นอกจากนี้ อัตราการเกิดหนี้เสียใหม่ (NPL formation) ของ SCB ปรับตัวดีขึ้น ลดลงจาก 264 bps ในไตรมาส 2 เหลือ 242 bps ในไตรมาส 3 ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยแปดไตรมาสที่ผ่านมา โดยหลักมาจากกลุ่มลูกค้าธุรกิจขนาดใหญ่ สินเชื่อที่อยู่อาศัย และสินเชื่อเช่าซื้อ ขณะเดียวกันต้นทุนทางด้านเครดิตของสินเชื่อบุคคล (Gen-2) ก็ลดลงอย่างมีนัยสำคัญจาก 10.7% ในไตรมาส 2 เหลือ 8.5% ในไตรมาส 3 จากกลยุทธ์การลดความเสี่ยงของ Card X และการปรับปรุงกระบวนการในการติดตามหนี้ ทำให้คุณภาพสินเชื่อที่อยู่อาศัยบางส่วนกลับมาดีขึ้นจาก stage 3 เป็น stage 2 อีกครั้ง
แม้ว่าจะมีการคาดการณ์ถึงการลดดอกเบี้ยนโยบาย 2 ครั้งในปี 2025 แต่ KKPS ยังคงคาดการณ์ผลกำไรของ SCB ที่ 41.8 พันล้านบาทในปี 2025 ซึ่งใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา เนื่องจากการขายธุรกิจ Purple Ventures (Robinhood) ซึ่งจะช่วยลดการขาดทุนต่อปีราว 2 พันล้านบาท ขณะเดียวกันการลดค่าใช้จ่ายด้านเครดิตลง 10 bps มาอยู่ที่ 170 bps จะช่วยบรรเทาผลกระทบจากการลดดอกเบี้ยนโยบาย
ทั้งนี้ คาดว่า SCB จะสามารถรักษาสัดส่วนการจ่ายเงินปันผลอยู่ที่ 80% อย่างต่อเนื่อง โดยมีสัดส่วนเงินทุนสำรองส่วนของผู้ถือหุ้น (CET-1) ที่แข็งแกร่งอยู่ที่ประมาณ 17.8% ซึ่งเพียงพอที่จะเพียงพอรองรับการเติบโตของสินเชื่อราว 2.5% ในช่วงปี 2025-2026
ที่มา: บล.เกียรตินาคินภัทร