นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี ประธานคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนนโยบาย 1 ครอบครัว 1 ซอฟต์พาวเวอร์ (OFOS) กล่าวว่า โครงการนี้มุ่งเน้นการสร้างแรงงานที่มีทักษะสูง เพื่อเพิ่มโอกาสในการสร้างรายได้และยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนทั่วประเทศ อีกทั้งยังมีเป้าหมายในการลดความเหลื่อมล้ำในสังคมไทย ผ่านการพัฒนาทักษะด้านการผลิตสื่อภาพยนตร์ โครงการนี้ประกอบด้วยกิจกรรมต่าง ๆ ที่เน้นการเรียนรู้และพัฒนาทักษะการเล่าเรื่องและการผลิตภาพยนตร์สำหรับผู้เข้าร่วมทุกระดับ โดยมุ่งสร้างบุคลากรรุ่นใหม่ที่มีความรู้ความสามารถ นอกจากนี้หลักสูตรยังครอบคลุมมากกว่าความรู้พื้นฐาน เพราะมีการเชิญผู้เชี่ยวชาญระดับโลกมาเป็นวิทยากรอบรมเพิ่มพูนทักษะอีกด้วย
ศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัชร อธิการบดีจุฬาฯ ได้แสดงมุมมองที่น่าสนใจแก่ผู้เข้าร่วมโครงการว่า สำหรับผู้ที่ได้เข้าร่วมหลักสูตรนี้ไม่เพียงจะได้ทักษะด้านภาพยนตร์เท่านั้น แต่ยังมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ โดยเฉพาะด้านซอฟต์พาวเวอร์ซึ่งถือเป็นเครื่องมือที่ดึงดูดความสนใจจากต่างชาติและสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับประเทศไทย ซึ่งสิ่งสำคัญคือควรมีการสร้างแบรนด์และนำเสนอตัวตนของตนเอง ทำให้ซอฟต์พาวเวอร์ของไทยมีเอกลักษณ์ที่ไม่เหมือนใคร โครงการนี้จึงออกแบบมาเพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้แก่เยาวชน โดยมุ่งหวังว่าในอนาคตพวกเขาอาจเติบโตขึ้นเป็นผู้กำกับภาพยนตร์ที่มีความสามารถภายใต้การสนับสนุนและชี้แนะแนวทางจากผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์จากโครงการนี้
กิจกรรมต่างๆ ในโครงการมีดังนี้
หลักสูตรต้นแบบที่ได้รับรองจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 5 หลักสูตร ประกอบด้วย
- หลักสูตรต้นแบบวิชาการกำกับการแสดงเบื้องต้น 101/2567 (Basic Acting Direction 101/2024 : Prototype Curriculum)
- หลักสูตรต้นแบบการวิชาสื่อสารวิสัยทัศน์เบื้องต้น 101/2567 (Basic Visualization for Director 101/2024 : Prototype Curriculum)
- หลักสูตรต้นแบบวิชาการเบรคดาวน์และจัดตารางการถ่ายทำ ปรับปรุง 2567 (Breakdown and Scheduling (Update 2024) : Prototype Curriculum)
- หลักสูตรต้นแบบการวางแผนและบริหารงบประมาณการผลิต ปรับปรุง 2567 (Movie Production Budgeting (Update 2024) : Prototype Curriculum)
- หลักสูตรต้นแบบการจัดองค์ประกอบภาพและมุมกล้องที่สื่อความหมายเบื้องต้น 101/2567 (Basic Cinematography Directing 101/2024 : Prototype Curriculum )
VDO Course Online ที่จัดทำโดยสมาคมผู้กำกับภาพยนตร์ไทย 5 คอร์ส
- การกำกับการแสดงเบื้องต้น 101/2567 (Basic Acting Direction 101/2024)
- การสื่อสารวิสัยทัศน์เบื้องต้น 101/2567 (Basic Visualization for Director 101/2024)
- การเบรคดาวน์และจัดตารางการถ่ายทำ ปรับปรุง 2567 (Breakdown and Scheduling Update 2024)
- การวางแผนและบริหารงบประมาณการผลิต ปรับปรุง 2567 (Movie Production Budgeting Update 2024)
- การจัดองค์ประกอบภาพและมุมกล้องที่สื่อความหมายเบื้องต้น 101/2567 (Basic Cinematography Directing 101/2024 )
กิจกรรมเสวนาและอบรมของสมาคมผู้กำกับภาพยนตร์ไทย 2 รายการ
- 10 Slides of Mistakes (อบรมการกำกับการแสดงประจำปี 2567)
- CENTER OF THE STORMS (อบรมการวางแผนการถ่ายทำ 2567)
กิจกรรมเสวนาของสมาคมนักเขียนบทละครโทรทัศน์ 7 รายการ
- นักเขียนบทสู่นักเขียนเอไอ
- นักเขียนบทสู่โชว์รันเนอร์
- นักเขียนบทสู่นักเขียนนิยาย
- นักเขียนบทสู่นักเขียนออนไลน์
- นักเขียนบทสู่ WEBTOON CREATOR
- นักเขียนบทสู่นักเขียนวาย
- นักเขียนบทสู่ตลาดโลก
กิจกรรมค่ายของคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 4 ค่าย
- Nitade X3 Film Camp Bangkok (ค่ายค้นพบตัวตน ผ่านเลนส์ภาพยนตร์ กรุงเทพฯ)
- Nitade X3 Film Camp Khon Kaen (ค่ายค้นพบตัวตน ผ่านเลนส์ภาพยนตร์ ขอนแก่น)
- Nitade CommXpert (สื่อสารเป็น เห็นผล ในทุกวิชาชีพ)
- Chiangmai Fantastic Film Lab (โครงการอบรมและประกวดการสร้างหนังแนว Fantastic Films)
ทุกกิจกรรมเปิดให้เข้าร่วมฟรี ไม่เสียค่าใช้จ่าย
ผู้ที่สนใจสามารถติดตามข้อมูลข่าวสารและการเปิดรับสมัครเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ได้ที่ https://www.facebook.com/commartschulaofficial/
ที่มา: ศูนย์สื่อสารองค์กร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย