ศูนย์นครธน กิฟท์ เฟอร์ทิลิตี้ โชว์นวัตกรรมการเลี้ยงตัวอ่อนด้วยระบบ AI ติดตามพัฒนาการตลอด 24 ชั่วโมง เพิ่มโอกาสคนอยากมีลูก

อังคาร ๑๕ ตุลาคม ๒๕๖๗ ๑๖:๕๔
ในช่วงไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมา การรักษาภาวะมีบุตรยากได้มีพัฒนาการไปอย่างมาก โดยเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับ การเลี้ยงตัวอ่อน (Embryo Incubation) มีบทบาทสำคัญในการเพิ่มโอกาสความสำเร็จในการตั้งครรภ์สำหรับคู่สมรสที่มีบุตรยาก โดยพัฒนา เครื่องเลี้ยงตัวอ่อน หรือ Embryo Incubator เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความแม่นยำในการเลี้ยงดูตัวอ่อนซึ่งเป็นช่วงเวลาที่สำคัญที่สุดหลังการปฏิสนธิ ถามว่า ทำไมเครื่องเลี้ยงตัวอ่อนถึงสำคัญ?
ศูนย์นครธน กิฟท์ เฟอร์ทิลิตี้ โชว์นวัตกรรมการเลี้ยงตัวอ่อนด้วยระบบ AI ติดตามพัฒนาการตลอด 24 ชั่วโมง เพิ่มโอกาสคนอยากมีลูก

นพ.องอาจ บวรสกุลวงศ์ สูตินรีแพทย์ เฉพาะทางด้านเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์ เผยว่า เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์อาจทำได้หลายวิธี โดยหนึ่งในวิธีที่เป็นที่นิยม คือ การทำเด็กหลอดแก้ว (IVF/ICSI) ซึ่งคือ การปฏิสนธิของเซลล์ไข่ภายนอกร่างกายเพื่อช่วยให้เกิดการตั้งครรภ์ ด้วยการฉีดอสุจิเข้าไปในเซลล์ไข่โดยตรงเพื่อเพิ่มโอกาสการปฏิสนธิ จากนั้นตัวอ่อนจะต้องถูกเลี้ยงภายนอกร่างกาย โดยอยู่ในห้องปฏิบัติการก่อนที่จะถูกฝังเข้าสู่โพรงมดลูก ขั้นตอนในการเลี้ยงตัวอ่อนมีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะการพัฒนาของตัวอ่อนในช่วงแรก ต้องถูกควบคุมให้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต เพราะตัวอ่อนมีความไวต่อการเปลี่ยนแปลงทางอุณหภูมิ และแสง ซึ่งเครื่องเลี้ยงตัวอ่อนทำหน้าที่จำลองสภาพแวดล้อมให้เสมือนมดลูก โดยควบคุมปัจจัยต่าง ๆ ให้ตัวอ่อนสามารถพัฒนาตัวเองได้อย่างสมบูรณ์ จากนั้นจะคัดตัวอ่อนที่แข็งแรงเพื่อย้ายกลับเข้าสู่โพรงมดลูก และหลังจากใส่ตัวอ่อนไปแล้ว 9-11 วัน แพทย์จะนัดเจาะเลือดตรวจหาระดับฮอร์โมนการตั้งครรภ์เป็นลำดับต่อไป การทำ ICSI นับเป็นเทคโนโลยีทางการแพทย์ขั้นสูงอีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยคู่สมรสที่มีภาวะมีบุตรยากให้สามารถมีบุตรได้

คุณพงษ์เพชร เบญจพลวัฒนา นักวิทยาศาสตร์ ประจำศูนย์นครธน กิฟท์ เฟอร์ทิลิตี้ เผยว่า ปัจจุบันนวัตกรรมในการเลี้ยงตัวอ่อนได้ก้าวหน้าไปอย่างมาก ซึ่งเทคโนโลยีเครื่องเลี้ยงตัวอ่อนนี้มีฟังก์ชันที่ช่วยให้นักวิทยาศาสตร์สามารถตรวจสอบการเจริญเติบโตของตัวอ่อนได้อย่างต่อเนื่อง ด้วยการใช้กล้องและระบบ AI ในการติดตามผล

