"เอกนัฏ" ล่องใต้ ลงพื้นที่สุราษฎร์ฯ! มอบนโยบาย "ปฏิรูปอุตสาหกรรม" สั่งการ "ดีพร้อม" ดึงลงทุนต่างชาติ ขับเคลื่อน SMEs ภาคใต้สู่ความยั่งยืนด้วย BCG

จันทร์ ๒๑ ตุลาคม ๒๕๖๗ ๑๖:๓๖
นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม หลังลงพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี เพื่อมอบนโยบายและรับฟังข้อเสนอแนะจากหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนในพื้นที่ 7 จังหวัด (ชุมพร ระนอง สุราษฎร์ธานี พังงา ภูเก็ต กระบี่ และนครศรีธรรมราช) ณ ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 10 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม (DIPROM) พร้อมรับฟังความคิดเห็นจากหน่วยงานภาคเอกชน และมอบนโยบาย "ปฏิรูปอุตสาหกรรม" ส่งเสริมเศรษฐกิจท้องถิ่น เน้นพัฒนาธุรกิจด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลและความยั่งยืน ชี้โอกาสการลงทุนจากความได้เปรียบด้านภูมิรัฐศาสตร์ พร้อมรับฟังความคิดเห็นจากภาคเอกชนเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาผังเมืองและมาตรฐานอุตสาหกรรม เพื่อนำไปสู่การสร้างความเข้มแข็งในเศรษฐกิจท้องถิ่นและการพัฒนาผู้ประกอบการสู่เวทีโลก
เอกนัฏ ล่องใต้ ลงพื้นที่สุราษฎร์ฯ! มอบนโยบาย ปฏิรูปอุตสาหกรรม สั่งการ ดีพร้อม ดึงลงทุนต่างชาติ ขับเคลื่อน SMEs ภาคใต้สู่ความยั่งยืนด้วย BCG

นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ภายหลังการลงพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2567 เพื่อมอบนโยบายและรับฟังข้อเสนอแนะจากหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน ตามนโยบาย "การปฏิรูปอุตสาหกรรม สู่เศรษฐกิจยุคใหม่"เร่งการสร้างความเท่าเทียมในการแข่งขันของ SME ไทย" โดย "Save อุตสาหกรรมไทย" ซึ่งมีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ "การสร้างอุตสาหกรรมเศรษฐกิจใหม่ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม" เพื่อผลักดันให้ประเทศไทยเป็นจุดหมายปลายทางการลงทุนที่น่าสนใจสำหรับนักลงทุนต่างชาติในช่วงที่โลกกำลังเผชิญกับความผันผวนทางเศรษฐกิจและสงคราม โดยประเทศไทยมีข้อได้เปรียบอย่างมากด้านภูมิรัฐศาสตร์และภูมิอากาศ ซึ่งเป็นปัจจัยที่สำคัญในการดึงดูดนักลงทุนต่างชาติในช่วงเวลาที่หลายประเทศต้องเผชิญกับวิกฤตเศรษฐกิจและความไม่แน่นอนจากสถานการณ์โลก กระทรวงอุตสาหกรรมได้กำหนดแนวทางชัดเจนในการใช้ข้อได้เปรียบเหล่านี้เพื่อสร้างโอกาสให้กับการลงทุนในภาคอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจท้องถิ่น โดยเฉพาะการพัฒนาธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ซึ่งเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ

นายเอกนัฏ กล่าวเพิ่มเติมว่า จากการประชุมดังกล่าวตัวแทนภาคเอกชนได้นำเสนอประเด็นปัญหาของจังหวัดสุราษฎร์ธานี อาทิ ปัญหาผังเมือง การขับเคลื่อน Climate Change แผนจัดการแรงงานที่เข้ามาทำงานและอยู่อาศัยในพื้นที่ รวมถึงกลยุทธ์ที่ชัดเจนในการพัฒนาอุตสาหกรรมที่มีจุดแข็งจากการเกษตรและการท่องเที่ยวได้อย่างมีประสิทธิภาพในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ พร้อมมุ่งเน้นการพัฒนาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวที่สอดคล้องกับการรักษาสิ่งแวดล้อมก็จะเป็นส่วนสำคัญในการสร้างเศรษฐกิจของพื้นที่ การส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการในท้องถิ่น โดยการสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนผ่านการส่งเสริมการสร้างเครือข่าย การพัฒนาองค์ความรู้ และการฝึกอบรม เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถปรับตัว พัฒนาธุรกิจ และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันได้อย่าง และแผนการจัดโครงการพัฒนาผู้ประกอบการธุรกิจอุตสาหกรรมดีพร้อม หรือ คพอ.ดีพร้อม ในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี ในปี 2568 ซึ่งจะเป็นโอกาสสำคัญในการแสดงพลัง และศักยภาพของผู้ประกอบการท้องถิ่น รวมถึงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และสร้างเครือข่ายความร่วมมือ เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากของจังหวัดสุราษฎร์ธานีให้เติบโตอย่างเข้มแข็งต่อไป

"หนึ่งในนโยบายสำคัญที่กระทรวงอุตสาหกรรมให้ความสำคัญ คือ การปฏิรูปและพัฒนาธุรกิจ SMEs ให้มีความยั่งยืน พร้อมมอบหมายให้กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม (DIPROM) นำเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้ในกระบวนการผลิตและการบริหารจัดการ การส่งเสริมการให้ SMEs ของไทยมีความสามารถในการแข่งขันมากขึ้นในระดับสากล ซึ่งเป็นสิ่งที่กระทรวงฯ มุ่งมั่นผลักดันให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม นอกจากนี้ การใช้โมเดล BCG ในภาคอุตสาหกรรมเกษตรเป็นหนึ่งในแนวทางหลักในการยกระดับศักยภาพการผลิตของไทยให้สามารถแข่งขันได้ในระดับสากล ขณะเดียวกันยังช่วยส่งเสริมการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะทำให้ธุรกิจ SMEs ของเราสามารถปรับตัวและเติบโตได้อย่างยั่งยืน" นายเอกนัฏ กล่าว

ทั้งนี้ กระทรวงอุตสาหกรรมยังได้เสนอจัดตั้ง กองทุนเพื่อสนับสนุนธุรกิจ SMEs ในการปรับตัวเข้าสู่เศรษฐกิจใหม่ โดยเฉพาะในด้านการพัฒนาเศรษฐกิจที่ยั่งยืนผ่าน โมเดลเศรษฐกิจ BCG (Bio-Circular-Green Economy) ซึ่งเน้นการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ การหมุนเวียนวัตถุดิบ และการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โมเดลนี้ประสบความสำเร็จอย่างมากในอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาล โดยมีการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมเข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตและแปรรูป ซึ่งทำให้อุตสาหกรรมนี้สามารถเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าเกษตรและขยายตลาดได้ทั้งในประเทศและต่างประเทศ นอกจากนี้ ยังมีแผนการขยายผลโมเดล BCG สู่ อุตสาหกรรมปาล์มน้ำมัน และพืชเศรษฐกิจอื่น ๆ ที่มีศักยภาพเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของตลาดที่มุ่งเน้นการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและยั่งยืนในระยะยาว ถือเป็นการสร้างรากฐานที่แข็งแกร่งให้กับเศรษฐกิจท้องถิ่นและ SMEs ของไทย เพื่อตอบสนองต่อความท้าทายในยุคปัจจุบันและอนาคต และเพื่อให้ประเทศไทยก้าวสู่การเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมที่เน้นความยั่งยืนและนวัตกรรมอย่างแท้จริง นายเอกนัฏ กล่าวทิ้งท้าย

ที่มา: โมเดิร์นเทียร์

เอกนัฏ ล่องใต้ ลงพื้นที่สุราษฎร์ฯ! มอบนโยบาย ปฏิรูปอุตสาหกรรม สั่งการ ดีพร้อม ดึงลงทุนต่างชาติ ขับเคลื่อน SMEs ภาคใต้สู่ความยั่งยืนด้วย BCG

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๐ ธ.ค. ASMT ผนึก TFT ร่วมลงนามด้านวิชาการด้านอุตสาหกรรมการบิน
๒๐ ธ.ค. กรมวิชาการเกษตร เดินหน้า ถ่ายทอดองค์ความรู้การผลิตอะโวคาโดคุณภาพ สร้างรายได้เพิ่มให้เกษตรกรกว่า 2 แสนบาท/ไร่
๒๐ ธ.ค. Dow มุ่งพัฒนาประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์ Personal Care ควบคู่ความยั่งยืน ตอบโจทย์ผู้บริโภคตลาดเครื่องสำอางในภูมิภาคเอเชีย
๒๐ ธ.ค. โอซีซี มอบความรู้ พัฒนาอาชีพให้ผู้ต้องขังหญิง
๒๐ ธ.ค. ดร.นุชนารถ ชลคงคา นำทีมสถาบัน ESTC จัดอบรมให้ Karmakamet
๒๐ ธ.ค. กนภ. เห็นชอบร่าง พรบ. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กลไกสำคัญสู่เส้นทางเศรษกิจคาร์บอนต่ำ และมีภูมิคุ้มกันฯ
๒๐ ธ.ค. WePlay x คอลแลบตัวละครสุดปัง! พบกับมินิเกมใหม่ และการ์ตูนสุดน่ารักที่คุณจะต้องหลงรัก
๒๐ ธ.ค. เดลต้า ประเทศไทย และ WEnergy Global ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงเพื่อขับเคลื่อนอนาคตพลังงานสีเขียว
๒๐ ธ.ค. ความภาคภูมิใจของ ไลอ้อน กับ 3 รางวัลแห่งเกียรติยศ เผยผลงานโดดเด่นกับหลายรางวัลที่ได้รับในปี 2567
๒๐ ธ.ค. NOBLE คว้าเรทติ้งสูงสุด ระดับ AAA SET ESG Ratings ประจำปี 2567 ยกระดับองค์กรสู่ความยั่งยืนภายในแนวคิด Live Different ตามกรอบ