วว. ผนึกกำลัง 25 หน่วยงาน ขับเคลื่อนการบริหารดัชนีสมรรถนะสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย

อังคาร ๒๒ ตุลาคม ๒๕๖๗ ๐๙:๔๐
ดร.ประทีป วงศ์บัณฑิต รองผู้ว่าการวิจัยและพัฒนาด้านพัฒนาอย่างยั่งยืน สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) พร้อมด้วย นายเฉลิมชัย จีระพันธุ์ ผู้อำนวยการ ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมพลังงานสะอาดและสิ่งแวดล้อม วว. เข้าร่วมพิธีลงนามในบันทึกความเข้าใจการบูรณาการข้อมูลเพื่อสร้างเครือข่ายการบริหารดัชนีสมรรถนะสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย ระหว่าง 25 หน่วยงาน โดยมี นายประเสริฐ ศิรินภาพร เลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นประธานในพิธีฯ และกล่าวต้อนรับ โดยการลงนามฯ ดังกล่าว มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการแสดงเจตนารมณการประสานความร่วมมือฯ มุ่งไปสู่การยกระดับค่าคะแนนดัชนีสมรรถนะสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย ให้บรรลุตามที่ปรากฏในแผนแม่บทย่อย ภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็น 18 การเติบโตอย่างยั่งยืน ตัวชี้วัด "ดัชนีสมรรถนะสิ่งแวดล้อม" (Environment Performance Index : EPI) ในวันจันทร์ที่ 21 ตุลาคม 2567 ณ โรงแรมอมารี กรุงเทพฯ
วว. ผนึกกำลัง 25 หน่วยงาน ขับเคลื่อนการบริหารดัชนีสมรรถนะสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย

โอกาสนี้ รองผู้ว่าการวิจัยและพัฒนาด้านพัฒนาอย่างยั่งยืน วว. ได้กล่าววิสัยทัศน์เพื่อร่วมขับเคลื่อนการบริหารดัชนีสมรรถนะสิ่งแวดล้อมของประเทศไทยว่า วว. เป็นรัฐวิสาหกิจสังกัดกระทรวง อว. มีปณิธานที่มุ่งมั่นในการนำองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (วทน.) เสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่เศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ให้สามารถเติบโตอย่างมั่นคง ท่ามกลางความผันแปรที่ท้าทายรอบด้าน วว. ขอเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายการบริหารจัดการดัชนีสมรรถนะของประเทศ ทั้งทางด้านข้อมูลของพื้นที่ป่าสงวนชีวมณฑลสะแกราช อ.วังน้ำเขียว จ.นครราชสีมา ที่ วว. ดูแล และการดำเนินงานที่เกี่ยวข้อง อันจะนำไปสู่การวิเคราะห์ถึงประสิทธิผล ประเด็นปัญหาเร่งด่วน ตลอดจนการใช้ประโยชน์ด้านการกำหนดนโยบายสิ่งแวดล้อม เพื่อการเติบโตของประเทศอย่างยั่งยืน

อนึ่ง พื้นที่ป่าสงวนชีวมณฑลสะแกราช อ.วังน้ำเขียว จ.นครราชสีมา มีเนื้อที่ประมาณ 78 ตารางกิโลเมตร (48,750 ไร่) เป็นสถานที่เพื่อการวิจัยทางด้านสิ่งแวดล้อมและนิเวศวิทยาป่าเขตร้อน มีนักวิจัยทั้งภายในประเทศและต่างประเทศเข้ามาศึกษาวิจัยอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันมีงานวิจัยในพื้นที่ไม่น้อยกว่า 920 เรื่อง ส่งผลให้สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราชมีองค์ความรู้จากการวิจัยและได้สร้างสรรค์ภูมิปัญญาให้แก่นักวิชาการทั้งในและต่างประเทศ อีกทั้งยังเป็นห้องปฏิบัติการธรรมชาติ สำหรับนักเรียน นักศึกษา เพื่อการศึกษาและวิจัยทางธรรมชาติ และความหลากหลายทางชีวภาพ เป็นต้น

