มบส. กำชับทุกหน่วยงานปฎิบัติงาน "สุจริต โปร่งใส ตรวจสอบได้"

อังคาร ๑๐ กันยายน ๒๕๖๗ ๑๖:๑๓
รศ.ดร.ชลลดา พงศ์พัฒนโยธิน รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ( มบส.) กล่าวว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้ ตนได้ไปเป็นประธานเปิดโครงการฝึกอบรมเทคนิคการสอบทานเอกสารการดำเนินงานของมหาวิทยาลัย จัดโดยหน่วยตรวจสอบภายใน มบส. เพื่อให้ความรู้แก่คณาจารย์และบุคลากร ได้ตระหนักและให้ความสำคัญในการส่งเสริมให้บุคลากรของมหาวิทยาลัยได้มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับเทคนิคการสอบทานเอกสารการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยให้มีความถูกต้องครบถ้วน รวมทั้งให้คำปรึกษาแก่ผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานหรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้มีความเข้าใจในการสอบทานเอกสารการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยไปในทิศทางเดียวกัน ซึ่งการอบรมครั้งนี้ตนได้มีการนำนโยบายผศ.ดร.คณกร สว่างเจริญ อธิการบดี มบส. เกี่ยวกับการตรวจสอบภายใน มาชี้แจงให้คณาจารย์และบุคลากร มบส.ได้ปฎิบัติตาม รวมถึงมีการแนะนำเทคนิคการสอบทานเอกสารการดำเนินงานของมหาวิทยาลัย และเทคนิคการตรวจสอบรายงานการเงินในภาพรวมด้วย
มบส. กำชับทุกหน่วยงานปฎิบัติงาน สุจริต โปร่งใส ตรวจสอบได้

รศ.ดร.ชลลดา กล่าวต่อไปว่า ที่ผ่านมาอธิการบดี มบส. ยังได้กำชับให้ทุกหน่วยงานสนองนโยบายรัฐและปฎิบัติตามสโลแกนรัฐ"สุจริต โปร่งใส ตรวจสอบได้"อีกทั้งยังเป็นคุณลักษณะพื้นฐานที่ระบุเอาไว้ในมาตรฐานสำหรับข้าราชการที่ดี เพื่อเป็นการแสดงจุดยืนและสร้างความเชื่อมั่นว่าการบริหารประเทศและการให้บริการสาธารณะแก่ประชาชนจะเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ มีความรับผิดรับชอบ ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน อันเป็นพื้นฐานของหลักธรรมาภิบาล หรือลักษณะของการบริหารงานที่ดี ที่สำคัญการจะตรวจสอบความโปร่งใสในการทำงานของรัฐได้นั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่ประชาชนจะต้องสามารถเข้าถึงข้อมูลสาธารณะได้อย่างสะดวก ปลอดภัย มั่นใจว่าจะไม่ถูกคุกคามหรือลิดรอนหากเข้าถึงข้อมูลเหล่านั้นด้วย รวมทั้งยังได้สนับสนุนให้สำนักประชาสัมพันธ์และสารสนเทศ ดำเนินงานต่างๆ ตามพ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารของทางราชการด้วยการเปิดเผยเป็นหลัก ปกปิดเป็นเรื่องยกเว้น เพื่อบริการประชาชนให้สามารถเข้าถึงและตรวจสอบได้

รศ.ดร.ชลลดา กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ในการทำงานยังเน้นเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน SDG Updates ที่ให้ความสำคัญของการมีกฎหมายและนโยบายเพื่อคุ้มครองการเข้าถึงข้อมูลของประชาชน ซึ่งเป็นหนึ่งในเป้าหมายที่ถูกบรรจุเอาไว้ใน SDGs คือ เป้าหมายย่อยที่ 16.10 มีสาระเกี่ยวกับการสร้างหลักประกันว่าสาธารณชนสามารถเข้าถึงข้อมูลและมีการปกป้องเสรีภาพขั้นพื้นฐาน ตามกฎหมายภายในประเทศและความตกลงระหว่างประเทศ โดยมุ่งเน้นไปที่ข้อมูลเกี่ยวกับตัวชี้วัดที่ 16.10.2 ซึ่งเกี่ยวข้องกับการติดตามให้ประเทศมีและใช้กฎหมาย นโยบายที่รับประกันว่าสาธารณชนสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ด้วย

ที่มา: เอยู คอมมิวนิเคชั่น

มบส. กำชับทุกหน่วยงานปฎิบัติงาน สุจริต โปร่งใส ตรวจสอบได้

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๔๒ ธนาคารทองคำลาว จับมือกับ ซิลเวอร์เลค แอ็คซิส พัฒนาคอร์แบงกิ้ง สร้างเสถียรภาพระบบสำรองทองคำ และบริการทางการเงิน
๑๖:๓๗ กรมทรัพย์สินทางปัญญา คว้ารางวัลเลิศรัฐ ประจำปี 2567 ยกระดับการให้บริการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน
๑๖:๑๐ RSP คว้าสิทธิ์ตัวแทนจำหน่ายแบรนด์ COVERNAT จากเกาหลี พร้อมปูทางสู่ตลาดแฟชั่นไทยอย่างเต็มตัว
๑๖:๐๓ HAY จับมือ Scope เปิดตัวคอลเลกชัน HAY Dogs ครั้งแรกใน SEA ณ สโคป พร้อมศรี
๑๖:๔๔ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน เชื่อมคอร์สพัฒนาทักษะในแพลตฟอร์ม ศูนย์ดิจิทัลชุมชน ยกระดับชีวิตสังคมดิจิทัล
๑๖:๒๐ ไทยสจ๊วต ร่วมออกบูธ งาน RESTECH 2024
๑๖:๐๔ ธนพิริยะ (TNP) ร่วมสนับสนุน ทีมกู้ภัยศิริกรณ์เชียงราย และ ผู้ประสบภัย จากน้ำท่วม จ.เชียงราย
๑๖:๔๕ ASIAN และบริษัทในเครือ ร่วมกับมูลนิธิสมศักดิ์ อมรรัตนชัยกุล บริจาคอาหารกระป๋อง จำนวน 70,000 กระป๋อง ช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในจังหวัดเชียงราย
๑๖:๒๑ LE ร่วมกับ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง บรรยายให้ความรู้ในหัวข้อ Installation Guide for Lighting
๑๖:๕๙ อ.อ.ป. ร่วมวางพวงมาลาสดุดีวีรชนป่าไม้ ในโอกาสครบรอบ 128 ปี กปม.