CyberGenics Summit 2024 ตอกย้ำ Zero Trust และ AI Trust แนวทางรับมือภัยไซเบอร์ยุค AI ตัวช่วยเสริมเกราะของความปลอดภัยทางไซเบอร์แห่งอนาคต

ศุกร์ ๒๕ ตุลาคม ๒๕๖๗ ๐๘:๔๔
ในยุคที่เทคโนโลยีก้าวหน้าอย่างไม่หยุดนิ่งและภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่มีความซับซ้อนมากขึ้น ธุรกิจองค์กรต่างๆ จำเป็นต้องปรับตัวและก้าวตามให้ทันกับสถานการณ์ บริษัท ไซเบอร์จีนิคส์ จำกัด ผู้นำด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ในเครือ บริษัท จีเอเบิล จำกัด (มหาชน) จึงได้จัดงาน CyberGenics Summit 2024 ภายใต้ธีม "Zero Trust in the Age of AI: สร้างอนาคตที่มั่นคงและชาญฉลาด" ขึ้นเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2024 ณ โรงแรม Hyatt Regency Bangkok Sukhumvit เพื่อเสริมเกราะป้องกันให้สอดรับกับภูมิทัศน์ด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่นับวันจะทวีความท้าทายมากยิ่งขึ้น พร้อมตอกย้ำแนวคิด Zero Trust และ AI Trust ที่เป็นกุญแจสำคัญในการสร้างความมั่นคงและการเติบโตอย่างยั่งยืนสำหรับองค์กรในยุคดิจิทัล โดยภายในงานมีผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีและความปลอดภัยจากทั่วทุกมุมโลกมาร่วมแบ่งปันความรู้และนวัตกรรมใหม่ๆ ที่ช่วยขับเคลื่อนความปลอดภัยทางไซเบอร์ในยุคดิจิทัล
CyberGenics Summit 2024 ตอกย้ำ Zero Trust และ AI Trust แนวทางรับมือภัยไซเบอร์ยุค AI ตัวช่วยเสริมเกราะของความปลอดภัยทางไซเบอร์แห่งอนาคต

นายอัตพล พยัคฆ์ ประธานเจ้าหน้าที่ด้านเทคโนโลยี บริษัท ไซเบอร์จีนิคส์ จำกัด ได้เผยถึงวิสัยทัศน์ว่า "ไซเบอร์จีนิคส์ พร้อมแล้วที่จะมุ่งสู่การเป็นบริษัทผู้นำและผู้เชี่ยวชาญด้าน Cybersecurity Platforms ชั้นนำโดยมุ่งเน้นสนับสนุนให้ธุรกิจเติบโตในสภาพแวดล้อมดิจิทัลที่ปลอดภัยผ่านการให้บริการด้านความปลอดภัยแบบครบวงจรด้วยนวัตกรรมล้ำสมัยมาตรฐานระดับโลก และตอบสนองต่อภูมิทัศน์ของภัยคุกคามที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างต่อเนื่อง ผ่านความร่วมมือกับบริษัทที่ปรึกษาด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ เพื่อให้บริการที่ปรึกษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ และบริการตามข้อกำหนด PDPA เพื่อครอบคลุมเรื่อง Data Governance และ AI Governance

