โอกาสนี้ ดร.ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต ผู้ว่าการ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแหงประเทศไทย (วว.) มอบหมายให้ ดร. พงศธร ประภักรางกูล นักบริหารพิเศษและรักษาการผู้อำนวยการศูนย์ความหลากหลายทางชีวภาพ (ศคช.) ปฏิบัติหน้าที่เป็นวิทยากรใน Concurrent Session (Earth and Commons) : Circular Economy toward End of Mining โดยได้นำเสนอบทบาทของ วว. ในการวิจัยพัฒนานวัตกรรมที่เกิดผลกระทบเชิงบวกในภาคเศรษฐกิจ ชุมชน และสังคมอย่างเป็นรูปธรรม ทั้งการสร้างรายได้และความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
พร้อมทั้งได้แลกเปลี่ยนมุมมองร่วมกับผู้นำองค์กรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจากประเทศต่างๆ อาทิ เม็กซิโก ญี่ปุ่น เบลเยี่ยม กรีซ ซึ่งล้วนเล็งเห็นพ้องกันว่า องค์กรวิจัยชั้นนำมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนนโยบายวิจัยและนวัตกรรมที่ส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียน โดยเฉพาะในบริบทของการช่วยลดการใช้ทรัพยากรและส่งเสริมการนำกลับมาใช้ใหม่ ที่ต้องคำนึงถึงการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม รวมทั้งความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐาน และบริบททางเศรษฐกิจสังคม ที่แตกต่างกันในประเทศพัฒนาแล้ว และประเทศกำลังพัฒนาควบคู่กัน ในการนี้ ดร.ณศิสรณ์ สุขศรีเดชาศิลป์ นักวิจัย ศคช. และ ดร.ศิริพร บุตรสีโคตร นั กวิจัย ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมอาหารสุขภาพ (ศนอ.) เข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าวด้วย
อนึ่ง การประชุม STS forum 2024 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 6-8 ตุลาคม 2567 ณ นครเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น เป็นเวทีหารือด้านนโยบาย วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ใหญ่ที่สุดในโลก เพื่อแลกเปลี่ยนความเห็นและความรู้ระหว่างผู้นำจากหลายสาขาเกี่ยวกับบทบาทของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในสังคม โดยมีรัฐมนตรีและผู้บริหารระดับสูงของประเทศ ผู้นำด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระดับโลก ผู้บริหารองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน รวมทั้งผู้เชี่ยวชาญสาขาต่างๆ นักวิจัยและผู้นำรุ่นใหม่ด้านวิทยาศาสตร์จากทั่วโลกเข้าร่วมประชุมกว่า 1,000 คน
ที่มา: สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย