THOHUN ผนึกกำลังเครือข่าย ฟื้นฟูคุณภาพชีวิตพี่น้องชาวเชียงราย

พุธ ๐๖ พฤศจิกายน ๒๕๖๗ ๑๖:๓๓
วิกฤตอุทกภัยจากน้ำป่า ดินถล่ม และทะเลโคลน ที่ประชาชนจังหวัดเชียงรายนับพันครัวเรือนต้องเผชิญอย่างไม่ทันตั้งตัว สร้างความสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินรวมเป็นมูลค่ามหาศาล หลายหน่วยงานต่างเร่งระดมกำลังเพื่อช่วยเหลือผู้ที่กำลังประสบอุทกภัยในห้วงเวลานั้นตามความสามารถ ร่วมกันกู้วิกฤตฟื้นฟูบ้านเรือนที่อยู่อาศัย ซ่อมแซมอุปกรณ์เครื่องไม้เครื่องมือต่าง ๆ ที่เสียหาย เพื่อให้พี่น้องชาวเชียงรายได้กลับมาใช้ชีวิตอย่างเดิมให้ได้เร็วที่สุด หนึ่งตัวอย่างการร่วมมือร่วมใจกู้ภัยในครั้งนี้ คือ เครือข่ายมหาวิทยาลัยสุขภาพหนึ่งเดียวแห่งประเทศไทย (THOHUN) ที่มีสมาชิกซึ่งเป็นบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญทางการแพทย์ ด้านสาธารณสุข และสิ่งแวดล้อม พร้อมด้วย มูลนิธิ THOHUN จับมือพันธมิตรสถาบันอาชีวศึกษา และวิทยาลัยเทคนิค ลงพื้นที่ร่วมเยียวยาและฟื้นฟูคุณภาพชีวิตชาวเชียงรายอย่างเต็มกำลัง
THOHUN ผนึกกำลังเครือข่าย ฟื้นฟูคุณภาพชีวิตพี่น้องชาวเชียงราย

รศ.ดร.แสงเดือน มูลสม ผู้ประสานงานเครือข่ายมหาวิทยาลัยสุขภาพหนึ่งเดียวแห่งประเทศไทย (THOHUN) เล่าถึงที่มาของการสานพลังช่วยเหลือพี่น้องประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตอุทกภัยว่า "เนื่องจาก THOHUN มีความร่วมมือเชิงนโยบายกับกระทรวงต่าง ๆ รวมถึงกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อเตรียมพร้อมและเฝ้าระวังการระบาดของโรคอุบัติใหม่ อุบัติซ้ำ และภัยทางด้านสุขภาพ ในช่วงที่มีการระบาดของโรคโควิด 19 ที่ผ่านมา THOHUN ได้จัดทำหลักสูตรด้านสุขภาพหนึ่งเดียว เพื่อเตรียมความพร้อมคุณครูและนักเรียนอาชีวศึกษา ในการป้องกันโรคระบาด เช่น รู้จักใช้อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล หรือ PPE เป็นต้น"

"สำหรับอุทกภัยที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ นอกจากก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพแล้ว THOHUN ยังได้เล็งเห็นถึงปัญหาที่ตามมาหลังจากน้ำเริ่มลดลง ก็คือสภาพบ้านเรือนและของใช้ที่เสียหายของประชาชน THOHUN จึงได้ร่วมมือกับพันธมิตรสถาบันอาชีวศึกษาและวิทยาลัยเทคนิค นำคณาจารย์และนักศึกษาช่างเทคนิค ช่างยนต์ ช่างไฟฟ้า ช่างอิเล็กทรอนิกส์ และคณาจารย์จากเครือข่ายมหาวิทยาลัย 16 มหาวิทยาลัย ภายใต้การสนับสนุนของสำนักมาตรฐานการอาชีวศึกษาและวิชาชีพ ลงพื้นที่ช่วยเหลือพี่น้องประชาชนตำบลแม่ยาว กับอำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย หลังน้ำลด ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นความร่วมมือท่ามกลางภาวะฉุกเฉิน นอกจากมีวิทยาลัยเทคโนโลยีมีนบุรีโปลีเทคนิคแล้ว ยังมีคุณครูของวิทยาลัยอาชีวศึกษาจันทร์รวี มาเป็นกำลังเสริมในการดูแลสุขภาพเบื้องต้นของประชาชนอีกด้วย"

