มบส.ปลื้มชุมชนบ้านแพ้ว สมุทรสาคร พอใจให้คำปรึกษาเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์

อังคาร ๑๗ กันยายน ๒๕๖๗ ๑๗:๒๔
ผศ.ดร.คณกร สว่างเจริญ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา (มบส.) กล่าวว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้ สถาบันวิจัยและพัฒนา มบส. ได้รายงานผลการดำเนินงานโครงการการให้คำปรึกษาและข้อมูลเทคโนโลยี(Technology Consulting Service: TCS) ในพื้นที่อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร เพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์ รวมถึงผลผลิตชุมชนให้มีมาตรฐาน ภายใต้กิจกรรมส่งเสริมการนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิตและเศรษฐกิจชุมชน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 ผลปรากฏว่าสถาบันวิจัยและพัฒนา มบส. ได้ให้คำปรึกษาและข้อมูลเทคโนโลยี ดังนี้ 1. การเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์เหลือทิ้งจากภาคการเกษตร เช่น มะพร้าว และจากครัวเรือน เปลือกไข่ 2.เทคโนโลยีการออกแบบลวดลายและพัฒนาผลิตภัณฑ์จากผ้ามัดย้อม 3. การสร้างอัตลักษณ์สู่ผลิตภัณฑ์และบรรรรจุภัณฑ์บนฐานทุนวัฒนธรรมชุมชน 4.การพัฒนากระบวนการและผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพจากข้าวและรำข้าว
มบส.ปลื้มชุมชนบ้านแพ้ว สมุทรสาคร พอใจให้คำปรึกษาเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์

ผศ.ดร.คณกร กล่าวต่อไปว่า 5. การพัฒนาผลิตภัณฑ์พืชสมุนไพร และการสกัดฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระจากพืชสมุนไพร 6.การให้ความรู้ด้านตลาดดิจิทัลและการทำคอนเทนด์และสื่อสารการตลาด 7.การให้ความรู้ด้านการเป็นผู้ประกอบการและการจัดการธุรกิจ 8. การพัฒนาและออกแบบเทคโนโลยีสารสนเทศ การออกแบบเว็บไซต์ การจัดการฐานข้อมูล และ9. การออกแบบกราฟิกสื่อสาร การออกแบบสื่อดิจิทัลและการพัฒนาระบบ ซึ่งการติดตามและประเมินผลผลิตและตัวชี้วัดจากผู้รับบริการจากการบันทึกในระบบคลินิกเทคโนโลยีออนไลน์ 40 คน ผู้รับบริการข้อมูลเทคโนโลยี 120 คน ผู้รับบริการมีความพึงพอใจ 85 %โดยผู้รับบริการจากข้อมูลในระบบ CMO ซึ่งเป็นข้อมูลเทคโนโลยีพร้อมถ่ายทอด 20 รายการต่อปี ข้อมูลผู้เชี่ยวชาญ 20 รายการต่อปี และข้อมูลผลิตภัณฑ์ที่ให้รับการพัฒนา 20 รายการต่อปี

" สิ่งที่มบส.คาดว่าจะได้รับในทางเศรษฐกิจคือการสร้างมูลค่าเชิงพาณิชย์ด้วยการยกระดับศักยภาพ การสร้างอาชีพและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของชุมชนภายใต้อย่างยั่งยืน เพิ่มช่องทางการตลาดสู่เชิงพาณิชย์เป็นการสร้างงาน สร้างอาชีพและรายได้ให้แก่ชุมชน ส่วนทางสังคมจะมีส่วนร่วมของชุมชน เกิดการรวมกลุ่มในชุมชนและเครือข่ายอันจะเป็นการสร้างงานและสร้างรายให้แก่ชุมชน อันจะส่งผลให้คุณภาพชีวิตของชุมชนดีขึ้นและนำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนฐานรากให้เกิดการเติบโตอย่างยั่งยืน นอกจากนี้องค์ความรู้ที่ได้จากการจัดการความรู้ยังจะเป็นประโยชน์แก่ชุมชนอื่นๆ ในการประยุกต์ใช้ การขยายผลและสร้างเครือข่ายในชุมชนของตนเอง และสร้างกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ในกลุ่ม การรวมกลุ่มสมาชิก สร้างเสริมความรักและความสามัคคี มีความภูมิใจในตนเอง และมีสุขภาพทางกายและจิตใจที่ดี"ผศ.ดร.คณกร กล่าว

ที่มา: เอยู คอมมิวนิเคชั่น

มบส.ปลื้มชุมชนบ้านแพ้ว สมุทรสาคร พอใจให้คำปรึกษาเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๘:๕๙ ซีพีเอฟ คว้ารางวัล ASEAN-OSHNET Best Practice Award องค์กรต้นแบบด้านความปลอดภัยของอาเซียน
๑๘:๐๒ เอ็ม บี เค เซ็นเตอร์ ชวนช้อปฟินกินเพลินกับทัพสินค้าคุณภาพ ในงาน BKK Soft Power PATHUMWAN Market
๑๗:๕๖ จัดสรรการเงินรายเดือนง่าย ๆ ด้วยการแยกบัญชีเงินฝากประจำ
๑๖:๐๗ บี.กริม เพาเวอร์ เดินเครื่อง COD โรงไฟฟ้าแสงอาทิตย์ 20 เมกะวัตต์ ในประเทศญี่ปุ่น ลุยขยายพอร์ตพลังงานทดแทน มุ่งสู่เป้าหมาย
๑๖:๔๑ ข้าวมาบุญครอง ผสานกำลังพันธมิตร เดินหน้าช่วยเหลือผู้ประสบอุกทกภัยอย่างต่อเนื่อง
๑๖:๓๒ EATER ปักหมุดความอร่อยกลางสุขุมวิท 71 สปาเกลือสุดหรู
๑๖:๕๘ MEDEZE มอบอุปกรณ์ทางการแพทย์ ให้แก่โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์
๑๖:๔๖ ก.ล.ต. นับหนึ่งไฟลิ่ง สเปเชี่ยลตี้ เนเชอรัล โปรดักส์ เรียบร้อยแล้ว เดินหน้าเข้าตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) เตรียมขายไอพีโอ 105
๑๖:๑๓ SPUBUS x JBC ม.ศรีปทุม เปิดคลาสเรียนสุดพิเศษ ต้อนรับคณะผู้แทนจากบริษัทชั้นนำญี่ปุ่นชมนักศึกษา SPU โชว์ไอเดียธุรกิจในคลาสจริง
๑๖:๔๐ ม.กรุงเทพ จับมือ สสว. เปิดเวทีเสริมสร้างผู้ประกอบการไทยสู่ระดับโลก