ด้วยเล็งเห็นถึงความท้าทายที่ธุรกิจองค์กรจะต้องเผชิญในปี 2025 ดังนี้

  1. การขาดแคลนบุคลากรที่มีทักษะ องค์กรหลายแห่งประสบปัญหาขาดแคลนบุคลากรที่มีความรู้และทักษะด้านไซเบอร์ ทำให้ไม่สามารถจัดการกับภัยคุกคามได้อย่างมีประสิทธิภาพ การฝึกอบรมและพัฒนาทักษะบุคลากรจึงเป็นเรื่องสำคัญ
  2. ระบบที่ล้าสมัย การใช้ระบบเทคโนโลยีที่ไม่มีการอัปเดตจะทำให้เกิดช่องโหว่ในการรักษาความปลอดภัย จึงควรปรับปรุงระบบให้ทันสมัยเพื่อป้องกันการโจมตีอยู่เสมอ
  3. ความซับซ้อนของการโจมตี ผู้โจมตีมีเทคนิคที่ซับซ้อนมากขึ้น เช่น การโจมตีแบบผสมผสานระหว่างออนไลน์และออฟไลน์ รวมถึงใช้ข้อมูลจากอุปกรณ์อัจฉริยะเพื่อปรับแต่งการโจมตี องค์กรจึงต้องสามารถวิเคราะห์สถานการณ์และตอบสนองต่อภัยคุกคามได้อย่างรวดเร็ว
  4. ความเสี่ยงจากห่วงโซ่อุปทาน การโจมตีผ่านห่วงโซ่อุปทานเป็นอีกหนึ่งความเสี่ยงที่องค์กรต้องเผชิญโดยเฉพาะเมื่อมีการใช้บริการจากบุคคลที่สาม การตรวจสอบและควบคุมโดยผู้ให้บริการจึงเป็นสิ่งจำเป็น
  5. การตอบสนองที่ช้า ในกรณีที่เกิดการโจมตี องค์กรอาจไม่สามารถตอบสนองได้ทันที เนื่องจากขาดกระบวนการและระบบที่เหมาะสมในการจัดการกับเหตุการณ์ การเตรียมความพร้อมและวางแผนรับมือจึงมีความสำคัญ
  6. ความกังวลเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล การเก็บข้อมูลส่วนบุคคลจำนวนมาก ทำให้องค์กรตกเป็นเป้าหมายของผู้โจมตี และความเสี่ยงด้านความเป็นส่วนตัว องค์กรจึงต้องมีมาตรการในการปกป้องข้อมูลอย่างเข้มงวด
  7. การใช้ AI ในทางที่ผิด อาชญากรไซเบอร์เริ่มใช้ AI และ Machine Learning เพื่อสร้างการโจมตีที่ซับซ้อนมากขึ้น ทำให้การป้องกันเป็นเรื่องท้าทาย องค์กรควรพัฒนาระบบรักษาความปลอดภัยที่สามารถปรับตัวตามสถานการณ์ได้อย่างรวดเร็ว เพื่อพร้อมรับมือกับความท้าทายเหล่านี้ ด้วยการลงทุนในเทคโนโลยีและพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างระบบรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่แข็งแกร่งและมีประสิทธิภาพ

ประกอบกับรายงานของ Gartner ที่คาดการณ์ว่าภายในปี 2025 มากกว่า 60% ขององค์กรทั่วโลกจะนำแนวคิด Zero Trust มาใช้เป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์ด้านความปลอดภัย ซึ่งจะช่วยให้ธุรกิจสามารถพัฒนาขีดความสามารถและสร้างความมั่นคงอย่างยั่งยืน การนำเทคโนโลยีมาใช้ในลักษณะนี้จะช่วยเสริมความมั่นใจให้กับลูกค้าและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยให้ทันสมัยยิ่งขึ้น

ซึ่งสอดคล้องกับความเชื่อของ ไซเบอร์จีนิคส์ ที่ว่าการสร้างความปลอดภัยเชิงรุกผ่านเทคโนโลยี Zero Trust และ AI จะช่วยให้องค์กรสามารถปรับตัวและเติบโตได้อย่างแข็งแกร่ง แม้ในสภาวะที่ภัยคุกคามมีความซับซ้อนมากขึ้น เทคโนโลยี AI จะช่วยให้การตรวจจับและตอบสนองต่อภัยคุกคามเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ขณะที่Zero Trust เน้นการตรวจสอบทุกการเข้าถึงข้อมูลอย่างละเอียด ซึ่งช่วยป้องกันไม่ให้ภัยคุกคามเล็ดลอดเข้ามาจากทั้งภายนอกและภายในองค์กร

ไซเบอร์จีนิคส์ จึงได้วางโซลูชันที่ตอบโจทย์ธุรกิจองค์กรกลุ่มธุรกิจการเงินการธนาคาร ธุรกิจตลาดทุน ธุรกิจนายหน้าประกันภัย โครงสร้างพื้นฐานสำคัญทางสารสนเทศ (CII) ความมั่นคงและบริการภาครัฐ ขนส่งและโลจิสติกส์ โทรคมนาคม พลังงานและสาธารณูปโภค สาธารณสุข และสนับสนุนหน่วยงานกำกับดูแล เพื่อยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยทางไซเบอร์ของประเทศไทยในปี 2025 ไว้ดังนี้ "Security by Design" Principles ผ่านสถาปัตยกรรมความมั่นคงปลอดภัยที่มุ่งเน้นแนวปฏิบัติ Identity-first security เพื่อให้องค์กรตระหนักถึงอัตลักษณ์ของ Human และ Machine และเกิดการบังคับใช้ least privilege อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วย Zero-Trust Architecture (ZTA) และ Cybersecurity Mesh Architecture (CSMA) ที่เป็นกุญแจสำคัญ ที่ทำให้องค์กรขับเคลื่อนและมุ่งสู่ "Resilience by Design" เพื่อ Mitigate ความเสี่ยงที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จากเทคโนโลยียุคใหม่ระดับโลก เช่น Identity & Access Management (IAM) Extended Detection and Response (XDR) Security Service Edge (SSE) Cloud-Native Application Protection Platform (CNAPP) Web Application and API Protection (WAAP) และยกระดับการทำ SecOps สู่ Automation ด้วย AI

อีกทั้งเตรียมความพร้อมสำหรับยุคควอนตัม (Post-Quantum Readiness) เป็นต้น พร้อมให้บริการ EIR (Emergency Incident Response) สำหรับ Cybersecurity Incident Response แห่งแรกในประเทศไทย และการบริการ Managed Security Services (MSS) แบบครบวงจร ด้วย MXDR (Managed Extended Detection and Response) และ MSASE (Managed Secure Access Service Edge) สำหรับกลุ่มธุรกิจองค์กรเพื่อการขับเคลื่อนธุรกิจได้อย่างมั่นใจไร้กังวลและมีประสิทธิภาพ มุ่งเจาะกลุ่มธุรกิจองค์กรที่เน้นการป้องกัน ดูแล เฝ้าระวัง วิเคราะห์และแจ้งเตือน ตรวจจับภัยคุกคามก่อนเกิดเหตุ โดยทีมผู้เชี่ยวชาญตลอด 24 ชั่วโมง

งาน CyberGenics Summit 2024 ในครั้งนี้ จึงไม่ได้เป็นเพียงเวทีแบ่งปันความรู้และนวัตกรรม แต่ยังกระตุ้นให้ทุกภาคธุรกิจองค์กรตระหนักถึงความสำคัญของการสร้างความปลอดภัยที่ครอบคลุมในทุกมิติ เพราะการใช้เทคโนโลยี AI และ Zero Trust ไม่เพียงเสริมสร้างเสถียรภาพให้กับองค์กร แต่ยังเปิดโอกาสให้ธุรกิจเติบโต สามารถพัฒนาและแข่งขันได้อย่างมั่นคงในโลกดิจิทัลที่การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว เพราะการเตรียมความพร้อมในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางไซเบอร์เพื่อรองรับโลกอนาคตที่ขับเคลื่อนด้วย AI Trust และ Zero Trust คือกุญแจสำคัญที่ช่วยให้องค์กรเดินหน้าสู่ความสำเร็จอย่างยั่งยืนในยุคดิจิทัล

ที่มา: สยามพีอาร์ คอนซัลแทนท์

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๔๑ องค์การอนามัยโลกจับมือประเทศไทย และ 194 ประเทศ เร่งสร้างฉันทมติดันความเสมอภาคสุขภาพช่องปากเป็นวาระโลก
๑๖:๔๔ กรมอนามัยลงพื้นที่จังหวัดสงขลา มอบรางวัลเชิดชูเกียรติเมืองสุขภาพดีระดับประเทศ และรางวัลเครือข่ายเมืองสุขภาพดีระดับภูมิภาคเอเชียใต้และตะวันออก
๑๖:๐๑ EPG มั่นใจยอดขายและอัตรากำไรขั้นต้นในครึ่งหลังของปีบัญชี 67/68 (ต.ค.67 - มี.ค.68) เติบโตดีตามเป้าหมาย เตรียมจ่ายเงินปันผลระหว่างกาล 6 สตางค์ 9
๑๖:๒๔ 51Talk ส่งเด็กไทยเข้าร่วม COP29 การประชุมแห่งสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ บทพิสูจน์การสนับสนุนเยาวชนก้าวสู่เวทีระดับโลก
๑๖:๔๘ ORN เผยโค้งสุดท้ายปี 67 ฟอร์มดี โตต่อเนื่อง ลุยเปิด 3 โครงการใหม่บ้าน-คอนโดฯ มูลค่ารวม 3,070 ล้านบาท
๑๖:๓๓ Dog's Dream คอมมูนิตี้สนามสัตว์เลี้ยงสีเขียว ที่ใหญ่ที่สุดในกรุงเทพฯ และปริมณฑล
๑๖:๑๔ ฟูจิฟิล์ม บิสซิเนส อินโนเวชั่น ชูกลยุทธ์ Make a Leap to the New Stage ตอกย้ำพันธกิจขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม
๑๕:๔๓ กรุงศรี ขับเคลื่อนกลยุทธ์ GO ASEAN with krungsri ผสานความแข็งแกร่งและร่วมมือในเครือกรุงศรี MUFG และพันธมิตร
๑๕:๓๔ เผยสีสันแห่งการเฉลิมฉลองช่วงสิ้นปี ผ่านกระเช้าของขวัญจากโรงแรมเจดับบลิว แมริออท กรุงเทพฯ
๑๕:๔๗ Netflix ส่งหนังไทยคว้าชัยระดับโลก! ออกแบบ-ชุติมณฑน์ คว้ารางวัลนักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม บนเวที International Emmy Awards ครั้งที่ 52 จากผลงานเรื่อง HUNGER คนหิว