วิทยากรคนแรก ดร.อมรเทพ จาวะลา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสำนักวิจัย ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย กล่าวว่า โจทย์เศรษฐกิจปีหน้ามีความท้าทายอยู่ที่ผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ ส่งผลกระทบไทยอย่างเลี่ยงไม่ได้ หากแฮริสชนะ คาดว่าดอลลาร์จะอ่อนค่า bond yield ลดลงแบบคอยเป็นค่อยไป และธปท.จะลดดอกเบี้ยแบบค่อยเป็นค่อยไป ด้านนโยบายแฮริสจะดูแลคนรายได้ระดับกลาง ปรับขึ้นภาษีภาคธุรกิจ ส่งเสริมพลังงานสะอาด และเดินหน้าสงครามการค้ากับจีนเหมือนเดิมเพิ่มเติมคือ Tech War ขณะที่ถ้าทรัมป์ชนะเลือกตั้ง ดอลลาร์อาจกลับมาแข็งชั่วคราว เพราะคนวิ่งไปหาสินทรัพย์ปลอดภัย และสหรัฐอาจลดดอกเบี้ยแรงขึ้น ด้านนโยบายทรัมป์สนับสนุนพลังงานจากฟอสซิล ส่วนสงครามการค้า ชัดเจนมากว่าจะขึ้นภาษีจากประเทศอื่น โดยภาพรวม ปีหน้าจะได้เห็นการจบรอบของดอกเบี้ยขาลง bond yield และไม่ได้ลดลงเรื่อยๆ เมื่อถึงจุดหนึ่งจะปรับตัวขึ้นมา ต้องติดตามความผันผวนกันต่อไป
ด้านความเสี่ยงประเทศไทย เปรียบได้กับสายรุ้ง ต้องแยกดูเป็นภาคส่วน ภาคก่อสร้าง โตได้แต่ไม่เต็มที่ ภาคการผลิต ตัวชี้วัดประสิทธิภาพหลัก (KPI) ยังติดลบ การส่งออก การท่องเที่ยว เป็นบวกคาดว่านักท่องเที่ยวจะกลับมาเท่าช่วงก่อนโควิด ส่วนการใช้จ่ายการลงทุนการแจกเงินภาครัฐ ต้องติดตามผลลัพธ์ต่อไป สำนักวิจัย CIMB Thai คงคาดการณ์ GDP ปี 2024 ที่ 2.3% และ ปี 2025 ที่ 3.2% ทั้งนี้ ดร.อมรเทพ อยากฟังเสียงจากทุกคน จึงเปิดโอกาสให้ผู้ร่วมงานทำโพลล์สดๆ ผ่านการแสกน QR 'คาดว่า GDP ปี 2025 จะเท่าไหร่' เสียงส่วนใหญ่ในห้องสัมมนาตอบว่า 2.0-2.5%
วิทยากรคนถัดมา ดร.อาร์ม ตั้งนิรันดร ผู้อำนวยการศูนย์จีนศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาฯ และรองคณบดี คณะนิติศาสตร์จุฬาฯ เริ่มต้นโดยชวนทุกคนทำโพลล์ 'คาดว่าแฮริสหรือทรัมป์ชนะเลือกตั้ง' ผู้ฟัง ส่วนใหญ่เทคะแนนให้แฮริส 70% ดร.อาร์มกล่าวว่า แม้หลายโพลล์ทั้งในห้องนี้ หรือที่สหรัฐฯ จะให้คะแนนส่วนใหญ่ไปที่แฮริส แต่โพลล์สหรัฐจับไปไม่ถึงคนชนบท ซึ่งเป็นฐานเสียงของทรัมป์ เมื่อวิเคราะห์แล้ว คาดว่าทรัมป์มีโอกาสสูงที่จะกลับมา เพราะสหรัฐฯยุคไบเดน เงินเฟ้อสูง กระทบรากหญ้า และการจ้างงานในโรงงานย้ายไปจีน หากแฮริสชนะนโยบายจะไม่ต่างจากไบเดน ขณะที่ทรัมป์ชัดเจนว่าต้องการดึงการตั้งโรงงานจากประเทศต่าง ๆ กลับมาที่สหรัฐฯ เพื่อผลิตสินค้า Made in USA ช่วยสร้างงาน สร้างอาชีพให้คนรากหญ้าในชนบท
หากมี Trump 2.0 จะได้เห็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ แตกต่างจาก Trump 1.0 จะมีการพลิกโฉม เพราะต้องการยุติโลกาภิวัตน์ ซึ่งความต้องการนี้ไม่ได้มาจากทรัมป์คนเดียว แต่มาจากฐานคนที่คิดเหมือนกัน ดังนั้น หากใครมองว่า ไทยจะได้ประโยชน์จากการส่งออกไปสหรัฐฯ คงได้ไม่เต็มที่ อย่างไรก็ดี ยุคนี้เป็นยุคทองของอาเซียน คู่ค้าอันดับหนึ่งของจีนคืออาเซียนแล้ว เพราะยากที่จีนจะไปสหรัฐฯหรือยุโรป โจทย์ใหญ่คือ ไทยจะเชื่อมโยงกับอาเซียนอย่างไรเพื่อเก็บเกี่ยวประโยชน์ อีกทั้งยุคนี้เกิดความขัดแย้งทั่วโลก จำเป็นต้องกระจายความเสี่ยง ประเทศที่น่าจับตาว่าจะเป็นตลาดใหม่ที่สำคัญคือ อินเดีย อินโดนีเซีย เวียดนาม
หากมี Trump 2.0 จะได้เห็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ แตกต่างจาก Trump 1.0 จะมีการพลิกโฉม เพราะต้องการยุติโลกาภิวัตน์ ซึ่งความต้องการนี้ไม่ได้มาจากทรัมป์คนเดียว แต่มาจากฐานคนที่คิดเหมือนกัน ดังนั้น หากใครมองว่า ไทยจะได้ประโยชน์จากการส่งออกไปสหรัฐฯ คงได้ไม่เต็มที่ อย่างไรก็ดี ยุคนี้เป็นยุคทองของอาเซียน คู่ค้าอันดับหนึ่งของจีนคืออาเซียนแล้ว เพราะยากที่จีนจะไปสหรัฐฯหรือยุโรป โจทย์ใหญ่คือ ไทยจะเชื่อมโยงกับอาเซียนอย่างไรเพื่อเก็บเกี่ยวประโยชน์ อีกทั้งยุคนี้เกิดความขัดแย้งทั่วโลก จำเป็นต้องกระจายความเสี่ยง ประเทศที่น่าจับตาว่าจะเป็นตลาดใหม่ที่สำคัญคือ อินเดีย อินโดนีเซีย เวียดนาม
ปิดท้ายด้วย นัชชา เลิศหัตถศิลป์ Co-founder & CEO และ สิทธิกร นวลรอด Co-founder & Chief Product Officer บริษัท CarbonWize แพลตฟอร์มวัดผลและติดตามฟุตพริ้นท์ โดย นัชชา กระตุกมุมคิดภาคธุรกิจที่กำลังตั้งเป้า Net Zero การจะรู้ว่าถึงศูนย์ ต้องเริ่มจากตรวจวัดสุขภาพร่างกายก่อน แนวทางมีหลายระดับ เริ่มตั้งแต่ประเมินตนเองเบื้องต้นเพื่อเข้าใจบริบท, มีผู้เชี่ยวชาญเข้ามาช่วยวางแผนการเก็บข้อมูลเหมือนมีโคชส่วนตัว จากนั้นเข้าสู่ขั้นตอนการประเมินและตรวจสอบความถูกต้องแม่นยำโดยผู้ทวนสอบว่าถูกต้องตามมาตรฐาน เสริมร้างความน่าเชื่อถือให้รายงานสำปรับรายงานที่ต้องอาศัยความเป็นทางการ หรือถ้าหากต้องการรู้เฉพาะจุด สามารถเลือกบางโปรเจ็กต์ หรือบางผลิตภัณฑ์มารายงานได้ ทั้งหมดนี้ เปรียบได้กับการตรวจสุขภาพ มีคุณหมอส่งผลการตรวจ มีแผนการลด แต่สุดท้ายสิ่งที่จะชี้วัดสุขภาพความยั่งยืนของธุรกิจ คือการลงมือแก้ไขปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง เพื่อการบรรลุเป้าหมาย Zero emissions
จบด้วยข้อมูลน่าสนใจ สิทธิกร เล่าว่า Greenland Ice Sheet Project ตั้งแท่นขุดเจาะที่กรีนแลนด์ จนพบชั้นน้ำแข็งที่มีวงรอบคล้ายวงรอบต้นไม้ น้ำแข็งแต่ละชั้นสามารถบอกภูมิอากาศย้อนไปถึงล้านปี และพบว่าทุก 1 แสนปี ก๊าซคาร์บอนมีปริมาณขึ้น-ลงเป็นวัฏจักร แต่ปัจจุบัน ปริมาณคาร์บอนพุ่งทะยานสูงอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้น 8 แสนปีก่อน โลกจึงกำลังจับตาว่าการพุ่งสูงครั้งนี้ของคาร์บอนเมื่อถึงเวลาขาลงจะลดลงมากระดับใด และจะกระทบภูมิอากาศอย่างไร
ที่มา: ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย