TEI เปิดข้อเสนอแนะกระบวนการหนุนเสริม "ภาคประชาสังคม" เพื่อเตรียมความพร้อมของชุมชนและเมืองต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ศุกร์ ๒๐ กันยายน ๒๕๖๗ ๐๙:๑๓
บทความโดย อนุสรา  โพธิ์ศรี สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย
TEI เปิดข้อเสนอแนะกระบวนการหนุนเสริม ภาคประชาสังคม เพื่อเตรียมความพร้อมของชุมชนและเมืองต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ความเป็นเมืองที่เกิดจากการเติบโตทางเศรษฐกิจแบบก้าวกระโดดและการพัฒนาที่ขาดการบริหารจัดการและการวางแผนเตรียมความพร้อมที่เหมาะสม ไม่คำนึงถึงฐานสิทธิมนุษยชน และเท่าทันกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ผนวกกับปัจจัยด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่คาดการณ์ได้ยาก ส่งผลให้การบริหารจัดการเมืองมีความยากและสลับซับซ้อน ซ้ำเติมปัญหาต่างๆ ให้รุนแรงและยิ่งส่งผลกระทบต่อผู้คนที่อยู่อาศัยในเมืองในระดับที่แตกต่างกัน จากข้อจำกัดด้านทุน การเข้าถึงสิทธิ และเงื่อนไขต่างๆ ในชีวิต การเตรียมความพร้อมของชุมชนและเมืองต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ จึงเป็นเรื่องเร่งด่วนที่ทุกภาคส่วนต้องให้ความสำคัญและร่วมมือในการวางแผนเพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถในการปรับตัวในระดับชุมชนและเมือง เพิ่มศักยภาพในการจัดการความเสี่ยงและผลกระทบจากภัยพิบัติ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ยั่งยืน ครอบคลุมคนทุกระดับ และเกิดความเท่าเทียม

โครงการประชาสังคมร่วมแรงเพื่อเปลี่ยนแปลงเมือง (พ.ศ. 2566-2567) สนับสนุนโดยสหภาพยุโรป ได้ดำเนินการหนุนเสริมเพิ่มศักยภาพให้แก่ภาคประชาสังคมในระดับรากหญ้า ภายใต้กระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันอย่างมีส่วนร่วมโดยชุมชนเป็นฐาน มุ่งสร้างการเรียนรู้ให้กับผู้นำรวมถึงคนในชุมชน ให้รู้บริบท ตระหนักถึงปัญหา และหาทางแก้ไขปัญหาโดยชุมชน โดยมีรูปธรรมการเปลี่ยนแปลงที่ชุมชนลงมือรวมกลุ่มจัดตั้งคณะทำงานในพื้นที่โดยมีคนในชุมชนเป็นผู้นำหลักและมีการหนุนเสริมจากภาครัฐ องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ และหน่วยงานวิชาการ การสำรวจข้อมูลความเปราะบางของเมืองต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจากเครื่องมือแบบประเมินอย่างง่ายเพื่อให้ชุมชนได้เข้าใจและรู้เท่าทันข้อมูลอย่างลึกซึ้งแท้จริงของชุมชนเอง การได้เรียนรู้โดยการลงมือปฏิบัติจากการดำเนินโครงการนำร่องในพื้นที่ เรียนรู้การวางระบบทีมนำไปสู่การเตรียมจัดตั้งองค์กรภาคประชาสังคมในรูปแบบนิติบุคคลในพื้นที่ เพื่อต่อยอดขยับและผลักดันการทำงานกับภาคส่วนต่างๆ ได้อย่างดีขึ้นและเป็นที่ยอมรับ จากกระบวนการดำเนินงานต่างๆ เหล่านี้ ล้วนเป็นกระบวนการหนุนเสริมรวมกลุ่มของผู้คนในชุมชนที่ดี ส่งเสริมให้เกิดความสำเร็จ เพื่อให้การทำงานของภาคประชาสังคมเข้มแข็ง และมีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจวางแนวทางในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ร่วมกันแบบพหุภาคีทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาควิชาการให้มากขึ้น โดยมีข้อเสนอแนะกระบวนการหนุนเสริมจากการทำงานร่วมกันที่ผ่านมา ดังนี้

