สหภาพยุโรปได้กำหนดมาตรฐานระดับโลกในการจัดการขยะบรรจุภัณฑ์ด้วยแนวทางที่ครอบคลุม โดยเฉพาะการบังคับใช้กฎระเบียบเกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์และขยะบรรจุภัณฑ์ (PPWR) กฎระเบียบนี้ได้มีการกำหนดมาตรการเพื่อป้องกันเรื่องขยะบรรจุภัณฑ์ เพิ่มประสิทธิภาพการใช้บรรจุภัณฑ์ ส่งเสริมการใช้ซ้ำ การรีไซเคิล และตั้งข้อกำหนดที่เข้มงวดสำหรับบรรจุภัณฑ์ที่ใช้ในตลาดสหภาพยุโรป นอกจากนี้ยังเน้นการใช้แนวทางตามวงจรชีวิตของขยะบรรจุภัณฑ์และผลักดันให้เกิดเศรษฐกิจหมุนเวียนในอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์อีกด้วย
เช่นเดียวกับประเทศไทยที่กำลังมุ่งสู่เป้าหมายความยั่งยืน ซึ่งรวมถึงเป้าหมายที่ระบุไว้ในแผนปฏิบัติการแห่งชาติฉบับที่ 2 เกี่ยวกับแผนงานขยะพลาสติก 2022-2027 ประเทศไทยได้พัฒนาร่างพระราชบัญญัติการจัดการบรรจุภัณฑ์ที่ยั่งยืน โดยอิงตามหลักการขยายความรับผิดชอบของผู้ผลิต (EPR) ซึ่งมุ่งหวังให้ผู้ผลิตอาหารและเครื่องดื่มมีส่วนร่วมโดยตรงในกระบวนการนำบรรจุภัณฑ์กลับมาจัดการอย่างถูกวิธีโดยเน้นการนำบรรจุภัณฑ์มาแปรรูปใช้ใหม่ (รีไซเคิล) และการนำโซลูชันบรรจุภัณฑ์ที่ยั่งยืนมาใช้ ในขณะเดียวกัน ความต้องการของผู้บริโภคที่มีต่อความยั่งยืนก็มีเพิ่มมากขึ้น ข้อมูลล่าสุดจาก NielsenIQ เผยว่า 74% ของผู้บริโภคในประเทศไทยให้ความสำคัญกับความยั่งยืนมากขึ้นกว่าเมื่อสองปีที่ผ่านมา ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความจำเป็นอย่างยิ่งที่ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มต้องให้การสนับสนุนความพยายามในด้านความยั่งยืนของประเทศ พร้อมทั้งส่งมอบผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพและยั่งยืนเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปอีกด้วย
งานสัมมนาออนไลน์ "ธุรกิจที่พร้อมสำหรับอนาคตด้วยโซลูชันด้านความยั่งยืนจากเต็ดตรา แพ้ค" ในครั้งนี้ คุณแพรพร อมรภาณุพันธ์ ผู้อำนวยการกลุ่มผลิตภัณฑ์ด้านบรรจุภัณฑ์ และคุณปฏิญญา ศิลสุภดล ผู้อำนวยการฝ่ายความยั่งยืน บริษัท เต็ดตรา แพ้ค (ประเทศไทย) จำกัด ได้บรรยายให้เห็นถึงความจำเป็นอย่างเร่งด่วนสำหรับผู้ผลิตอาหารและเครื่องดื่มในการนำโซลูชันความยั่งยืนมาเป็นส่วนสำคัญของการดำเนินงานเพื่อตอบสนองต่อเทรนด์ด้านความยั่งยืนที่เกิดขึ้น รวมถึงกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องทั้งในระดับประเทศและระดับสากลเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและเศรษฐกิจหมุนเวียน ซึ่งเชื่อมโยงกับการลดคาร์บอน การรีไซเคิล และการจัดการขยะ โดยเน้นย้ำถึงความมุ่งมั่นของเต็ดตรา แพ้ค ในการช่วยให้ธุรกิจบรรลุเป้าหมายด้านความยั่งยืนโดยใช้แนวทาง 4 ขั้นตอนที่ครอบคลุม ได้แก่ การหลีกเลี่ยงการใช้ทรัพยากรอย่างสิ้นเปลือง การกู้คืนการใช้พลังงานและน้ำ การเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน และการทำให้กระบวนการผลิตเกิดความเป็นกลางทางสิ่งแวดล้อมตลอดทั้งห่วงโซ่คุณค่า
