นางกลอยตาได้กล่าวถึงทิศทางการพัฒนา SAF ในประเทศไทย และแนวทางในการสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานของประเทศ รวมถึงความท้าทายต่างๆ และข้อได้เปรียบในการผลิต SAF ในประเทศ ซึ่งบางจากฯ มีการลงทุนผ่านบริษัท บีเอสจีเอฟ จำกัด ด้วยมูลค่า 8.5 พันล้านบาท เพื่อพัฒนาการผลิต SAF จากน้ำมันใช้แล้วจากการปรุงอาหาร โดยการก่อสร้างหน่วยผลิต SAF ในพื้นที่โรงกลั่นบางจาก พระโขนง กำลังดำเนินไปตามแผน จะเริ่มการผลิตได้ในช่วงต้นไตรมาสที่ 2 ของปี 2568 ด้วยกำลังการผลิต 1 ล้านลิตรต่อวัน โดยมีการสร้างเครือข่ายจัดเก็บวัตถุดิบผ่านการรณรงค์ "ไม่ทอดซ้ำ" ร่วมกับกรมอนามัย เพื่อนำไปร่วมโครงการ "ทอดไม่ทิ้ง" ที่จัดทำร่วมกับพันธมิตรผู้ประกอบกิจการร้านอาหาร ห้างร้าน ศูนย์การค้า ศูนย์ประชุม เทศบาล หน่วยงานท้องถิ่น ฯลฯ นอกจากนี้ ยังได้จัดจุดรับซื้อน้ำมันใช้แล้วจากการปรุงอาหารในสถานีบริการน้ำมันบางจาก 281 แห่งทั่วประเทศ และล่าสุด มีการต่อยอดผ่านความร่วมมือกับมูลนิธิใบไม้ปันสุข จัดตั้ง "สถานีทอดไม่ทิ้ง" ในโรงเรียนเพื่อจัดเก็บน้ำมันใช้แล้วจากโรงเรียนและครัวเรือนของนักเรียนมีเป้าขยายอย่างต่อเนื่อง โดยมีเป้าหมายในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและสนับสนุนการบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ของบริษัทฯ ภายในปีค.ศ. 2050 และของประเทศไทยในปี ค.ศ. 2065
การเสวนาครั้งนี้เน้นย้ำถึงบทบาทของประเทศไทยในการผลักดันนโยบายและโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นเพื่อสนับสนุนการผลิตเชื้อเพลิงอากาศยานยั่งยืน SAF ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจและสร้างความเป็นผู้นำด้านพลังงานสะอาดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ที่มา: บางจาก คอร์ปอเรชั่น