"โคคา-โคล่า" สานต่อความสำเร็จ 17 ปีของโครงการ "รักน้ำ" ผลักดันยุทธศาสตร์การจัดการน้ำให้ยั่งยืนยิ่งขึ้น ด้วยนวัตกรรมและการมีส่วนร่วมของชุมชน

พฤหัส ๐๕ กันยายน ๒๕๖๗ ๑๖:๒๑
กลุ่มธุรกิจโคคา-โคล่า ในประเทศไทย อันประกอบไปด้วย บริษัท ไทยน้ำทิพย์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด บริษัท หาดทิพย์ จำกัด (มหาชน) และบริษัท โคคา-โคล่า (ประเทศไทย) จำกัด เดินหน้าสานต่อโครงการ "รักน้ำ" ที่ทาง "โคคา-โคล่า" มุ่งมั่นผลักดันเพื่อแก้ไขปัญหาทรัพยากรน้ำของชุมชนต่าง ๆ ในประเทศไทย โดยการใช้นวัตกรรมและความร่วมมือจากหลากหลายภาคส่วน เพื่อให้ชุมชนได้มีส่วนร่วมกับการจัดการทรัพยากรน้ำอย่างแท้จริงและแก้ปัญหาได้อย่างยั่งยืน
โคคา-โคล่า สานต่อความสำเร็จ 17 ปีของโครงการ รักน้ำ ผลักดันยุทธศาสตร์การจัดการน้ำให้ยั่งยืนยิ่งขึ้น ด้วยนวัตกรรมและการมีส่วนร่วมของชุมชน

โครงการ "รักน้ำ" ดำเนินมาอย่างต่อเนื่องเป็นเวลากว่า 17 ปี โดยได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิโคคา-โคล่า และมูลนิธิโคคา-โคลา ประเทศไทย และดำเนินงานภายใต้ความร่วมมือกับหลายองค์กรพันธมิตร อาทิ มูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) สมาคมพัฒนาประชากรและชุมชน องค์กรไม่แสวงหาผลกำไรอื่น ๆ เครือข่ายชุมชนท้องถิ่น และหน่วยงานราชการท้องถิ่น ปัจจุบันโครงการ "รักน้ำ" ได้เข้าไปช่วยแก้ไขปัญหาน้ำชุมชนใน 9 จังหวัดทั่วประเทศไทย อันได้แก่ จังหวัดบุรีรัมย์ ขอนแก่น สุราษฎร์ธานี มหาสารคาม และกระบี่ ซึ่งโครงการในจังหวัดเหล่านี้ได้รับทุนสนับสนุนจากมูลนิธิโคคา-โคล่าในแอตแลนตา สหรัฐอเมริกา รวมถึงจังหวัดลำปาง นครสวรรค์ เพชรบูรณ์ และปทุมธานี ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนจากมูลนิธิโคคา-โคลา ประเทศไทย

ภายในงานสัมมนา Sustrends 2025 ซึ่งอัปเดตเทรนด์สิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนประจำปี ผู้แทนจากองค์กรพันธมิตรในโครงการ "รักน้ำ" พร้อมด้วยผู้แทนชุมชนบ้านลิ่มทอง จังหวัดบุรีรัมย์ หนึ่งในพื้นที่โครงการ "รักน้ำ" ได้มาร่วมพูดคุยบนเวทีภายใต้หัวข้อ "แลกเปลี่ยน เรียนรู้ กับโครงการ "รักน้ำ" การจัดการน้ำในชุมชนอย่างยั่งยืนด้วยนวัตกรรม" เพื่อแบ่งปันข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับแนวทางความสำเร็จของการจัดการน้ำที่สามารถช่วยให้ชุมชนให้มีทรัพยากรน้ำเพียงพอต่อการอุปโภค บริโภค รวมถึงสร้างความเปลี่ยนแปลงในชุมชนอย่างยั่งยืนต่อเนื่องมากว่า 17 ปี

"โคคา-โคล่า" ตระหนักถึงความสำคัญของทรัพยากรน้ำ การส่งเสริมความมั่นคงด้านทรัพยากรน้ำจึงเป็นภารกิจที่ "โคคา-โคล่า" ให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่งทั้งในระดับโลกและระดับท้องถิ่น ดังนั้น ยุทธศาสตร์ความมั่นคงด้านทรัพยากรน้ำปี พ.ศ. 2573 ของ "โคคา-โคล่า" จึงมุ่งเน้นไปที่การกระตุ้นให้เกิดการลงมือทำ เพื่อยกระดับความมั่นคงและความยั่งยืนของทรัพยากรน้ำ โดยเฉพาะในพื้นที่ที่ "โคคา-โคล่า" ดำเนินกิจการอยู่กว่า 200 ประเทศและเขตการปกครอง

คุณศรุต วิทยารุ่งเรืองศรี ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายองค์กรสัมพันธ์ การสื่อสาร และความยั่งยืน บริษัท โคคา-โคล่า ประจำประเทศไทย เมียนมา และลาว กล่าวว่า " "โคคา-โคล่า" ตระหนักถึงความสำคัญของทรัพยากรน้ำ เพราะ "น้ำ" คือชีวิต และเพราะน้ำมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของผู้คน ต่อการผลิตเครื่องดื่มของเรา และต่อชุมชนที่เราดำเนินงานอยู่ ตลอด 17 ปีที่ผ่านมา โครงการ "รักน้ำ" ได้เข้าไปพัฒนาแหล่งน้ำชุมชนซึ่งชาวบ้านในพื้นที่ใช้เพื่ออุปโภค บริโภค และเกษตรกรรม โครงการ "รักน้ำ" มุ่งใช้นวัตกรรมเพื่อการจัดการน้ำในชุมชนอย่างยั่งยืน โดยได้รับการสนับสนุนจากพันธมิตรองค์กรการกุศลของเราอย่างมูลนิธิโคคา-โคล่า และมูลนิธิโคคา-โคลา ประเทศไทย ผ่านการทำงานภายใต้ความร่วมมือกับองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรต่าง ๆ รวมถึงเครือข่ายชุมชนเอง ความสำเร็จของโครงการ "รักน้ำ" ใน 6 จังหวัดได้ช่วยให้ชาวบ้านสามารถจัดการน้ำ อนุรักษ์ทรัพยากรน้ำ และพัฒนาแหล่งน้ำได้ด้วยตนเอง ในปีนี้เราจึงยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ต่อยอดความสำเร็จด้วยการขยายโครงการ "รักน้ำ" ไปสู่พื้นที่ใหม่ ๆ ในอีก 3 จังหวัด อันได้แก่ จังหวัดมหาสารคาม เพชรบูรณ์ และกระบี่"

ในแต่ละชุมชนเผชิญปัญหาน้ำที่แตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นภัยแล้งหรืออุทกภัย แผนการจัดการน้ำจึงได้เข้ามาช่วยแก้ปัญหาให้คนในชุมชนได้เตรียมพร้อมและรับมือกับปัญหาน้ำได้ดียิ่งขึ้น ดังกรณีตัวอย่างที่ชุมชนบ้านลิ่มทอง จังหวัดบุรีรัมย์ ชาวบ้านในชุมชนได้รวมกลุ่มเพื่อช่วยกันจัดการทรัพยากรน้ำ โดยการสร้างแหล่งน้ำสาธารณะ สร้างระบบทางเดินของน้ำที่เหมาะกับสภาพพื้นที่ ขุดลอกคูคลอง และปรับการเพาะปลูกพืชผลให้สอดคล้องกับปริมาณน้ำ ทำให้มีปริมาณน้ำเพิ่มขึ้นจนเพียงพอต่ออุปโภค บริโภค รวมไปถึงการทำเกษตรกรรมก็สามารถเพาะปลูกพืชผลได้หลากหลาย และสร้างงานให้กับชุมชน แม้ว่าโครงการ "รักน้ำ" ในชุมชนบ้านลิ่มทองจะสิ้นสุดลงในปี พ.ศ. 2566 ที่ผ่านมา แต่วิธีการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืนที่ได้นำมาใช้ยังคงสร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับชุมชนในเชิงบวกอย่างต่อเนื่อง ความสำเร็จและองค์ความรู้ที่เกิดขึ้นในชุมชนนี้ยังได้เป็นโมเดลต้นแบบการจัดการน้ำให้ชุมชนอื่น ๆ ได้นำไปปรับใช้ ดังที่ชุมชนในจังหวัดเพชรบูรณ์ที่เริ่มต้นโครงการในปี พ.ศ. 2567

ดร.รอยล จิตรดอน กรรมการและเลขาธิการ มูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ กล่าวว่า "มูลนิธิอุทกพัฒน์ฯ ได้ร่วมดำเนินงานโครงการ "รักน้ำ" ด้วยการส่งต่อความรู้ ให้ชุมชนที่อยู่นอกเขตชลประทานได้ประยุกต์ใช้แนวพระราชดำริด้านน้ำของรัชกาลที่ 9 ไปพัฒนา ฟื้นฟู และบริหารจัดการน้ำได้อย่างยั่งยืน และสนับสนุนให้เกิดความร่วมมือทั้งในชุมชน และหน่วยงานภายนอก เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาน้ำได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม ปัจจุบัน สถานการณ์น้ำของประเทศไทย ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ชุมชนจึงจำเป็นต้องปรับตัว และสร้างภูมิคุ้มกันของตนเอง คือมีน้ำสำรองไว้ใช้ในยามขาดแคลน เพื่อลดผลกระทบต่อการทำเกษตรกรรม รวมทั้งส่งเสริมการทำเกษตรตามแนวทฤษฎีใหม่ ซึ่งชุมชนบ้านลิ่มทองคือตัวอย่างความสำเร็จนี้ นอกจากนี้ สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) หรือ สสน. ได้เข้าไปถ่ายทอดการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีด้านการสำรวจพื้นที่มาพัฒนาแหล่งน้ำ ทำให้น้ำกระจายได้ทั่วทั้งชุมชนตามแรงโน้มถ่วง และทำปฏิทินผลผลิต คำนวนปริมาณน้ำให้เหมาะสมกับการเพาะปลูก ผลสำเร็จของบ้านลิ่มทองนี้ไม่เพียงแก้ปัญหาน้ำ แต่สร้างอาชีพ รายได้ และทำให้ครอบครัวกลับมาพร้อมหน้า ลดการย้ายถิ่นฐาน นอกจากนี้ ในโลกยุคปัจจุบันที่นวัตกรรมต่าง ๆ ก้าวหน้าขึ้นมาก เราหวังว่าการใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI) จะช่วยให้ชุมชนใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการน้ำและเกษตร รวมทั้งการขายและการตลาด ให้ชุมชนประสบความสำเร็จยิ่งขึ้น และเป็นตัวอย่างให้ชุมชนอื่น ๆ ต่อไป"

นอกจากนี้ โครงการ "รักน้ำ" ในจังหวัดขอนแก่น ถือเป็นอีกหนึ่งพื้นที่ที่ประสบความสำเร็จในการนำวิธีแก้ปัญหาที่เป็นนวัตกรรมมาใช้ในการจัดการน้ำ

คุณมีชัย วีระไวทยะ ผู้ก่อตั้งและนายกสมาคม สมาคมพัฒนาประชากรและชุมชน (PDA) กล่าวว่า "สมาคมพัฒนาประชากรและชุมชนมุ่งเน้นการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน โดยตระหนักว่า "น้ำ" เป็นทรัพยากรที่สำคัญต่อการดำรงชีวิตของชุมชน เราได้ศึกษาแนวทางพัฒนาชุมชนรูปแบบใหม่ ๆ ที่จะนำไปสู่ความสำเร็จในการแก้ปัญหาน้ำ ดังเช่นโครงการ "รักน้ำ" ในจังหวัดขอนแก่น ที่ได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิโคคา-โคล่า โดยได้เข้าไปช่วยพัฒนาให้ชุมชนเข้าถึงน้ำได้ดียิ่งขึ้น ทั้งยังช่วยแก้วิกฤตภัยแล้ง และยกระดับคุณภาพชีวิตของชาวบ้าน โครงการนี้ยังได้ส่งเสริมความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม ด้วยการติดตั้งระบบจัดการน้ำที่ใช้พลังงานหมุนเวียน เช่น ระบบการจัดการน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ (SPWS) และระบบการจัดการเติมน้ำสู่ชั้นน้ำใต้ดิน (MAR) พร้อมเสริมสร้างศักยภาพให้ผู้คนในชุมชน โดยสนับสนุนให้ชุมชนได้เป็นเจ้าของโครงการ รวมทั้งผลักดันการมีส่วนร่วมและการลงทุนในพลังงานสะอาดของชุมชน ไปจนถึงการบริหารจัดการแหล่งน้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อให้มั่นใจได้ว่าโครงการนี้จะประสบความสำเร็จในระยะยาว และสามารถพลิกฟื้นพื้นที่ที่เคยประสบปัญหาภัยแล้งมาอย่างยาวนานให้กลับคืนสู่ความอุดมสมบูรณ์ได้ ความสำเร็จนี้ได้ตอกย้ำว่าการมีส่วนร่วมของชุมชนและวิธีแก้ปัญหาที่ตรงจุดของแต่ละชุมชนนั้นมีประสิทธิภาพและสามารถนำไปสู่ผลลัพธ์ที่ยั่งยืนยิ่งขึ้น ทั้งยังเป็นแบบอย่างให้แก่ภูมิภาคอื่น ๆ ที่กำลังเผชิญปัญหาที่คล้ายคลึงกันอีกด้วย"

ความสำเร็จของโครงการ "รักน้ำ" ในจังหวัดขอนแก่นได้รับการนำไปต่อยอดให้กับโครงการใหม่ในจังหวัดมหาสารคามและจังหวัดกระบี่ ที่เริ่มในช่วงต้นปีที่ผ่านมานี้ โดยนำรูปแบบการจัดการน้ำของจังหวัดขอนแก่นมาปรับใช้ในการแก้ปัญหาน้ำของชุมชน เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมของชุมชน อันจะนำไปสู่การจัดการน้ำที่ยั่งยืนในระยะยาว

กลุ่มธุรกิจโคคา-โคล่า ในประเทศไทย พร้อมด้วยพันธมิตร ยังคงทุ่มเททำงานอย่างเต็มที่เพื่อพัฒนาแนวทางการจัดการน้ำที่ยั่งยืนยิ่งขึ้นต่อไป โดยสามารถติดตามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการ "รักน้ำ" และโครงการด้านการจัดการน้ำในปัจจุบันได้ที่: เว็บไซต์ของโคคา-โคล่า ประเทศไทย

กลุ่มธุรกิจโคคา-โคล่า ในประเทศไทย ประกอบด้วย บริษัท โคคา-โคล่า (ประเทศไทย) จำกัด ในฐานะเจ้าของแบรนด์ รับผิดชอบในกิจกรรมการตลาด และสองบริษัทพันธมิตรผู้ผลิตและจำหน่าย บจ. ไทยน้ำทิพย์ รับผิดชอบ 63 จังหวัด ทั่วประเทศ และ บมจ. หาดทิพย์ รับผิดชอบใน 14 จังหวัดภาคใต้

กลุ่มธุรกิจโคคา-โคล่า ในประเทศไทยเป็นผู้นำในตลาดเครื่องดื่มปราศจากแอลกอฮอล์ทั่วประเทศ นอกเหนือจากแบรนด์ โคคา-โคล่า แล้วผลิตภัณฑ์ในพอร์ตโฟลิโอของกลุ่มธุรกิจโคคา-โคล่า ในประเทศไทย ยังประกอบไปด้วย "โค้ก", "แฟนต้า", "สไปรท์", "ชเวปส์", "เอแอนด์ดับบลิว" รูทเบียร์ รวมถึงน้ำส้ม ? "มินิทเมด สแปลช", "มินิทเมด พัลพิ", "น้ำดื่มน้ำทิพย์", น้ำแร่ "บอน อควา" และ "อู-ฮ่า"??

มูลนิธิโคคา-โคล่า มีพันธกิจในการสร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับชุมชนต่าง ๆ ที่ "โคคา-โคล่า" ดำเนินธุรกิจอยู่ทั่วโลก รวมถึงในพื้นที่ที่พนักงานของ "โคคา-โคล่า" อยู่อาศัยและทำงาน มูลนิธิโคคา-โคล่าสนับสนุนแนวคิดและองค์กรที่มุ่งเน้นการแก้ปัญหาอันซับซ้อนทั่วโลก และส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่วัดผลได้และยั่งยืน ความทุ่มเทของมูลนิธิโคคา-โคล่ามุ่งเน้นไปที่การเข้าถึงน้ำสะอาดอย่างยั่งยืน การปรับตัวต่อความเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและการเตรียมพร้อมรับมือและตอบสนองต่อความเสี่ยงจากภัยพิบัติ เศรษฐกิจหมุนเวียน การเสริมสร้างศักยภาพทางเศรษฐกิจ และการสร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับชุมชนที่เป็นถิ่นกำเนิด นับตั้งแต่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2527 มูลนิธิโคคา-โคล่าได้มอบเงินช่วยเหลือมากกว่า 1,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ให้กับภารกิจในการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนทั่วโลก

มูลนิธิโคคา-โคลา ประเทศไทย ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2546 โดย บริษัทโคคา-โคล่า (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท ไทยน้ำทิพย์ จำกัด และบริษัท หาดทิพย์ จำกัด (มหาชน) มูลนิธิโคคา-โคลา ประเทศไทย ได้ดำเนินโครงการเพื่อชุมชนมากมาย โดยมุ่งยกระดับคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทยให้มีความยั่งยืน โดยร่วมมือกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับภูมิภาค และระดับประเทศ มูลนิธิโคคา-โคลา ประเทศไทย มุ่งมั่นดำเนินกิจกรรมเกี่ยวกับการอนุรักษ์น้ำ การศึกษาและพัฒนาเยาวชน การปกป้องสิ่งแวดล้อมตลอดจนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

มูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2554 ด้วยทุนพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร โดยมีภารกิจในการจัดการทรัพยากรน้ำในประเทศไทย ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการน้ำและมูลนิธิการกุศลอื่น ๆ เพื่อจัดการทรัพยากรน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาการจัดการน้ำเพื่อความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชนและความอยู่รอดของประเทศ

สมาคมพัฒนาประชากรและชุมชน  เป็นองค์กรเอกชนสาธารณประโยชน์ ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2517 โดยนายมีชัย วีระไวทยะ เพื่อดำเนินงานด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตและสร้างความเข้มแข็งให้แก่ประชาชนในเขตเมืองและชนบท ทั้งในส่วนของงานด้านสุขภาพอนามัย การส่งเสริมอาชีพและสร้างแหล่งทุนในชุมชน ตลอดจนงานด้านสิ่งแวดล้อมที่เริ่มจากการปลูกต้นไม้สู่การพัฒนาแหล่งกักเก็บน้ำในรูปแบบต่าง ๆ และพัฒนาด้านการศึกษาที่มุ่งสร้างให้โรงเรียนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนาและเป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิตของทุกคนในชุมชน สมาคมพัฒนาประชากรและชุมชนได้รับการยกย่องจาก The Global Journal  ให้เป็น 1 ใน 100 องค์กรสาธารณประโยชน์ดีเด่น (The Top 100 Best NGOs) ลำดับที่ 39 ของโลกเมื่อปี พ.ศ 2555

 

ที่มา: Hill & Knowlton

โคคา-โคล่า สานต่อความสำเร็จ 17 ปีของโครงการ รักน้ำ ผลักดันยุทธศาสตร์การจัดการน้ำให้ยั่งยืนยิ่งขึ้น ด้วยนวัตกรรมและการมีส่วนร่วมของชุมชน

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๐ ธ.ค. ASMT ผนึก TFT ร่วมลงนามด้านวิชาการด้านอุตสาหกรรมการบิน
๒๐ ธ.ค. กรมวิชาการเกษตร เดินหน้า ถ่ายทอดองค์ความรู้การผลิตอะโวคาโดคุณภาพ สร้างรายได้เพิ่มให้เกษตรกรกว่า 2 แสนบาท/ไร่
๒๐ ธ.ค. Dow มุ่งพัฒนาประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์ Personal Care ควบคู่ความยั่งยืน ตอบโจทย์ผู้บริโภคตลาดเครื่องสำอางในภูมิภาคเอเชีย
๒๐ ธ.ค. โอซีซี มอบความรู้ พัฒนาอาชีพให้ผู้ต้องขังหญิง
๒๐ ธ.ค. ดร.นุชนารถ ชลคงคา นำทีมสถาบัน ESTC จัดอบรมให้ Karmakamet
๒๐ ธ.ค. กนภ. เห็นชอบร่าง พรบ. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กลไกสำคัญสู่เส้นทางเศรษกิจคาร์บอนต่ำ และมีภูมิคุ้มกันฯ
๒๐ ธ.ค. WePlay x คอลแลบตัวละครสุดปัง! พบกับมินิเกมใหม่ และการ์ตูนสุดน่ารักที่คุณจะต้องหลงรัก
๒๐ ธ.ค. เดลต้า ประเทศไทย และ WEnergy Global ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงเพื่อขับเคลื่อนอนาคตพลังงานสีเขียว
๒๐ ธ.ค. ความภาคภูมิใจของ ไลอ้อน กับ 3 รางวัลแห่งเกียรติยศ เผยผลงานโดดเด่นกับหลายรางวัลที่ได้รับในปี 2567
๒๐ ธ.ค. NOBLE คว้าเรทติ้งสูงสุด ระดับ AAA SET ESG Ratings ประจำปี 2567 ยกระดับองค์กรสู่ความยั่งยืนภายในแนวคิด Live Different ตามกรอบ