เปิดโลกซินโครตรอนให้นักเรียนราชสีมาวิทยาห้องเรียนพิเศษและความสามารถพิเศษด้านวิทย์-คณิต

พุธ ๑๘ กันยายน ๒๕๖๗ ๑๔:๓๓
สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) จัดอบรมหลักสูตรระยะสั้น Short course on synchrotron Radiation สำหรับนักเรียนโรงเรียนราชสีมาวิทยาในโครงการห้องเรียนผู้มีความสามารถพิเศษ พวค. และโครงการ วมว. เปิดโลกซินโครตรอนให้เยาวชนได้สัมผัสห้องปฏิบัติการทางด้านวิทยาศาสตร์ขนาดใหญ่ พร้อมรับฟังบรรยายพิเศษจากนักวิทยาศาสตร์ระบบลำเลียงแสงและนักฟิสิกส์เครื่องเร่งอนุภาคผู้มีประสบการณ์เชี่ยวชาญ ปิดท้ายด้วยกิจกรรม Science show ที่ปูพื้นฐานความเข้าเรื่องคลื่นตั้งแต่ระดับพื้นฐาน สู่ความเข้าใจพฤติกรรมแสงซินโครตรอน
เปิดโลกซินโครตรอนให้นักเรียนราชสีมาวิทยาห้องเรียนพิเศษและความสามารถพิเศษด้านวิทย์-คณิต

สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน จัดกิจกรรมอบรมหลักสูตรระยะสั้น Short course on synchrotron radiation สำหรับนักเรียน ม.5 - ม.6 ของโรงเรียนราชสีมาวิทยาลัยในโครงการห้องเรียนผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ (พวค.) วันที่ 12 กันยายน 2567 และนักเรียน ม.4 ในโครงการห้องวิทยาศาสตร์ (วมว.) ศูนย์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี คู่โรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย วันที่ 17 กันยายน 2567 ณ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน

ดร.ศรายุทธ ตั้นมี หัวหน้าฝ่ายยุทธศาสตร์องค์กร และคณะทำงานจัดอบรมหลักสูตรระยะสั้น Short course on synchrotron radiation กล่าวว่า "ในการอบรมครั้งนี้นักฟิสิกส์เครื่องเร่งอนุภาคและนักวิทยาศาสตร์ระบบลำเลียงแสง ได้บรรยายพิเศษเกี่ยวกับ เครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอน การผลิตแสงซินโครตรอน ระบบลำเลียงแสงและเทคนิคการทดลองที่ใช้แสงซินโครตรอน ให้แก่นักเรียนผู้เข้าอบรม โอกาสนี้นักเรียนยังได้เยี่ยมชมห้องปฏิบัติการแสงสยามซึ่งเป็นห้องปฏิบัติการด้านแสงซินโครตรอนที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียน รวมถึงเยี่ยมชมส่วนผลิตแสงซินโครตรอนและตัวอย่างการประยุกต์ใช้แสงซินโครตรอนในการวิจัยต่างๆ ด้วย"

"นอกจากนี้นักเรียนผู้เข้าอบรมยังได้สนุกกับกิจกรรม Science Show ซึ่งมีกิจกรรมคลื่นในเส้นเชือก เพื่อให้นักเรียนทำความเข้าใจพฤติกรรมของคลื่นที่เดินทาง 2 มิติในเส้นเชือก กิจกรรมแก้วไวน์เต้นระบำ เพื่อให้นักเรียนเข้าใจพฤติกรรมของคลื่นที่เดินทาง 3 มิติ เช่น คลื่นเสียง เป็นต้น กิจกรรมสเปกตรัมของแสง เพื่อให้นักเรียนเข้าใจธรรมชาติของคลื่นแสงที่ตามองเห็น และกิจกรรมธาตุในแร่หายาก ซึ่งเป็นการประยุกต์ใช้คลื่นในย่านเอกซเรย์เพื่อระบุธาตุที่เป็นองค์ประกอบในแร่ต่างๆ กิจกรรมทั้งหมดนี้เป็นการทำความเข้าใจเรื่องคลื่นตั้งแต่พื้นฐาน เพื่อนำไปสู่การเข้าใจพฤติกรรมของแสงซินโครตรอนได้ โดยความรู้จากการอบรมจะเป็นพื้นฐานความรู้สำหรับการเรียนในชั้นเรียน ขณะเดียวกันสถาบันฯ ได้สร้างแรงบันดาลใจให้เยาวชนได้สนใจอาชีพทางด้านวิทยาศาสตร์ซึ่งจะเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศต่อไปในอนาคตด้วย" ดร.ศรายุทธ ตั้นมี กล่าวในตอนท้าย

ที่มา: สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๐ ธ.ค. ASMT ผนึก TFT ร่วมลงนามด้านวิชาการด้านอุตสาหกรรมการบิน
๒๐ ธ.ค. กรมวิชาการเกษตร เดินหน้า ถ่ายทอดองค์ความรู้การผลิตอะโวคาโดคุณภาพ สร้างรายได้เพิ่มให้เกษตรกรกว่า 2 แสนบาท/ไร่
๒๐ ธ.ค. Dow มุ่งพัฒนาประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์ Personal Care ควบคู่ความยั่งยืน ตอบโจทย์ผู้บริโภคตลาดเครื่องสำอางในภูมิภาคเอเชีย
๒๐ ธ.ค. โอซีซี มอบความรู้ พัฒนาอาชีพให้ผู้ต้องขังหญิง
๒๐ ธ.ค. ดร.นุชนารถ ชลคงคา นำทีมสถาบัน ESTC จัดอบรมให้ Karmakamet
๒๐ ธ.ค. กนภ. เห็นชอบร่าง พรบ. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กลไกสำคัญสู่เส้นทางเศรษกิจคาร์บอนต่ำ และมีภูมิคุ้มกันฯ
๒๐ ธ.ค. WePlay x คอลแลบตัวละครสุดปัง! พบกับมินิเกมใหม่ และการ์ตูนสุดน่ารักที่คุณจะต้องหลงรัก
๒๐ ธ.ค. เดลต้า ประเทศไทย และ WEnergy Global ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงเพื่อขับเคลื่อนอนาคตพลังงานสีเขียว
๒๐ ธ.ค. ความภาคภูมิใจของ ไลอ้อน กับ 3 รางวัลแห่งเกียรติยศ เผยผลงานโดดเด่นกับหลายรางวัลที่ได้รับในปี 2567
๒๐ ธ.ค. NOBLE คว้าเรทติ้งสูงสุด ระดับ AAA SET ESG Ratings ประจำปี 2567 ยกระดับองค์กรสู่ความยั่งยืนภายในแนวคิด Live Different ตามกรอบ