เกา จีเฟิน (Gao Jifan) ประธานกรรมการ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและศึกษาของทรินาโซลาร์ กล่าวว่า โมดูล c-Si เป็นแผงโซลาร์เซลล์ที่ผลิตจากวัสดุรีไซเคิลทั้งหมดเป็นรายแรกของโลก สะท้อนถึงความมุ่งมั่นอย่างแรงกล้าต่อบทบาทและความรับผิดชอบต่อสังคมของทรินาโซลาร์ ในการส่งเสริมการพัฒนาด้านความยั่งยืนให้กับอุตสาหกรรมพลังงานหมุนเวียน ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่มีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านพลังงานของโลก
การประสบความสำเร็จในการผลิตโซลาร์เซลล์จากวัสดุรีไซเคิลของทรินาโซลาร์ในครั้งนี้ เกิดขึ้นภายใต้ความพยายามและความร่วมมือของพันธมิตรตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ โดยทรินาโซลาร์ประสบความสำเร็จในการรีไซเคิลวัสดุที่มีมูลค่าสูง เช่น กรอบอะลูมิเนียม แก้ว เงิน และซิลิคอน จากแผงโซลาร์เซลล์ที่หมดอายุการใช้งานแล้ว ซึ่งสามารถทำได้ภายใต้นวัตกรรมของทรินาโซลาร์ อาทิ การแยกชั้นขององค์ประกอบทางเคมี เทคโนโลยีการกัดกร่อนด้วยสารเคมี เทคโนโลยีการสกัดเงินด้วยสารเคมีเปียก และนวัตกรรมอื่นๆ โดยแผงโซลาร์เซลล์ที่ผลิตขึ้นจากวัสดุรีไซเคิลนี้ ผลิตภายใต้เทคโนโลยี n-type TOPCon และมีขนาดทองคำ(Golden Size) ที่มีประสิทธิภาพในการเปลี่ยนเป็นพลังงานสูงถึง 20.7% และให้กำลังการผลิตไฟฟ้าได้ถึง 645วัตต์
ทรินาโซลาร์ มุ่งมั่นในการจัดการรีไซเคิลแผงโซลาร์เซลล์ที่หมดอายุการใช้งาน ภายใต้การดำเนินงานที่เป็นข้อกำหนดและมาตรฐานของสากล เช่น มาตรฐานการทางกฎหมายเพื่อจัดการซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของกลุ่มสหภาพยุโรป ( The European Union's Waste Electrical and Electronic Equipment Directive) ที่ประกาศใช้ในปี 2555 มาตรฐานนี้กำหนดให้ 85% ของแผงเซลล์โซลาร์เซลล์ที่ไม่ใช้แล้วต้องถูกเก็บรวบรวมมาไว้ที่ส่วนกลาง และ 80% ของขยะเหล่านั้นต้องสามารถรีไซเคิลได้ ทรินาโซลาร์ยังคงมุ่งมั่นที่จะพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อจัดการกับการรีไซเคิลแผงโซลาร์เซลล์ให้ดียิ่งขึ้นกว่าเดิม และปัจจุบันบริษัทได้ยื่นจดสิทธิบัตรนวัตกรรมในการรีไซเคิลโมดูลแล้วถึง 37 ฉบับ
ทรินาโซลาร์ให้ความสำคัญต่อแนวทางในการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในกระบวนการผลิตให้เหลือน้อยที่สุด บริษัทได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกของ PV Cycle ตั้งแต่ปี 2553 และบริษัทได้พัฒนานวัตกรรมในการกำจัดโมดูลแผงโซลาร์เซลล์ที่หมดอายุการใช้งานตามมาตรฐานต่างๆ เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในการรีไซเคิลโมดูลไม่เพียงแต่เป็นแนวทางในการจัดการกับแผงโซลาร์เซลล์ที่หมดอายุการใช้งานเท่านั้น แต่ความสำเร็จของโครงการนำร่องนี้ยังช่วยตอบสนองด้านนโยบายการรักษาสิ่งแวดล้อม
ที่มา: PRecious Communications