ระบบขนส่งที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมแนวทางสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนของมหาวิทยาลัยพะเยาอย่างยั่งยืน

พุธ ๐๖ พฤศจิกายน ๒๕๖๗ ๐๘:๓๕
ปัจจุบันการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศมีแนวโน้มรุนแรงขึ้นในทุกภูมิภาคทั่วโลก สาเหตุหลักๆ มาจากสถานการณ์การปล่อยก๊าซเรือนกระจกของโลกที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวันของมนุษย์เป็นสาเหตุสำคัญของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) ส่งผลกระทบอย่างเป็นวงกว้างต่อทั้งมิติสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม ซึ่งตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศสูงขึ้น ได้แก่ ก๊าซคาร์บอนได้ออกไซด์ (CO2) ที่เป็นองค์ประกอบหนึ่งที่สำคัญของก๊าซเรือนกระจก ในวิกฤตการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลก (Climate Change) หลากหลายประเทศทั่วโลกเริ่มตื่นตัวและพยายามให้ความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวอย่างเป็นรูปธรรม โดยกระบวนการหรือแนวทางการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นประเด็นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้และพยายามดำเนินการอย่างต่อเนื่องของหลายๆ ประเทศทั่วโลกที่ได้รับความนิยมในปัจจุบันคือ 'Carbon Neutrality' หรือ "ความเป็นกลางทางคาร์บอน" ซึ่งมีความหมายคือ ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยสู่ชั้นบรรยากาศเท่ากับปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ถูกดูดกลับคืน จึงทำให้นานาชาติต่างประกาศเป้าหมายที่จะมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนในการประชุมการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 26 (COP26) ณ เมืองกลาสโกว์ ประเทศสกอตแลนด์ ทั้งนี้ ประเทศไทยก็เป็นหนึ่งในประเทศที่ได้แสดงเจตนารมย์ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและได้ประกาศเป้าหมายการเข้าสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี พ.ศ. 2593 และหนึ่งในแนวคิดของความเป็นกลางทางคาร์บอน มีกระบวน 3 รูปแบบ ได้แก่ 1) "ลด" การปล่อยก๊าซเรือนกระจก เช่น การใช้พลังงานหมุนเวียนแทนการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล (Fossil Fuel) 2) "ดูดกลับ" ก๊าซเรือนกระจกจากชั้นบรรยากาศ เช่น การปลูกป่าเพื่อเพิ่มแหล่งสะสมก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ตามธรรมชาติ (Carbon Sink) และ 3) "ชดเชย" การปล่อยก๊าซเรือนกระจกด้วยการซื้อคาร์บอนเครดิต (Carbon Credit Offset)
ระบบขนส่งที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมแนวทางสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนของมหาวิทยาลัยพะเยาอย่างยั่งยืน

มหาวิทยาลัยพะเยา เป็นหนึ่งในสถาบันการศึกษาที่มีศักยภาพและความพร้อมในการพัฒนา อนุรักษ์ ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมถึงเล็งเห็นความสำคัญในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยมีความมุ่งมั่นที่จะบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนตามยุทธศาสตร์ระดับประเทศ "การเติบโตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม" หรือ "การเติบโตสีเขียว" มีสุขภาวะ จึงได้กำหนดแผนยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยพะเยา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 - 2571 และได้กำหนดตัวชี้วัดที่สำคัญที่จะทำให้มหาวิทยาลัยพะเยาเข้าสู่การเป็นมหาวิทยาลัยที่เป็นกลางทางคาร์บอนอย่างยั่งยืน และได้รับการจัดอันดับองค์กรผู้นำด้านการจัดการก๊าซเรือนกระจก รวมถึงการใช้พลังงานต่างๆ ของมหาวิทยาลัยพะเยา จะต้องเป็นพลังงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศ ส่งผลให้มหาวิทยาลัยพะเยาได้กำหนดแนวทางในการบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน โดยการ "ลด" การใช้พลังงานฟอลซิลและมาใช้พลังงานสะอาดมากขึ้น ซึ่งกิจกรรมที่มหาวิทยาลัยพะเยาปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากที่สุด ได้แก่ การใช้พลังงานในภาคส่วนต่างๆ เช่น การใช้พลังงานไฟฟ้า การใช้พลังงานจากการขนส่งภายใน ทั้งนี้ รถโดยสารที่มาให้บริการภายในมหาวิทยาลัยพะเยาจากเดิมเป็นระบบเชื้อเพลิงประเภทก๊าซ NGV ซึ่งมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศ

มหาวิทยาลัยพะเยา พิจารณาแล้วเห็นว่าหากยังคงใช้ระบบเชื้อเพลิงเดิมก็จะไม่สามารถตอบสนองให้บรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนได้ จึงได้กำหนดแนวทางการเปลี่ยนรถโดยสารสาธารณะภายในมหาวิทยาลัยทั้งหมดมาเป็นรถโดยสารขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า (EV Bus) เพื่อตอบสนองนโยบายของรัฐบาลและนโยบายของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศ และการส่งเสริมการผลิตและการใช้ยานยนต์ที่ปล่อยมลพิษเป็นศูนย์ (Zero Emission Vehicle) โดยจากการเก็บข้อมูลระยะทางรวมที่รถโดยสารวิ่งและการใช้พลังงานไฟฟ้าของรถโดยสารในช่วงระยะเวลา 3 เดือน (เดือนพฤษภาคม - กรกฎาคม 2567) พบว่า

1) เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2567 มีปริมาณระยะทางรวมที่รถโดยสารวิ่งได้อยู่ที่ 63,809 กิโลเมตร

2) เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2567 มีปริมาณระยะทางรวมที่รถโดยสารวิ่งได้อยู่ที่ 110,778 กิโลเมตร

3) เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2567 มีปริมาณระยะทางรวมที่รถโดยสารวิ่งได้อยู่ที่ 116,900 กิโลเมตร

ทั้งนี้ เมื่อวิเคราะห์การปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากระยะทางรวมที่รถโดยสารวิ่งรับส่งบุคลากรและนิสิตภายในมหาวิทยาลัยพะเยา หากคิดอัตราการสิ้นเปลื้องพลังงานรถโดยสารประเภทเชื้อเพลิงเบนซินอยู่ที่ 4 กิโลเมตรต่อลิตร และประเภทเชื้อเพลิงดีเซลอยู่ที่ 5 กิโลเมตรต่อลิตร (สำหรับรถโดยสารขนาดเล็ก) รวมถึงมีค่าสัมประสิทธิ์การปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Emission Factor) ของน้ำมันเบนซินแบบเคลื่อนเท่ากับ 2.2376 kgCO2/ลิตร ของน้ำมันดีเซลแบบเคลื่อนที่เท่ากับ 2.7446 kgCO2/ลิตร และของการใช้พลังงานไฟฟ้า (ไทย) เท่ากับ 0.4999 kgCO2/kWh จะมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการใช้รถโดยสารของมหาวิทยาลัยพะเยา

ที่มา: มหาวิทยาลัยพะเยา

ระบบขนส่งที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมแนวทางสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนของมหาวิทยาลัยพะเยาอย่างยั่งยืน

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๐ ธ.ค. ASMT ผนึก TFT ร่วมลงนามด้านวิชาการด้านอุตสาหกรรมการบิน
๒๐ ธ.ค. กรมวิชาการเกษตร เดินหน้า ถ่ายทอดองค์ความรู้การผลิตอะโวคาโดคุณภาพ สร้างรายได้เพิ่มให้เกษตรกรกว่า 2 แสนบาท/ไร่
๒๐ ธ.ค. Dow มุ่งพัฒนาประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์ Personal Care ควบคู่ความยั่งยืน ตอบโจทย์ผู้บริโภคตลาดเครื่องสำอางในภูมิภาคเอเชีย
๒๐ ธ.ค. โอซีซี มอบความรู้ พัฒนาอาชีพให้ผู้ต้องขังหญิง
๒๐ ธ.ค. ดร.นุชนารถ ชลคงคา นำทีมสถาบัน ESTC จัดอบรมให้ Karmakamet
๒๐ ธ.ค. กนภ. เห็นชอบร่าง พรบ. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กลไกสำคัญสู่เส้นทางเศรษกิจคาร์บอนต่ำ และมีภูมิคุ้มกันฯ
๒๐ ธ.ค. WePlay x คอลแลบตัวละครสุดปัง! พบกับมินิเกมใหม่ และการ์ตูนสุดน่ารักที่คุณจะต้องหลงรัก
๒๐ ธ.ค. เดลต้า ประเทศไทย และ WEnergy Global ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงเพื่อขับเคลื่อนอนาคตพลังงานสีเขียว
๒๐ ธ.ค. ความภาคภูมิใจของ ไลอ้อน กับ 3 รางวัลแห่งเกียรติยศ เผยผลงานโดดเด่นกับหลายรางวัลที่ได้รับในปี 2567
๒๐ ธ.ค. NOBLE คว้าเรทติ้งสูงสุด ระดับ AAA SET ESG Ratings ประจำปี 2567 ยกระดับองค์กรสู่ความยั่งยืนภายในแนวคิด Live Different ตามกรอบ