คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ จัดโครงการ "พุทธศิลป์ พุทธศึกษา จากพระพุทธปฏิมาสู่การอนุรักษ์"

จันทร์ ๑๖ กันยายน ๒๕๖๗ ๑๐:๑๘
คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ร่วมกับสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) และโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า จัดโครงการ "พุทธศิลป์ พุทธศึกษา จากพระพุทธปฏิมาสู่การอนุรักษ์" เมื่อวันที่ 5 กันยายน 2567 ณ วัดพระบรมธาตุทุ่งยั้ง จังหวัดอุตรดิตถ์ เพื่อถวายความรู้แด่พระสังฆาธิการ พระสงฆ์ เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในวโรกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 72 พรรษา โดยมี ศ.ดร.ขำคม พรประสิทธิ์ คณบดีคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ และ ดร.กนกพร บุญศิริชัย รองผู้อำนวยการสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการ ในการนี้ พระราชวชิรากร เจ้าคณะจังหวัดอุตรดิตถ์ ประธานฝ่ายสงฆ์ กล่าวนำสัมโมทนียกถา
คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ จัดโครงการ พุทธศิลป์ พุทธศึกษา จากพระพุทธปฏิมาสู่การอนุรักษ์

โครงการ "พุทธศิลป์ พุทธศึกษา จากพระพุทธปฏิมาสู่การอนุรักษ์" ถือเป็นหนึ่งในพันธกิจที่สำคัญของคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ในการสืบสานและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ประกอบด้วยการบรรยายและการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการถวายความรู้จากการวิจัยแด่สังฆาธิการ คณะสงฆ์ในจังหวัดอุตรดิตถ์ 50 รูป สาธิตการเตรียมวัสดุเพื่อใช้ทำความสะอาดพระพุทธปฏิมา จากองค์ความรู้ภูมิปัญญาเชิงช่างโบราณที่ใช้วัสดุจากท้องถิ่นในประเทศไทย โดยคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ได้บูรณาการความรู้ด้านพุทธศิลป์กับเทคโนโลยีนิวเคลียร์โดยความร่วมมือกับสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) นับเป็นก้าวสำคัญยิ่งในการบูรณาการความรู้เพื่อรักษาภูมิปัญญาของชาติให้ยั่งยืน โดยมี รศ.ดร.จีราวรรณ แสงเพ็ชร์ หัวหน้าภาควิชาทัศนศิลป์ บุกเบิกโครงการเพื่ออนุรักษ์ภูมิปัญญาพุทธศิลป์มาอย่างต่อเนื่อง

วัดพระบรมธาตุทุ่งยั้งเป็นศาสนสถานสำคัญของชาติ ภายในพระวิหารประดิษฐานพระพุทธปฏิมาที่สำคัญคือ พระศรีอริยเมตไตรยหรือพระอนาคตพระพุทธเจ้าหล่อด้วยสำริด จากการสำรวจและพิจารณารูปแบบพุทธศิลป์พบว่าพระศรีอาริยเมตไตรย วัดพระบรมธาตุทุ่งยั้ง เป็นผลงานศิลปกรรมชิ้นเอกสมัยอยุธยาตอนปลายที่มีรูปแบบและเทคนิคเชิงช่าง นำไปสู่การศึกษาวิจัยเชิงลึกและการศึกษาเปรียบเทียบรูปแบบศิลปกรรม โดยความร่วมมือจากสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) ตลอดจนการอนุรักษ์พระพุทธปฏิมาด้วยภูมิปัญญาเชิงช่างเทคนิคโบราณที่ใช้วัสดุจากท้องถิ่นในประเทศไทย

ทั้งนี้ สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) ได้วิเคราะห์พระพุทธปฏิมาด้วยเทคนิคการวาวรังสีเอกซ์ X-ray fluorescence (XRF) เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบธาตุส่วนผสมในการหล่อพระพุทธปฏิมา โดย ดร.ศศิพันธุ์ คะวีรัตน์ หัวหน้าฝ่ายเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) รวมทั้ง พล.ต.รศ.ดร.สุรัตน์ เลิศล้ำ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยสหวิทยาการเฉลิมพระเกียรติ 5 รอบ พลเอกหญิง สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ได้ถวายความรู้เรื่องการทำจัดแผนที่ ภาพถ่ายทางอากาศ เพื่อแสดงสิ่งปลูกสร้างและอาณาบริเวณของวัด นับเป็นการบูรณาการศาสตร์ชั้นสูงในแขนงต่างๆ เพื่อประโยชน์ในการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมของชาติ

ที่มา: ศูนย์สื่อสารองค์กร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ จัดโครงการ พุทธศิลป์ พุทธศึกษา จากพระพุทธปฏิมาสู่การอนุรักษ์

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๐ ธ.ค. ASMT ผนึก TFT ร่วมลงนามด้านวิชาการด้านอุตสาหกรรมการบิน
๒๐ ธ.ค. กรมวิชาการเกษตร เดินหน้า ถ่ายทอดองค์ความรู้การผลิตอะโวคาโดคุณภาพ สร้างรายได้เพิ่มให้เกษตรกรกว่า 2 แสนบาท/ไร่
๒๐ ธ.ค. Dow มุ่งพัฒนาประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์ Personal Care ควบคู่ความยั่งยืน ตอบโจทย์ผู้บริโภคตลาดเครื่องสำอางในภูมิภาคเอเชีย
๒๐ ธ.ค. โอซีซี มอบความรู้ พัฒนาอาชีพให้ผู้ต้องขังหญิง
๒๐ ธ.ค. ดร.นุชนารถ ชลคงคา นำทีมสถาบัน ESTC จัดอบรมให้ Karmakamet
๒๐ ธ.ค. กนภ. เห็นชอบร่าง พรบ. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กลไกสำคัญสู่เส้นทางเศรษกิจคาร์บอนต่ำ และมีภูมิคุ้มกันฯ
๒๐ ธ.ค. WePlay x คอลแลบตัวละครสุดปัง! พบกับมินิเกมใหม่ และการ์ตูนสุดน่ารักที่คุณจะต้องหลงรัก
๒๐ ธ.ค. เดลต้า ประเทศไทย และ WEnergy Global ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงเพื่อขับเคลื่อนอนาคตพลังงานสีเขียว
๒๐ ธ.ค. ความภาคภูมิใจของ ไลอ้อน กับ 3 รางวัลแห่งเกียรติยศ เผยผลงานโดดเด่นกับหลายรางวัลที่ได้รับในปี 2567
๒๐ ธ.ค. NOBLE คว้าเรทติ้งสูงสุด ระดับ AAA SET ESG Ratings ประจำปี 2567 ยกระดับองค์กรสู่ความยั่งยืนภายในแนวคิด Live Different ตามกรอบ