โดย วว. ได้รับการสนับสนุนทุนจาก สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ดำเนิน โครงการฐานข้อมูลพื้นที่สงวนชีวมณฑลสะแกราชเพื่อการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน ในปี พ.ศ. 2565 และโครงการพัฒนาพื้นที่ป่าสงวนสะแกราช รองรับสภาวะการเปลี่ยนแปลงเพื่อความยั่งยืนทรัพยากรธรรมชาติ ในปี พ.ศ. 2564 โดยมี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี เป็นพันธมิตรร่วมดำเนินงาน ประสบผลสำเร็จในการจัดทำ ฐานข้อมูลมวลชีวภาพการกักเก็บคาร์บอนและการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ในระบบนิเวศป่าไม้ เพื่อเป็นข้อมูลในการจัดการพื้นที่ป่า รองรับต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และมีการเพิ่มพื้นที่ป่าในพื้นที่สงวนชีวมณฑลสะแกราช ภายใต้โครงการพัฒนาพื้นที่ป่าสงวนสะแกราชฯ ประกอบด้วย (1) กิจกรรมการปลูกป่า 50 ไร่ มีปริมาณการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ เท่ากับ 58.450 ตัน/ปี (2) แปลงสาธิต สำหรับการฟื้นฟูป่าเสื่อมโทรม เนื้อที่ 15 ไร่ มีปริมาณการดูดซับคาร์บอนฯ เท่ากับ 17.535 ตัน/ปี และ (3) แปลงสาธิตการเพิ่มพื้นที่ป่าโดยการปลูกไม้วงศ์ยางผสมเชื้อเห็ด เนื้อที่ 30 ไร่ มีปริมาณการดูดซับคาร์บอนฯ เท่ากับ 35.070 ตัน/ปี เมื่อคิดเป็นเนื้อที่จากการเพิ่มป่าทั้งหมด 95 ไร่ พบว่ามีปริมาณการดูดซับคาร์บอนฯ เท่ากับ 111.055 ตัน/ปี และในอีก 5 ปีข้างหน้า จะสามารถดูดซับ คาร์บอนฯ เท่ากับ 210.045 ตัน/ปี โดยดำเนินการในการติดตามอัตราการรอด การเจริญเติบโตของกล้าไม้ และประเมินศักยภาพของการดูดซับคาร์บอนฯ ทุกปี

ที่มา: สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย

วว. ผนึกกำลัง 25 หน่วยงาน ขับเคลื่อนการบริหารดัชนีสมรรถนะสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๐ ธ.ค. ASMT ผนึก TFT ร่วมลงนามด้านวิชาการด้านอุตสาหกรรมการบิน
๒๐ ธ.ค. กรมวิชาการเกษตร เดินหน้า ถ่ายทอดองค์ความรู้การผลิตอะโวคาโดคุณภาพ สร้างรายได้เพิ่มให้เกษตรกรกว่า 2 แสนบาท/ไร่
๒๐ ธ.ค. Dow มุ่งพัฒนาประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์ Personal Care ควบคู่ความยั่งยืน ตอบโจทย์ผู้บริโภคตลาดเครื่องสำอางในภูมิภาคเอเชีย
๒๐ ธ.ค. โอซีซี มอบความรู้ พัฒนาอาชีพให้ผู้ต้องขังหญิง
๒๐ ธ.ค. ดร.นุชนารถ ชลคงคา นำทีมสถาบัน ESTC จัดอบรมให้ Karmakamet
๒๐ ธ.ค. กนภ. เห็นชอบร่าง พรบ. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กลไกสำคัญสู่เส้นทางเศรษกิจคาร์บอนต่ำ และมีภูมิคุ้มกันฯ
๒๐ ธ.ค. WePlay x คอลแลบตัวละครสุดปัง! พบกับมินิเกมใหม่ และการ์ตูนสุดน่ารักที่คุณจะต้องหลงรัก
๒๐ ธ.ค. เดลต้า ประเทศไทย และ WEnergy Global ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงเพื่อขับเคลื่อนอนาคตพลังงานสีเขียว
๒๐ ธ.ค. ความภาคภูมิใจของ ไลอ้อน กับ 3 รางวัลแห่งเกียรติยศ เผยผลงานโดดเด่นกับหลายรางวัลที่ได้รับในปี 2567
๒๐ ธ.ค. NOBLE คว้าเรทติ้งสูงสุด ระดับ AAA SET ESG Ratings ประจำปี 2567 ยกระดับองค์กรสู่ความยั่งยืนภายในแนวคิด Live Different ตามกรอบ