สศท. เชิดชูครูผู้สืบสานภูมิปัญญางานหัตถกรรมแทงหยวกที่ใกล้สูญหาย

พุธ ๑๘ กันยายน ๒๕๖๗ ๐๙:๐๙
สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน) หรือ สศท. ส่งต่อองค์ความรู้ งานศิลปหัตถกรรมไทย มุ่งสืบสานภูมิปัญญางานหัตถกรรมหัตถกรรมแทงหยวกที่ใกล้จะสูญหาย โดยครูสมคิด คชาพงษ์ ครูช่างศิลปหัตถกรรมปี 2563 ในงานอัตลักษณ์แห่งสยาม ครั้งที่ 15 ระหว่างวันที่ 18 - 22 กันยายน 2567 ที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
สศท. เชิดชูครูผู้สืบสานภูมิปัญญางานหัตถกรรมแทงหยวกที่ใกล้สูญหาย

งานแทงหยวก เป็นงานหัตถศิลป์ไทยที่มีมาแต่โบราณ ต้องอาศัยความชำนาญและทักษะฝีมือของช่างฝีมือ ที่ต้องใช้มีดสองคมแทงลงไปบนกาบกล้วยให้เกิดลวดลาย งานแทงหยวกจำแนกได้ 2 ลักษณะ คือ งานแทงหยวกรูปแบบราชสำนักในสมัยโบราณ และงานแทงหยวกรูปแบบสกุลช่างทั่วไป โดยกลุ่มช่างแทงหยวกที่ยังคงสืบทอดมาจนถึงปัจจุบันเหลืออยู่เพียงไม่กี่แห่ง หนึ่งในนั้นคือช่างแทงหยวกสายตระกูลวัดอัปสรสวรรค์ ย่านภาษีเจริญ โดยครูสมคิด คชาพงษ์ ครูช่างศิลปหัตถกรรมปี 2563 ของสถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน) ที่ยังคงไม่ละทิ้งภูมิปัญญาการแทงหยวก และสืบทอดกระบวนการทำงานจากบรรพบุรุษเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน

ครูสมคิดฯ มีความชำนาญในด้านการเขียนลวดลายไทยทำให้สามารถแทงหยวกได้ทุกลวดลาย ทั้งลวดลายแบบโบราณดั้งเดิม และ ลวดลายแบบร่วมสมัย บางลวดลายถูกจำกัดให้ใช้ได้เฉพาะในงานพระราชพิธีเท่านั้น เช่น ลายลูกแก้ว และลายช่องกระจก เป็นต้น ลวดลายทั่วไป เช่น ลายฟันปลา ลายฟันสาม ลายฟันห้า ลายเกลียวกนก ลายกนกเสาแข้งสิงห์ ลายสิงห์กนก เป็นต้น จึงทำให้เชี่ยวชาญในการแทงลวดลายลงบนกาบกล้วยได้โดยไม่ต้องร่างลวดลายไว้ก่อน ลวดลายที่แทงไม่มีจุดขาด และด้วยความเชี่ยวชาญในการแทงหยวกจากฝั่งซ้ายมาสุดที่ฝั่งขวาโดยไม่ยกมือออกทำให้ลวดลายต่อเนื่องตลอดทั้งชิ้นงาน นอกจากนี้ งานแทงหยวกฝีมือครูสมคิดฯ ยังคงอนุรักษ์การทำงานตามรูปแบบภูมิปัญญาดั้งเติม ด้วยการเลือกใช้หยวกกล้วยตานี ในการทำงานเพราะเป็นพันธุ์ที่มีช่องน้ำเลี้ยงกว้าง จึงเก็บน้ำเลี้ยงได้มากกว่ากล้วยพันธุ์อื่น ๆ มีกาบสีขาวนวล เนื้อมีความเหนียวไม่กรอบหรือแตกหักได้ง่าย

ปัจจุบัน เมื่อกาลเวลาเปลี่ยนไปความนิยมของงานแทงหยวกเริ่มลดน้อยถอยลง แต่ครูสมคิดฯ ยังคงเล็งเห็นถึงความสำคัญในการอนุรักษ์และสืบสานงานแทงหยวกสายตระกูลช่างวัดอัปสรสวรรค์ เพราะกลัวว่าจะเลือนหายไปตามกาลเวลา จึงมุ่งมั่นและทุ่มเทเผยแพร่งานแทงหยวกโบราณที่แสดงถึงทักษะฝีมือเชิงช่างของบรรพบุรุษมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ เพื่อให้มรดกในงานศิลปหัตถกรรมไทยที่ใกล้สูญหายยังคงอยู่ สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย จึงได้จัดโซน Live Exhibition เพื่อให้ผู้ที่สนใจร่วมชื่นชมงานหัตถศิลป์ล้ำค่ามรดกทางภูมิปัญญาที่ใกล้สูญหายจากครูผู้สร้างสรรค์อย่างใกล้ชิด สามารถเข้าชมได้ในงานอัตลักษณ์แห่งสยาม ครั้งที่ 15 ระหว่างวันที่ 18 - 22 กันยายน 2567 เวลา 10.00 - 20.00 น. ณ ฮอลล์ 5 ชั้น LG ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

ที่มา: ซี.เอ.อินโฟ มีเดีย

สศท. เชิดชูครูผู้สืบสานภูมิปัญญางานหัตถกรรมแทงหยวกที่ใกล้สูญหาย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๐ ธ.ค. ASMT ผนึก TFT ร่วมลงนามด้านวิชาการด้านอุตสาหกรรมการบิน
๒๐ ธ.ค. กรมวิชาการเกษตร เดินหน้า ถ่ายทอดองค์ความรู้การผลิตอะโวคาโดคุณภาพ สร้างรายได้เพิ่มให้เกษตรกรกว่า 2 แสนบาท/ไร่
๒๐ ธ.ค. Dow มุ่งพัฒนาประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์ Personal Care ควบคู่ความยั่งยืน ตอบโจทย์ผู้บริโภคตลาดเครื่องสำอางในภูมิภาคเอเชีย
๒๐ ธ.ค. โอซีซี มอบความรู้ พัฒนาอาชีพให้ผู้ต้องขังหญิง
๒๐ ธ.ค. ดร.นุชนารถ ชลคงคา นำทีมสถาบัน ESTC จัดอบรมให้ Karmakamet
๒๐ ธ.ค. กนภ. เห็นชอบร่าง พรบ. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กลไกสำคัญสู่เส้นทางเศรษกิจคาร์บอนต่ำ และมีภูมิคุ้มกันฯ
๒๐ ธ.ค. WePlay x คอลแลบตัวละครสุดปัง! พบกับมินิเกมใหม่ และการ์ตูนสุดน่ารักที่คุณจะต้องหลงรัก
๒๐ ธ.ค. เดลต้า ประเทศไทย และ WEnergy Global ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงเพื่อขับเคลื่อนอนาคตพลังงานสีเขียว
๒๐ ธ.ค. ความภาคภูมิใจของ ไลอ้อน กับ 3 รางวัลแห่งเกียรติยศ เผยผลงานโดดเด่นกับหลายรางวัลที่ได้รับในปี 2567
๒๐ ธ.ค. NOBLE คว้าเรทติ้งสูงสุด ระดับ AAA SET ESG Ratings ประจำปี 2567 ยกระดับองค์กรสู่ความยั่งยืนภายในแนวคิด Live Different ตามกรอบ