  1. การติดตามการเจริญเติบโตของตัวอ่อนด้วย Time-Lapse Monitoring เป็นหนึ่งในเทคโนโลยีที่น่าทึ่ง ซึ่งทำให้นักวิทยาศาสตร์สามารถดูพัฒนาการของตัวอ่อนได้ตลอด 24 ชั่วโมง พร้อมทั้งบันทึกภาพการเจริญเติบโตในทุกช่วงเวลา ทำให้แพทย์สามารถเลือกตัวอ่อนที่มีคุณภาพดีที่สุดได้ โดยไม่จำเป็นต้องนำจานเพาะตัวอ่อนออกจากเครื่องเลี้ยง เพราะทุกครั้งที่มีการนำตัวอ่อนออกมาจากเครื่องเลี้ยงที่ถูกควบคุมสภาพแวดล้อมไว้อย่างเคร่งครัด จะทำให้ตัวอ่อนต้องเผชิญกับความเสี่ยงในการถูกทำลายหรือหยุดพัฒนา Time-Lapse Monitoring จึงสามารถช่วยลดความเสี่ยงนี้ได้
  2. การควบคุมสภาวะแวดล้อมด้วย EmbryoScope Plus ทำให้เครื่องเลี้ยงตัวอ่อนในปัจจุบันมีระบบที่สามารถควบคุมอุณหภูมิและระดับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) และออกซิเจน (O2) ได้อย่างแม่นยำ เพื่อจำลองสภาพแวดล้อมให้คล้ายกับอยู่ภายในมดลูกที่เหมาะสมสำหรับการเจริญเติบโตของตัวอ่อน ทำให้ตัวอ่อนพัฒนาได้ในสภาวะที่ใกล้เคียงกับธรรมชาติที่สุด
  3. มีการใช้ AI ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ในเครื่องที่สามารถวิเคราะห์พัฒนาการของตัวอ่อนโดยอัตโนมัติ จาก Time-Lapse Monitoring และให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับระยะเวลาและขั้นตอนการพัฒนาตัวอ่อน ซึ่งจะให้คะแนนตัวอ่อนแต่ละตัวตามพัฒนาการในแต่ละขั้นตอน ช่วยให้แพทย์สามารถเลือกตัวอ่อนที่มีความสมบูรณ์เพื่อเพิ่มโอกาสสำเร็จในการฝังตัวและตั้งครรภ์สูงสุดได้อย่างแม่นยำมากขึ้น ทั้งนี้ยังสามารถนำเซลล์ของตัวอ่อนไปตรวจโครโมโซมก่อนใส่กลับเข้าไปในโพรงมดลูก

นพ.องอาจ เสริมว่า โดยการพัฒนาของเครื่องเลี้ยงตัวอ่อนนี้ สามารถควบคุมสภาพแวดล้อมได้อย่างเหมาะสม จะทำให้ได้จำนวนตัวอ่อนที่มีคุณภาพสูงในปริมาณที่มากขึ้น และตัวอ่อนสามารถเจริญเติบโตได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งส่งผลดีสำหรับผู้รับบริการในกระบวนการทำ ICSI ซึ่งคือ โอกาสความสำเร็จที่สูงขึ้น

ถามว่าเมื่อไหร่ควรไปพบแพทย์? นพ.องอาจ กล่าวว่า แบ่งได้ 2 กลุ่ม กลุ่มแรกคือคู่ที่มีอายุต่ำกว่า 35 ปี พยายามมีลูกมาเป็นเวลานานกว่า 12 เดือน และกลุ่มที่สองคือคู่ที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป พยายามมีลูกมาเป็นเวลานานกว่า 6 เดือน แต่ยังไม่ประสบความสำเร็จ ควรไปปรึกษาแพทย์เฉพาะทางด้านเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์ เพื่อตรวจหาสาเหตุที่ทำให้ไม่สามารถตั้งครรภ์ได้สำเร็จ และรับการวินิจฉัยเพื่อวางแผนการรักษาที่เหมาะสมได้ เพราะการรอคอยที่นานเกินไป อาจยิ่งลดโอกาสในการรักษาให้ประสบความสำเร็จ ดังนั้น การพบแพทย์ตั้งแต่เนิ่น ๆ จะช่วยให้คุณได้รับการดูแลอย่างถูกต้องและทันเวลา

ศูนย์นครธน กิฟท์ เฟอร์ทิลิตี้ พร้อมให้บริการรักษาภาวะผู้มีบุตรยาก โดยมี

  1. ความเชี่ยวชาญของทีมแพทย์ และทีมสหสาขาวิชาชีพ ได้แก่ นักวิทยาศาสตร์ พยาบาลวิชาชีพ และนักโภชนาการที่ช่วยดูแลอย่างครอบคลุม
  2. เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการแพทย์ โดยมี เครื่องเลี้ยงตัวอ่อน และ การตรวจน้ำเชื้อด้วย AI ที่ช่วยวิเคราะห์คุณภาพตัวอ่อนและน้ำเชื้อ ซึ่งจะช่วยเพิ่มโอกาสในการมีบุตรได้สูงขึ้น
  3. การดูแลตั้งแต่ก่อนและหลังการให้บริการ ตั้งแต่การวินิจฉัย, การดูแลก่อนและหลังการรักษา รวมถึงการให้คำปรึกษาทางด้านจิตใจเพื่อช่วยลดความกังวลและความเครียดในกระบวนการทำเด็กหลอดแก้ว สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม 02 450 9999

ที่มา: พีอาร์ มงกุฎเพชร

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๒ พ.ย. รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๒๒ พ.ย. ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๒๒ พ.ย. Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๒๒ พ.ย. ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๒๒ พ.ย. โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๒๒ พ.ย. กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๒๒ พ.ย. สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๒๒ พ.ย. 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๒๒ พ.ย. โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๒๒ พ.ย. electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version