ทั้งนี้ เพื่อสนับสนุนผู้ผลิตในการขับเคลื่อนกลยุทธ์ด้านความยั่งยืน เต็ดตรา แพ้คได้นำเสนอโซลูชันแบบครบวงจรทั้ง 3 โซลูชันที่จะสามารถช่วยเปลี่ยนแปลงธุรกิจให้เติบโตได้อย่างยั่งยืนควบคู่ไปกับการปฏิบัติตามข้อกำหนดทั้งในระดับประเทศและระดับสากล พร้อมรักษาความสามารถด้านการแข่งขันในระยะยาวสำหรับอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม ดังนี้
- โซลูชันบรรจุภัณฑ์ของเต็ดตรา แพ้ค มีการจัดหาทรัพยากรหมุนเวียนอย่างมีความรับผิดชอบ โดยกระดาษบรรจุภัณฑ์ที่ใช้ได้รับการรับรองจากองค์การจัดการด้านป่าไม้ หรือ เอฟเอสซี (FSC(TM)) อีกทั้ง บรรจุภัณฑ์ยังสามารถรีไซเคิลได้ทั้งหมด และออกแบบมาเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในขณะที่ยังคงมาตรฐานคุณภาพผลิตภัณฑ์สูงสุด เต็ดตรา แพ้ค มีเป้าหมายในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจหมุนเวียน ด้วยการแนะนำฝาบรรจุภัณฑ์ที่ยั่งยืน เพิ่มการใช้วัสดุที่ได้จากการรีไซเคิล และวัสดุที่เป็นทรัพยากรหมุนเวียนจากพืชที่ปลูกทดแทนได้ รวมถึงการออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่สร้างสรรค์ โดยเมื่อเดือนพฤศจิกายน ที่ผ่านมา เต็ดตรา แพ้ค ประสบความสำเร็จในการร่วมมือกับ แบรนด์ Lactogal ประเทศโปรตุเกส ในการวางขายผลิตภัณฑ์ในกล่องเครื่องดื่มกล่องแรกของโลกที่ใช้ชั้นปกป้องทดแทนที่ผลิตจากเยื่อกระดาษ ซึ่งทำให้เป็นบรรจุภัณฑ์ที่ใช้วัสดุหมุนเวียนมากถึง 90% และลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ถึง 33%
- โซลูชันการผลิตของเต็ดตรา แพ้ค มีโซลูชันการผลิตที่ล้ำสมัยซึ่งได้รับการออกแบบมาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต แต่ยังคงไว้ซึ่งคุณภาพ ทั้งยังช่วยลดการสูญเสียในกระบวนการผลิต เครื่องจักรได้รับการพัฒนาเป็นระบบอัตโนมัติทำให้เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ยกตัวอย่างเช่น เครื่องโฮโมจีไนเซอร์ของเต็ดตรา แพ้ค รุ่นใหม่ที่มีอายุการใช้งานของชิ้นส่วนอะไหล่เพิ่มเป็นสองเท่า ลดการใช้น้ำ และลดการใช้พลังงานได้ถึง 30% นอกจากนี้ยังมีเครื่องแยกไขมัน ที่ใช้เทคโนโลยี AirTight สามารถช่วยประหยัดพลังงานได้ถึง 40% และลดการใช้น้ำได้ถึง 20%
- โซลูชันบริการทางเทคนิคของเต็ดตรา แพ้ค ให้บริการทางเทคนิคแบบครบวงจรโดยผู้เชี่ยวชาญเพื่อช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงานของโรงงาน ตัวอย่างเช่น การประเมินและวางแผนการ บำรุงรักษาเครื่องจักรและการซ่อมบำรุง การให้บริการจากผู้เชี่ยวชาญเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพโรงงาน ที่ช่วยผู้ผลิตตั้งแต่การวางแผนลดการใช้พลังงานและน้ำ รวมถึงลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนและของเสียในโรงงานทั้งหมด ซึ่งช่วยสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสิ่งแวดล้อมในระยะยาว
