เนื่องในเดือนอัลไซเมอร์โลก มหาวิทยาลัยเซนต์จอร์จ ส่งเสริมความตระหนักรู้เกี่ยวกับโรคอัลไซเมอร์

พุธ ๒๕ กันยายน ๒๕๖๗ ๑๑:๑๓
โรคอัลไซเมอร์เป็นโรคที่เกิดกับผู้คนนับล้านทั่วโลก โดยด้านองค์การอนามัยโลก (World Health Organization) คาดการณ์ว่าจำนวนผู้ป่วยทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นถึง 139 ล้านคนในปี 2593 และเนื่องในเดือนอัลไซเมอร์โลก (World Alzheimer's Month) ดร. Gabrielle Walcott-Bedeau ผู้ช่วยอธิการบดี ฝ่ายวิชาการและกิจการนักศึกษา รองศาสตราจารย์จากภาควิชาสรีรวิทยา ประสาทวิทยา และพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเซนต์จอร์จ (SGU) ได้แบ่งปันความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคสมองเสื่อมและมาตรการป้องกัน
เนื่องในเดือนอัลไซเมอร์โลก มหาวิทยาลัยเซนต์จอร์จ ส่งเสริมความตระหนักรู้เกี่ยวกับโรคอัลไซเมอร์

ทำความเข้าใจโรคอัลไซเมอร์

การเป็นโรคอัลไซเมอร์ส่งผลให้ความจำเสื่อมลงอย่างช้า ๆ อย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะแย่ลงตามกาลเวลา โดยเซลล์สมองจะค่อย ๆ ถูกทำลาย สาเหตุมาจากการสะสมของโปรตีนผิดปกติ และผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์อาจมีชีวิตอยู่ได้นานกว่าสิบปีโดยที่อาการยังไม่แสดงชัดเจน

นอกจากนี้ เมื่อเซลล์สมองตาย โรคนี้จะกระทบสมองในส่วนความจำ ซึ่งจะมีอาการเริ่มแรกที่สังเกตเห็นได้ชัดคือการสูญเสียความทรงจำ โดยเฉพาะความจำที่เพิ่งเกิดขึ้นล่าสุด

ความกังวลด้านสุขภาพระดับโลก

โรคอัลไซเมอร์สามารถพบได้ง่าย ซึ่งเป็นสาเหตุของภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุกว่า 80% ทั่วโลก โดยมีผู้ป่วยมากกว่า 50 ล้านคน ตามข้อมูลจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมในประเทศไทยประมาณ 700,000 คน ซึ่งในจำนวนนี้มีผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ประมาณ 500,000 คน

สาเหตุและการป้องกัน

จากการวิจัยมากมายเกี่ยวกับสาเหตุของโรคอัลไซเมอร์ พบว่ายังมีวิจัยที่สามารถยืนยันสาเหตุที่แน่ชัดของโรคนี้ได้ แต่ด้านนักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าเกิดจากพันธุกรรม สิ่งแวดล้อม และวิถีชีวิต ซึ่งจากการวิจัยหลายฉบับได้เผยถึงความสำคัญของการดูแลตัวเองที่อาจจะสามารถลดความเสี่ยงหรือชะลอการเกิดโรคนี้ได้ โดยประกอบไปด้วย:

  • การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์: โภชนาการด้านอาหารมีความสำคัญต่อสุขภาพสมอง ซึ่งการรับประทานอาหารที่มีผลไม้ ถั่ว และไฟเบอร์สูงอาจช่วยลดความเสี่ยงของโรคอัลไซเมอร์ได้
  • การออกกำลังกาย: การออกกำลังกายเป็นประจำส่งผลดีกับทั้งร่างกายและสมอง โดยมีกิจกรรมให้ทำหลากหลาย เช่น การเดิน การว่ายน้ำ หรือการเล่นโยคะ ที่สามารถช่วยพัฒนาการทำงานของสมองและลดความเสี่ยงที่จะสูญเสียความจำได้
  • การมีส่วนร่วมทางสังคม: การมีปฏิสัมพันธ์กับผู้คนในแง่บวกและในทางที่ดีนั้น ส่งผลดีต่อสุขภาพสมอง ไม่ว่าจะเป็นการใช้เวลาอยู่กับครอบครัว การทำกิจกรรม หรือการมีส่วนร่วมชุมชนที่อยู่อาศัย โดยการทำกิจกรรมร่วมกับคนทั่วไปสามารถช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรคอัลไซเมอร์ได้

SGU ขอเชิญชวนบุคคลทั่วไปและองค์กรต่าง ๆ ในประเทศไทย เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับโรคอัลไซเมอร์ เพื่อนำความรู้เข้าช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบ และช่วยให้ทุกคนมีสุขภาพที่ดียิ่งขึ้น

ที่มา: Midas PR

เนื่องในเดือนอัลไซเมอร์โลก มหาวิทยาลัยเซนต์จอร์จ ส่งเสริมความตระหนักรู้เกี่ยวกับโรคอัลไซเมอร์

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๐ ธ.ค. ASMT ผนึก TFT ร่วมลงนามด้านวิชาการด้านอุตสาหกรรมการบิน
๒๐ ธ.ค. กรมวิชาการเกษตร เดินหน้า ถ่ายทอดองค์ความรู้การผลิตอะโวคาโดคุณภาพ สร้างรายได้เพิ่มให้เกษตรกรกว่า 2 แสนบาท/ไร่
๒๐ ธ.ค. Dow มุ่งพัฒนาประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์ Personal Care ควบคู่ความยั่งยืน ตอบโจทย์ผู้บริโภคตลาดเครื่องสำอางในภูมิภาคเอเชีย
๒๐ ธ.ค. โอซีซี มอบความรู้ พัฒนาอาชีพให้ผู้ต้องขังหญิง
๒๐ ธ.ค. ดร.นุชนารถ ชลคงคา นำทีมสถาบัน ESTC จัดอบรมให้ Karmakamet
๒๐ ธ.ค. กนภ. เห็นชอบร่าง พรบ. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กลไกสำคัญสู่เส้นทางเศรษกิจคาร์บอนต่ำ และมีภูมิคุ้มกันฯ
๒๐ ธ.ค. WePlay x คอลแลบตัวละครสุดปัง! พบกับมินิเกมใหม่ และการ์ตูนสุดน่ารักที่คุณจะต้องหลงรัก
๒๐ ธ.ค. เดลต้า ประเทศไทย และ WEnergy Global ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงเพื่อขับเคลื่อนอนาคตพลังงานสีเขียว
๒๐ ธ.ค. ความภาคภูมิใจของ ไลอ้อน กับ 3 รางวัลแห่งเกียรติยศ เผยผลงานโดดเด่นกับหลายรางวัลที่ได้รับในปี 2567
๒๐ ธ.ค. NOBLE คว้าเรทติ้งสูงสุด ระดับ AAA SET ESG Ratings ประจำปี 2567 ยกระดับองค์กรสู่ความยั่งยืนภายในแนวคิด Live Different ตามกรอบ