ไร้ท์ รีแอคติเวชั่น ขยายธุรกิจสู่การฟื้นฟูตัวเร่งปฏิกิริยาและสกัดโลหะมีค่า มุ่งสร้าง New S-Curve ด้วยนวัตกรรมตามแนวทาง BCG และ ESG ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง คาดการณ์การเติบโต 50% ในปี 2567

พฤหัส ๑๙ กันยายน ๒๕๖๗ ๑๘:๒๘
บมจ.ไร้ท์ รีแอคติเวชั่น (Right Reactivation PCL) เปิดแผนครึ่งปีหลัง หลังจากเมื่อ 12 ปีที่แล้วได้ขยายธุรกิจฟื้นฟูสภาพถ่านกัมมันต์ใช้แล้วที่ได้รับมาตรฐานสากล แห่งแรกใน SOUTHEAST ASIA (SEA)        ในปีนี้ขยายธุรกิจใหม่นำไปสู่การฟื้นฟูสภาพตัวเร่งปฏิกิริยาใช้แล้ว (Catalyst) และการสกัดโลหะมีค่าจากตัวเร่งปฏิกิริยา (Precious Metal Recovery) เป็นแห่งแรกในประเทศไทยที่ได้มาตรฐานสากล ซึ่งเป็นเทคโนโลยีโดยคนไทยเพื่อคนไทย เพื่อเศรษฐกิจไทย เพื่อสร้าง New S-Curve ด้วยนวัตกรรมเพิ่มมูลค่าขานรับนโยบายส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ของประเทศเพื่ออนาคตที่ยั่งยืนตลอดไป
ไร้ท์ รีแอคติเวชั่น ขยายธุรกิจสู่การฟื้นฟูตัวเร่งปฏิกิริยาและสกัดโลหะมีค่า มุ่งสร้าง New S-Curve ด้วยนวัตกรรมตามแนวทาง BCG และ ESG ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง คาดการณ์การเติบโต 50% ในปี 2567

คุณณัฐสิทธิ์ ธีรกุลวาณิช ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไร้ท์ รีแอคติเวชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า" องค์กรของเราได้ตั้งปณิธานในการดำเนินงานอย่างมุ่งมั่นในการผลิตสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยเพิ่มวงจรชีวิตให้วัสดุที่ใช้แล้วให้มีวงจรใช้งานยาวนานขึ้น และฟื้นฟูถ่านกัมมันต์ที่ใช้แล้ว ซึ่งทำให้วัตถุดิบแต่ละชนิดถูกนำมาใช้อย่างเกิดประโยชน์มากที่สุด โดยเรา ได้รับมาตรฐานการรับรอง คุณภาพ ISO45001, ISO9001 และ ISO14001 และเรายังได้รับรางวัลอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อมดีเด่น 3 ปีซ้อน ถึง 4 รางวัล นอกจากนี้ บริษัทฯ ก็ได้รับมอบตราสัญลักษณ์แห่งความเชื่อมั่นในด้านคุณภาพสินค้าและบริการไทยอย่าง "Thailand Trust Mark" (T Mark) ซึ่งทำให้มั่นใจได้ว่าการพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้งของ บริษัทฯ นอกจากจะดีต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมแล้ว ยังช่วยสร้างสินค้าที่มีคุณภาพและน่าเชื่อถือในระดับสากลได้ ปัจจุบัน บริษัทฯ เป็นผู้นำในธุรกิจฟื้นฟูสภาพถ่านกัมมันต์ใช้แล้ว (Regeneration of Spent Activated Carbon) โดยให้บริการในทุกกลุ่มอุตสาหกรรม อาทิ อุตสาหกรรมปิโตรเลียมและปิโตรเคมี อุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมยานยนต์ และอื่นๆ ภาพรวมของธุรกิจเดิมนั้นมีการเติบโตอย่างต่อเนื่องในช่วงระยะเวลา 10 ปี โดยในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ได้รับปัจจัยบวก จากกระแสการตื่นตัวการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมตามแนวทาง BCG และ ESG ตามหลักเศรฐกิจพอเพียง ทำให้เติบโตถึง 15 -25 % ในปี ดังนั้น บริษัทฯ จึงมีแผนในขยายธุรกิจฟื้นฟูสภาพ (Regeneration) จากถ่านกัมมันต์ใช้แล้ว (Spent Activated Carbon) และนำไปสู่ การปรับปรุงและขยายโรงงานสำหรับตัวเร่งปฏิกิริยาใช้แล้ว (Spent Catalyst) รวมไปถึงการสกัดโลหะมีค่า (Precious Metals) จากตัวเร่งปฏิกิริยาเพื่อสร้าง New S-Curve เพิ่มการเติบโต

การฟื้นฟูสภาพตัวเร่งปฏิกิริยาใช้แล้ว และการสกัดโลหะมีค่าจากตัวเร่งปฏิกิริยา ที่เสื่อมสภาพและไม่สามารถฟื้นฟูสภาพเพื่อนำกลับไปใช้งานใหม่ได้ ถือเป็นการปฏิวัติวงการ ด้วยรูปแบบธุรกิจที่ไม่เคยมีในประเทศไทยมาก่อนและถือเป็น New S-Curve ที่เกิดจากการวิจัยและพัฒนาด้านนวัตกรรมขององค์กร ในปัจจุบันตัวเร่งปฏิกิริยาใช้แล้วจะต้องส่งไปดำเนินการฟื้นฟูสภาพยังต่างประเทศและส่งกลับมาในประเทศไทย เช่นเดียวกับตัวเร่งปฏิกิริยาใช้แล้วที่เสื่อมสภาพ ก็จะส่งไปขายหรือดำเนินการสกัดโลหะมีค่ายังต่างประเทศ ดังนั้นจากความต้องการ (Demand) ที่มีอยู่แล้ว ประกอบกับปัญหา (Pain point) ของลูกค้าในการส่งไปดำเนินการยังต่างประเทศ จึงทำให้บริษัทฯ เล็งเห็นช่องว่างทางธุรกิจนี้ และมีแผนในการขยายธุรกิจดังกล่าว โดยช่วงแรกจะเน้นไปที่ตัวเร่งปฏิกิริยาที่มีโลหะมีค่าในกลุ่มแพลทินั่ม รวมไปถึง ทองคำ (Au) และเงิน (Ag) เป็นองค์ประกอบ โดยโฟกัสไปยังฐานลูกค้าเดิมในทุกกลุ่มอุตสาหกรรม โดยการขยายธุรกิจในครั้งนี้ เป็นการใช้นวัตกรรมขับเคลื่อนธุรกิจสู่ความยั่งยืน (Sustainnovation) สร้างเศรษฐกิจใหม่ของไทย เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในระดับสากล ด้วยแนวคิดในการเป็นผู้นำทางด้าน BCG และยึดแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง จึงทำให้เราสามารถยกระดับการทำงานร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการดูแลสิ่งแวดล้อม สร้างสังคมที่เข้มแข็งและยั่งยืนได้เพื่อเศรษฐกิจในประเทศที่มั่นคงต่อไป "

ที่มา: ไร้ท์ รีแอคติเวชั่น

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