  • กลุ่มเปราะบางภายใต้บริบทการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมีมากกว่ากลุ่มเปราะบางทางสังคมเพราะทุกคนล้วนได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทั้งสิ้นแต่อยู่ในระดับที่แตกต่างกัน จากองค์ประกอบปัจจัยที่ต้องพิจารณารวม คือ การเปลี่ยนแปลงเมืองและการใช้ประโยชน์ที่ดิน การเปลี่ยนเส้นทางน้ำ ระบบนิเวศ แผนรับมือของครัวเรือน ชุมชน ท้องถิ่น รวมถึงการบริหารจัดการของภาครัฐ เพราะปัจจัยเหล่านี้ล้วนส่งผลต่อกลุ่มเปราะบางทั้งสิ้น หน่วยงานที่รับผิดชอบกลุ่มเปราะบางต้องคำนึงถึงปัจจัยเหล่านี้และนำมาวิเคราะห์วางแผนรับมือผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่จะเกิดขึ้นและมีความเหมาะสม ทันท่วงที กับกลุ่มเปราะบางที่แตกต่างกัน
  • การทำงานร่วมกันระหว่างภาคประชาชน ประชาสังคม วิชาการ และภาครัฐ มีความสำคัญมากในการเก้ปัญหาด้านเมือง สังคม และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ จำเป็นต้องออกแบบกระบวนการทำงานร่วมกันเพื่อให้เกิดความยั่งยืน กระบวนการมีส่วนร่วม ถือเป็นหัวใจหลักในการทำงานร่วมกัน แต่โจทย์ใหญ่คือ เราจะสร้างการมีส่วนร่วมอย่างแท้จริงได้อย่างไร และต้องใช้วิธีการใด ถ้าต้องการให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น การมีเวทีพูดคุยแบบแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน (Shared Learning Dialogue: SLD) เป็นอีกกระบวนการที่ให้ทุกคนเข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ ข้อมูล ทบทวนอดีตให้เห็นความเปลี่ยนแปลง วิเคราะห์ข้อมูลร่วมกัน โดยปราศจากอคติ จากจุดเริ่มต้นการพูดคุยที่เป็นการเล่าสู่ย้อนทวนข้อมูลให้เห็นกระบวนการเปลี่ยนแปลง ค้นหาปัญหาที่แท้จริง สร้างความเข้าใจในบทบาทของกันและกัน ได้เป็นข้อตกลงร่วมกัน สร้างกระบวนการทำงานร่วมกันอย่างแท้จริง ใน สร้างบทบาทให้แก่ชุมชน ไม่ใช่เพียงภาครัฐและภาควิชาการเป็นผู้นำกระบวนและตัดสินใจ นำมาสู่แนวทางการแก้ปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพใรระยะสั้นระยะยาว และเป็นเครือข่ายที่ทำงานร่วมกันอย่างยั่งยืน
  • ข้อมูลที่ได้จากการสำรวจและวิเคราะห์ร่วมกัน (ออกแบบ ทบทวน ทำซ้ำ) เป็นหัวใจสำคัญในการสร้างบทบาท และการยอมรับของชุมชนต่อหน่วยงานภาครัฐ จากกระบวนการได้มาซึ่งข้อมูลโดยชุมชนเป็นผู้ลงมือออกแบบการสำรวจข้อมูลด้วยตนเอง ให้เวลาในการเก็บข้อมูล และวิเคราะห์ร่วมกันผ่านการพูดคุยแลกเปลี่ยนซ้ำๆ เป็นข้อมูลที่ทุกคนมีส่วนร่วมในการเก็บ วิเคราะห์ และเข้าใจตรงกันว่า "ข้อมูล" คืออะไร มีประโยชน์อย่างไรแก่ชุมชน เป็นข้อมูลหลักฐานเชิงประจักษ์ของพื้นที่ ที่ทุกคนสามารถเข้าถึงและมีส่วนร่วม สร้างการยอมรับ และใช้เชื่อมการทำงานแบบบูรณาการร่วมกันกับภาครัฐและภาควิชาการ ในการออกแบบแนวทางการแก้ไขปัญหา และกระบวนการตัดสินใจร่วมกันต่อไปได้

ข้อมูลเชิงประจักษ์ที่ได้รับการยอมรับจากชุมชน...สร้างความมั่นใจลดความขัดแย้งทุกภาคส่วน...

เปิดเวทีรับฟังแลกเปลี่ยนอย่างมีส่วนร่วม...เชื่อมร้อยเป็นเครือข่ายที่เข้มแข็ง.....

นำสู่การเป็นชุมชนที่ตื่นรู้ ตระหนัก พร้อมเตรียมตัวรับมือกับทุกความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น...

หมายเหตุ:

  • ประมวลข้อมูลจากการสัมภาษณ์ถอดบทเรียน สะท้อนมุมมอง แง่คิด ของคณะทำงาน 12 เมือง ภายใต้โครงการประชาสังคมร่วมแรงเพื่อเปลี่ยนแปลงเมือง (SUCCESS) สนับสนุนโดยสหภาพยุโรป
  • บทความเผยแพร่โครงการ SUCCESS จัดทำขึ้นโดยได้รับการสนับสนุนจากสหภาพยุโรป ซึ่งทีมงานโครงการ SUCCESS มีหน้าที่รับผิดชอบเนื้อหาทั้งหมด โดยเนื้อหาดังกล่าวไม่จำเป็นต้องสะท้อนมุมมองของสหภาพยุโรป

ที่มา: สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย (TEI)

TEI เปิดข้อเสนอแนะกระบวนการหนุนเสริม ภาคประชาสังคม เพื่อเตรียมความพร้อมของชุมชนและเมืองต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๐ ธ.ค. ASMT ผนึก TFT ร่วมลงนามด้านวิชาการด้านอุตสาหกรรมการบิน
๒๐ ธ.ค. กรมวิชาการเกษตร เดินหน้า ถ่ายทอดองค์ความรู้การผลิตอะโวคาโดคุณภาพ สร้างรายได้เพิ่มให้เกษตรกรกว่า 2 แสนบาท/ไร่
๒๐ ธ.ค. Dow มุ่งพัฒนาประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์ Personal Care ควบคู่ความยั่งยืน ตอบโจทย์ผู้บริโภคตลาดเครื่องสำอางในภูมิภาคเอเชีย
๒๐ ธ.ค. โอซีซี มอบความรู้ พัฒนาอาชีพให้ผู้ต้องขังหญิง
๒๐ ธ.ค. ดร.นุชนารถ ชลคงคา นำทีมสถาบัน ESTC จัดอบรมให้ Karmakamet
๒๐ ธ.ค. กนภ. เห็นชอบร่าง พรบ. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กลไกสำคัญสู่เส้นทางเศรษกิจคาร์บอนต่ำ และมีภูมิคุ้มกันฯ
๒๐ ธ.ค. WePlay x คอลแลบตัวละครสุดปัง! พบกับมินิเกมใหม่ และการ์ตูนสุดน่ารักที่คุณจะต้องหลงรัก
๒๐ ธ.ค. เดลต้า ประเทศไทย และ WEnergy Global ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงเพื่อขับเคลื่อนอนาคตพลังงานสีเขียว
๒๐ ธ.ค. ความภาคภูมิใจของ ไลอ้อน กับ 3 รางวัลแห่งเกียรติยศ เผยผลงานโดดเด่นกับหลายรางวัลที่ได้รับในปี 2567
๒๐ ธ.ค. NOBLE คว้าเรทติ้งสูงสุด ระดับ AAA SET ESG Ratings ประจำปี 2567 ยกระดับองค์กรสู่ความยั่งยืนภายในแนวคิด Live Different ตามกรอบ