ม.มหิดลสร้างสรรค์นวัตกรรม AI ฝึกบัลเล่ต์เสมือนจริง

พฤหัส ๒๖ กันยายน ๒๕๖๗ ๑๐:๔๘
เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญแม้แต่ทางด้านศิลปะแห่งโลกตะวันตก ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญของการแสดงในหลากหลายสาขาอย่างเช่น "บัลเล่ต์" (Ballet) ที่ได้รับการบรรจุเป็นหลักสูตรพื้นฐาน เพื่อการเรียนรู้ทางศิลปวัฒนธรรมที่สำคัญทั่วโลก
ม.มหิดลสร้างสรรค์นวัตกรรม AI ฝึกบัลเล่ต์เสมือนจริง

ศาสตราจารย์ ดร.ไพศาล มุณีสว่าง อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นับเป็นหนึ่งในความภาคภูมิใจของ มหาวิทยาลัยมหิดล ในฐานะ "ปัญญาของแผ่นดิน" ตามปณิธานของมหาวิทยาลัยมหิดล ที่ได้มีโอกาสร่วมวิจัยกับนักวิจัยจาก มหาวิทยาลัยโตรอนโตเมโทรโพลิแทน (Toronto Metropolitan University) สหพันธรัฐแคนาดา ซึ่งมีชื่อเดิมว่า มหาวิทยาลัยรายเยอร์ซัน (Ryerson University) ที่มีชื่อเสียงด้านการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ในเชิงสร้างสรรค์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในทางสื่อศิลปะ (Media Arts)

ร่วมด้วยทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยยอร์ก (York University) สหพันธรัฐแคนาดา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีกว่างตง (Guangdong University of Technology) และ มหาวิทยาลัยการสื่อสารแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน (Communication University of China) ที่ร่วมดูแลด้านการใช้ศิลปะเสมือนจริง (Virtual Arts) ภายใต้ทุนสนับสนุนจากรัฐบาลสหพันธรัฐแคนาดา เพื่อการสร้างสรรค์ "นวัตกรรม AI ฝึกบัลเล่ต์เสมือนจริง"

ด้วยเทคโนโลยี "CAVE" ที่สร้างโลกเสมือนจริงเพื่อช่วยให้การฝึกบัลเล่ต์มีความแม่นยำมากขึ้น โดยสามารถแสดงผลแบบเรียลไทม์ เพื่อใช้ในการฝึกท่ามาตรฐานบัลเล่ต์ของผู้เรียนให้ตรงตามผู้ฝึก ด้วย "Generative Sensor Detection" ที่พร้อมแสดงผลผ่านจอมอนิเตอร์ หากทำท่าไม่ตรงตามผู้ฝึกจะขึ้นเป็น "สีเหลือง" เพื่อแจ้งเตือน และ "สีแดง" เมื่อแสดงท่าผิดแบบ เพื่อให้ผู้ฝึกสามารถแก้ไขได้ในทันที

ซึ่งจากการทดลองใช้นวัตกรรม AI ฝึกบัลเลต์เสมือนจริง ได้ผลความแม่นยำในภาพรวม (Overall) ถึงร้อยละ 97 ทั้งในการฝึกผู้เรียนด้วยภาพ 3 มิติจากเทคโนโลยี "CAVE" ทั้งที่สหพันธรัฐแคนาดา และที่ประเทศไทยในเวลาต่อมา

ศาสตราจารย์ ดร.ไพศาล มุณีสว่าง กล่าวต่อไปว่า Generative AI นับวันจะยิ่งทวีความสำคัญต่อโลกยุคใหม่ จากการประมวลผลจากแหล่งข้อมูลที่โยงใยถึงกันแบบ IoT (Internet of Things) ที่ประสานข้อมูลจากทุกสื่อบนโลกออนไลน์มาไว้เข้าด้วยกัน ข้อมูลเหล่านี้จะถูกจัดการด้วย Realtime simulation และ Generative AI เพื่อวิเคราะห์ สังเคราะห์ และคาดการณ์อนาคตด้วยเทคโนโลยี Digital Twin Technology

ไม่เพียงประโยชน์เพื่อการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ในการสร้างสรรค์สื่อศิลปะ ยังสามารถใช้ประโยชน์ด้านอื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ต่อไปในอนาคต อาทิ ใช้ทำนายสภาพเมืองในอีก 5 - 10 ปีข้างหน้า จากข้อมูลการวางโครงสร้างพื้นฐาน ประกอบกับวิถีชีวิตของชาวเมืองในด้านต่างๆ เพื่อการวางแผนเตรียมพร้อมรับมือต่อเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นต่อไปได้อย่างทันท่วงที
อย่างไรก็ดียังคงพบการใช้ประโยชน์จาก AI ในโลกยุคปัจจุบันเพียงร้อยละ 40 - 50 ซึ่งนับว่ายังคงทำได้ไม่เต็มที่เท่าที่ควร โดยการวิจัยเพื่อผลักดันให้ AI ได้เพิ่มบทบาทในการเป็น "ผู้ช่วย" ในการยกระดับคุณภาพชีวิตมนุษย์ กำลังเป็นเรื่องสำคัญของโลก

ติดตามข่าวสารที่น่าสนใจจากมหาวิทยาลัยมหิดลได้ที่ www.mahidol.ac.th

ที่มา: มหาวิทยาลัยมหิดล

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๒ พ.ย. รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๒๒ พ.ย. ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๒๒ พ.ย. Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๒๒ พ.ย. ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๒๒ พ.ย. โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๒๒ พ.ย. กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๒๒ พ.ย. สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๒๒ พ.ย. 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๒๒ พ.ย. โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๒๒ พ.ย. electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version