปันฝ้ายมีการทำกะละแม กะยาสารท ลอยกระทงสวรรค์ ทำบุญกลางบ้าน แห่ปลาซ่อน ทำบุญข้าวหลาม ทำบุญสารทพรวน โดยมีการรวบวัตถุโบราณของชาติพันธุ์ตั้งเป็นพิพิธภัณฑ์ มีวัตถุจำนวน 200 กว่าชิ้น โดยรวบรวมไว้ ณ วัดเขาพระศรีสรรเพขญาราม อำเภออู่ทอง ซึ่งภายในวัดจะมีจุดบริการนักท่องเที่ยว มีรถรางบริการนักท่องเที่ยว โดยมีมัคคุเทศก์น้อยที่เป็นนักเรียน/นักศึกษา มาช่วยประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวในพื้นที่ 4.กลุ่มชาติพันธุ์ไทยทรงดำ มี 2 ตำบล คือต.สระยายโสม กลุ่มชาติพันธุ์ไทยทรงดำ จะมีประเพณีเลี้ยงผีบรรพบุรุษ งานบุญวัญวันสงกรานต์ เทศกาลปีใหม่ ตำข้าวเม่า มีการหัตกรรมจักสานตระกร้า และผ้าพื้นเมืองไทยทรงดำ และต.บ้านดอน กลุ่มชาติพันธุ์ไทยทรงดำ ประเพณีเลี้ยงผีบรรพบุรุษ งานอิงฟ้อนแกลงรำแพน งานปีใหม่ ดำข้าวเม่า โยนข้าว หัตถถกรรมทอผ้า งานจักสาน โฮมสเตย์จำนวน 31 หลัง รองรับนักท่องเที่ยว และ 5.กลุ่มชาติพันธุ์ลาวคลั่ง มี 2 ตำบล คือ ต.สระพังลาน การแปรรูปสินค้าทางการเกษตรจากต้นลาน และต.อู่ทอง หมู่ที่ 3บ้านโคก ประเพณีงานแห่ธงตอนเทศกาลสงกรานต์ ประเพณีหอเจ้านาย เป็นต้น
ที่มา: เอยู คอมมิวนิเคชั่น