กทม. ยกเว้นหลักเกณฑ์ให้ผู้ค้ายื่นหลักฐานภาษีเงินได้ในปีแรก เร่งทำแผนจัดระเบียบพื้นที่ทำการค้าตามประกาศใหม่

พุธ ๒๕ กันยายน ๒๕๖๗ ๑๗:๑๖
นายอนุชิต พิพิธกุล ผู้อำนวยการสำนักเทศกิจ (สนท.) กทม. กล่าวกรณีมีข้อสังเกตการกำหนดคุณสมบัติของผู้ทำการค้าและผู้ช่วยจำหน่ายสินค้าบนถนน หรือสถานสาธารณะ ต้องเป็นผู้มีรายได้ไม่เกิน 300,000 บาทต่อปี โดยอ้างอิงจากเงินได้หลังจากหักค่าใช้จ่ายการประกอบธุรกิจตามหลักฐานการยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา อาจทำให้เกิดช่องโหว่ในการจัดระเบียบแผงลอยว่า ตามประกาศ กทม. เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ
กทม. ยกเว้นหลักเกณฑ์ให้ผู้ค้ายื่นหลักฐานภาษีเงินได้ในปีแรก เร่งทำแผนจัดระเบียบพื้นที่ทำการค้าตามประกาศใหม่

และเงื่อนไขการกำหนดพื้นที่ทำการค้าและการขาย หรือจำหน่ายสินค้าบนถนน หรือสถานสาธารณะ ลงวันที่ 29 ส.ค. 67 ได้กำหนดหลักเกณฑ์ดังกล่าวเป็นครั้งแรก ดังนั้น จึงได้ยกเว้นหลักเกณฑ์ไว้ในปีแรกที่มีการแจ้งความประสงค์ เนื่องจากผู้ค้าส่วนใหญ่อาจยังไม่เคยยื่นภาษีเงินได้กับกรมสรรพากรจึงเป็นการให้โอกาสทำการค้า และในปีต่อไปหากผู้ค้ายังมีความประสงค์จะขายสินค้าต่อ จะต้องไปยื่นภาษีฯ กับกรมสรรพากรและนำหลักฐานการยื่นที่แสดงว่ามีเงินได้หลังหักค่าใช้จ่าย ไม่เกิน 300,000 บาท มาแสดงกับ กทม. ซึ่งหากมีรายได้เกิน หรือไม่มีหลักฐานการยื่นจะต้องถูกตัดสิทธิ์ โดยการกำหนดหลักเกณฑ์ดังกล่าว นอกจากเป็นการให้ผู้ค้าเข้าสู่ระบบภาษีแล้ว ยังป้องกันเจ้าหน้าที่ใช้ดุลยพินิจในการพิจารณาคุณสมบัติผู้ค้าและเป็นการสร้างความโปร่งใสในการปฏิบัติราชการ รวมทั้งปัจจุบันการยื่นแสดงภาษีต่อกรมสรรพากรมีระบบให้ยื่นได้หลายช่องทาง อาทิ ช่องทางออนไลน์ เป็นต้น สำหรับมาตรการอื่น ๆ กทม. ยังให้ความสำคัญและสั่งการให้เจ้าหน้าที่กวดขันการทำการค้าบนทางเท้าให้เป็นไปตามนโยบายของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครอย่างเคร่งครัด เช่น การรักษาความสะอาด โดยได้กำหนดให้ผู้ค้าต้องหยุดทำการค้าสัปดาห์ละ 1 วัน เพื่อคืนทางเท้าให้ประชาชนและร่วมกันทำความสะอาดทางเท้า

ทั้งนี้ ประกาศ กทม. เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการกำหนดพื้นที่ทำการค้าและการขาย หรือจำหน่ายสินค้าบนถนน หรือสถานสาธารณะ เป็นมาตรการหนึ่งของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในการขับเคลื่อนนโยบายการจัดระเบียบหาบเร่-แผงลอย โดยให้ความสำคัญกับประชาชนที่ใช้ถนนและทางเท้าเป็นหลัก รวมถึงต้องมีความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อย ส่วนการทำการค้าบนถนน หรือสถานสาธารณะ โดยเฉพาะทางเท้าจะต้องไม่ส่งผลกระทบต่อประชาชนผู้ใช้ทางเท้า พร้อมเร่งจัดหาพื้นที่เอกชน หน่วยงานราชการ หรือรัฐวิสาหกิจ เพื่อจัดทำเป็นศูนย์อาหาร (Hawker Center) ให้เป็นรูปธรรม เน้นเรื่องความโปร่งใสการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ ตลอดจนควบคุมไม่ให้มีการเพิ่มขึ้นของผู้ค้าบนถนน หรือสถานสาธารณะ และแต่งตั้งคณะกรรมการในระดับ กทม. และระดับเขตเข้ามาดูแลการทำการค้าหาบเร่-แผงลอย โดยให้สำนักงานเขตจัดทำแผนการจัดระเบียบพื้นที่ทำการค้าที่มีอยู่ทั้งหมด ทั้งในจุดและนอกจุดผ่อนผันให้เป็นไปตามประกาศดังกล่าวให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 31 ธ.ค. 67 จากนั้นจะมีคณะกรรมการตรวจประเมินฯ หากผ่านการประเมินความถูกต้องและเหมาะสมจะนำเข้าสู่กระบวนการพัฒนาให้เป็นจุดผ่อนผันที่ถูกต้องตามกฎหมาย หากพื้นที่ไม่เหมาะสม หรือผู้ค้าไม่ให้ความร่วมมือในการจัดระเบียบฯ จะต้องบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด

ที่มา: กรุงเทพมหานคร

กทม. ยกเว้นหลักเกณฑ์ให้ผู้ค้ายื่นหลักฐานภาษีเงินได้ในปีแรก เร่งทำแผนจัดระเบียบพื้นที่ทำการค้าตามประกาศใหม่

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