Soft Power เพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยในเวทีโลก

พฤหัส ๒๖ กันยายน ๒๕๖๗ ๑๖:๔๑
3 ผู้นำองค์กร ฐาปณี เตชะเจริญวิกุล กลุ่มบีเจซีบิ๊กซี  ศุภจี สุธรรมพันธุ์  ดุสิตธานี และอรนุช เลิศสุวรรณกิจ แห่งเทคซอส ชูพลัง Soft Power ขับเคลื่อนองค์กรและสังคมไทย ในงานสัมมนาของ สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (Thailand Management Association : TMA) ในหัวข้อ "Soft Power" ในโอกาสครบรอบ  60 ปี
Soft Power เพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยในเวทีโลก

DEI การสร้างพื้นที่ที่น่าอยู่ในองค์กร

คุณฐาปณี เตชะเจริญวิกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมทั่วโลก "Soft Power" คือคำตอบสำคัญในเวทีการแข่งขันระดับประเทศ มุมมองของบีเจซีบิ๊กซีกรุ๊ป มุ่งเน้น 2 เสาหลักคือ People กับ Value  ภายใต้แนวคิด DEI (Diversity, Equity, Inclusion)  ที่ส่งเสริมความหลากหลาย ความเสมอภาค และการมีส่วนร่วมของคนในองค์กร รวมถึงกลุ่ม LGBTQ  ให้เป็นพื้นที่น่าอยู่และเปิดกว้างให้กับทุกโอกาส และการสร้างสภาพแวดล้อมในที่ทำงานที่เอื้อต่อการพัฒนาทั้งตัวบุคคลและองค์กร

"การสร้างสภาพแวดล้อมที่เต็มไปด้วยโอกาส และให้ทุกคนได้มีส่วนร่วมอย่างเท่าเทียม" ภายใต้ DEI มีการปรับสวัสดิการสำหรับพนักงานทุกกลุ่ม การใช้เทคโนโลยีและ AI เพื่อพัฒนาความเท่าเทียม ที่ไม่ใช่เพียงแค่สัญลักษณ์ แต่เป็นการดำเนินการจริงในทุกมิติ "ซึ่งแนวคิดนี้ส่งผลต่อการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานในองค์กรอย่างชัดเจน โดยหัวใจสำคัญคือการสร้าง Knowledge Sharing และเป็น Soft Power ที่แท้จริง เช่น การพัฒนาโครงการด้านการศึกษากับยูนิเซฟและโครงการพัฒนาครูไทยทั่วประเทศ ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงการลงทุนในทุนมนุษย์อย่างต่อเนื่อง" 

ซอฟต์พาวเวอร์และการศึกษา: กุญแจสำคัญสู่การแข่งขัน

คุณศุภจี สุธรรมพันธุ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม บริษัท ดุสิตธานี จำกัด (มหาชน) เน้นย้ำถึงบทบาทสำคัญของการศึกษาในการเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย "ถ้าจะพูดถึง Soft Power จริงๆ คือการมีอิทธิพลโดยไม่ต้องใช้กำลังให้คนรักและยอมรับ" และให้ความเห็นว่าเสาหลักสำคัญของ Soft Power ที่เชื่อมโยงทั้งเศรษฐกิจ วัฒนธรรม และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ คือการศึกษา สถิติแสดงให้เห็นว่าประชากรไทยที่ได้รับการศึกษาในระดับสูงมีเพียง 16% ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของโลกที่ 28% คุณศุภจียังย้ำว่าประเทศเกาหลีใต้ที่มี Soft Power ที่เข้มแข็งนั้นเกิดจากระบบการศึกษาที่มีคุณภาพ ดังนั้น การเข้าถึงการศึกษาในประเทศไทยยังคงเป็นความท้าทายที่ต้องแก้ไข เพื่อนำไปสู่ความเข้มแข็งของระบบเศรษฐกิจและการพัฒนาทุนมนุษย์ 

เทคโนโลยี: เส้นทางสู่อนาคตใหม่ของประเทศไทย

คุณอรนุช เลิศสุวรรณกิจ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท เทคซอส มีเดีย มองว่าจุดแข็งสำคัญของประเทศไทยในอนาคตคือการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล "Soft Power ของเราต้องเน้นที่การสร้างผู้สร้าง ไม่ใช่แค่ผู้ใช้เทคโนโลยี" และเชื่อว่าเทคโนโลยีคือ S-Curve ใหม่ที่สามารถแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางสังคมและการเข้าถึงการศึกษาและสุขภาพได้ด้วยประสบการณ์กว่า 20 ปีในวงการเทคโนโลยี คุณอรนุช ได้เห็นการดิสรัปหลายครั้ง ซึ่งมองว่าประเทศไทยมีจุดแข็งในด้านอาหาร เกษตรกรรม และสุขภาพ ซึ่งสามารถนำเทคโนโลยีเข้ามาเพิ่มมูลค่าและสร้างความแตกต่างให้กับประเทศในตลาดโลก

ที่มา: PR Solution

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๐ ธ.ค. ASMT ผนึก TFT ร่วมลงนามด้านวิชาการด้านอุตสาหกรรมการบิน
๒๐ ธ.ค. กรมวิชาการเกษตร เดินหน้า ถ่ายทอดองค์ความรู้การผลิตอะโวคาโดคุณภาพ สร้างรายได้เพิ่มให้เกษตรกรกว่า 2 แสนบาท/ไร่
๒๐ ธ.ค. Dow มุ่งพัฒนาประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์ Personal Care ควบคู่ความยั่งยืน ตอบโจทย์ผู้บริโภคตลาดเครื่องสำอางในภูมิภาคเอเชีย
๒๐ ธ.ค. โอซีซี มอบความรู้ พัฒนาอาชีพให้ผู้ต้องขังหญิง
๒๐ ธ.ค. ดร.นุชนารถ ชลคงคา นำทีมสถาบัน ESTC จัดอบรมให้ Karmakamet
๒๐ ธ.ค. กนภ. เห็นชอบร่าง พรบ. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กลไกสำคัญสู่เส้นทางเศรษกิจคาร์บอนต่ำ และมีภูมิคุ้มกันฯ
๒๐ ธ.ค. WePlay x คอลแลบตัวละครสุดปัง! พบกับมินิเกมใหม่ และการ์ตูนสุดน่ารักที่คุณจะต้องหลงรัก
๒๐ ธ.ค. เดลต้า ประเทศไทย และ WEnergy Global ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงเพื่อขับเคลื่อนอนาคตพลังงานสีเขียว
๒๐ ธ.ค. ความภาคภูมิใจของ ไลอ้อน กับ 3 รางวัลแห่งเกียรติยศ เผยผลงานโดดเด่นกับหลายรางวัลที่ได้รับในปี 2567
๒๐ ธ.ค. NOBLE คว้าเรทติ้งสูงสุด ระดับ AAA SET ESG Ratings ประจำปี 2567 ยกระดับองค์กรสู่ความยั่งยืนภายในแนวคิด Live Different ตามกรอบ