"เราเล็งเห็นว่าผู้บริโภคและหน่วยงานกำกับดูแลต่าง ๆ มีความตระหนักรู้และให้ความสำคัญกับผลิตภัณฑ์ที่มีความยั่งยืนเพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้ โซลูชันด้านความยั่งยืนจากเต็ดตรา แพ้คได้รับการพัฒนาขึ้นเพื่อช่วยให้ธุรกิจสามารถปรับตัวและรับมือกับการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ธุรกิจต่าง ๆ สามารถก้าวขึ้นเป็นผู้นำด้านความยั่งยืน และในขณะเดียวกัน ก็ยังคงไว้ซึ่งความสามารถในการแข่งขันในตลาดที่มีเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว" คุณปฏิญญา ศิลสุภดล ผู้อำนวยการฝ่ายความยั่งยืน บริษัทเต็ดตรา แพ้ค ประเทศไทย และเวียดนาม กล่าว
"โซลูชันด้านความยั่งยืนจากเต็ดตรา แพ้คช่วยให้ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มในประเทศไทยสามารถเตรียมพร้อมสำหรับตลาดและกฎระเบียบต่าง ๆ ในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยล่าสุดในงานสัมมนาออนไลน์ 'ธุรกิจที่พร้อมสำหรับอนาคตด้วยโซลูชันด้านความยั่งยืนจากเต็ดตรา แพ้ค' เราได้ให้ข้อมูลของโซลูชันแบบครบวงจร ตั้งแต่บรรจุภัณฑ์ที่ใช้วัสดุหมุนเวียนที่ปลูกทดแทนได้ นวัตกรรมในการผลิต ตลอดจนการยกระดับความ สามารถในกระบวนการผลิต ที่จะช่วยให้ธุรกิจต่าง ๆ สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานและเป็นผู้นำในการขับเคลื่อนความยั่งยืนในตลาด" คุณแพรพร อมรภาณุพันธ์ ผู้อำนวยการกลุ่มผลิตภัณฑ์ด้านบรรจุภัณฑ์ บริษัทเต็ดตรา แพ้ค (ประเทศไทย) จำกัด กล่าว
เต็ดตรา แพ้ค มุ่งมั่นที่จะร่วมมือกับผู้ผลิตอาหารและเครื่องดื่ม เพื่อช่วยให้การเปลี่ยนผ่านการดำเนินธุรกิจไปสู่แนวทางการปฏิบัติที่ยั่งยืนอย่างราบรื่น และลดการปล่อยมลพิษให้น้อยที่สุด ในขณะเดียวกัน ยังพร้อมสนับสนุนข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับการตลาดและนวัตกรรมล่าสุดเพื่อตอบสนองต่อกฎระเบียบหรือข้อบังคับใหม่ ๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ความมุ่งมั่นนี้สอดคล้องกับพันธกิจหลักของเต็ดตรา แพ้คในการส่งมอบบรรจุภัณฑ์อาหารที่ยั่งยืนที่สุดในโลก พร้อมนำนวัตกรรมมาใช้ในการเปลี่ยนแปลงระบบอาหารทั่วโลก เพื่อปกป้องอาหาร ผู้คน และโลกใบนี้
การสัมมนาออนไลน์ "ธุรกิจที่พร้อมสำหรับอนาคตด้วยโซลูชันด้านความยั่งยืนจากเต็ดตรา แพ้ค" สามารถรับชมย้อนหลังได้ผ่านทาง https://event.on24.com/wcc/r/4695197/FE405E93B45974992841C3B9AE595758
ที่มา: วีโร่ พับลิค รีเลชั่นส์