"ผลของการลงมือทำโครงการอาสาช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยตั้งแต่เก้าโมงเช้าจนถึงสองทุ่ม ระหว่างวันที่ 19 - 21 กันยายน 2567 ทางทีมงาน ได้ซ่อมรถจักรยานยนต์จำนวน 200 คัน เครื่องยนต์สำหรับงานเกษตรกรรมจำนวน 120 คัน อีกทั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าของชาวบ้าน 147 ครัวเรือนในตำบลแม่ยาว และตำบลริมกก จังหวัดเชียงราย จำนวนทั้งสิ้น 178 ชิ้น สามารถนำกลับมาใช้งานได้ปกติ ในด้านการเยียวยาผลกระทบทางสุขภาพ มีทีมแพทย์ และพยาบาล ตรวจประเมินปัญหาสุขภาพ ให้คำปรึกษาด้านสุขภาพจิต และดูแลเบื้องต้น อีกทั้งยังมีนักสิ่งแวดล้อมมาตรวจคุณภาพน้ำอุปโภค บริโภค ให้ข้อเสนอแนะและช่วยเหลือในการปรับคุณภาพน้ำให้มีความปลอดภัย โดยค่าใช้จ่ายในการฟื้นฟู 147 ครัวเรือน มีต้นทุนค่าใช้จ่าย 1,800 บาท/ครัวเรือน ซึ่งนับเป็นความคุ้มค่าอย่างยิ่ง ส่วนหนึ่งคือทำให้เกิดเป็นตัวอย่างความร่วมมือระหว่างนักวิชาการกับช่างเทคนิคยิ่งไปกว่านั้น โครงการอาสาจากการริเริ่มของ THOHUN ภายใต้ความร่วมมือของเครือข่ายและพันธมิตร ได้กลายมาเป็นโมเดลการทำงานแบบบูรณาการ ของสถาบันอาชีวศึกษา ซึ่งถึงแม้ THOHUN ไม่ได้อยู่ทำงานต่อในพื้นที่ แต่ก็ยังมีการบรรจุแผนช่วยเหลือต่อเนื่องเพื่อฟื้นฟูพื้นที่ ทั้งมีการสร้างทีมช่างเพื่อลงพื้นที่ให้ความช่วยเหลือพี่น้องประชาชนทั่วประเทศอย่างต่อเนื่อง สำหรับแผนในอนาคตอันใกล้ มีแนวคิดอันดับแรกที่ THOHUN อยากให้เกิดขึ้นเหมือนกับที่อาชีวศึกษาเริ่มแล้วก็คือ มีการพูดคุยและระดมความคิดของภาคส่วนการศึกษาที่เกี่ยวข้อง ภาครัฐ ภาคเอกชน ถึงความร่วมมือหรือแผนที่ใช้ได้จริงในการรับมือกับภัยพิบัติ ในขณะที่การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกมากขึ้นทุกวัน และน้ำท่วมอาจเป็นปัญหาปลายทาง ดังนั้น ควรมีการหารือกันแผนที่ต้องทำของภาคส่วนต่าง ๆ ก่อน ระหว่าง และหลังเกิดภัยพิบัติ รวมทั้ง มีการจัดตั้งทีมเพื่อกำหนดว่า เวลาเกิดอุทกภัยแล้วหน่วยงานไหนที่ต้องเข้าไปมีส่วนร่วมบ้างเมื่อน้ำลดแล้ว จะเป็นทีมไหนที่เข้าไปฟื้นฟูต่อ เป็นต้น"

"ในวันนี้ที่ THOHUN ได้ทำไปแล้วคือ การระดมสรรพกำลังจากกรุงเทพฯ ไปเชียงราย แต่เมื่อไรที่เรามีทีมที่ประจำแต่ละภาคแต่ละจังหวัด เราจะช่วยลดค่าใช้จ่ายลงไปได้อีก แม้ว่า 1,800 บาท/ครัวเรือน จะไม่มากนัก แต่ถ้าลดได้มากกว่านี้ก็จะทำให้ เรามีกำลังช่วยเหลือประชาชนจำนวนมากขึ้น นอกจากนี้ อาจจะต้องมีการระดมกำลังทรัพย์ การสนับสนุนอุปกรณ์ต่าง ๆ ซึ่งประธานมูลนิธิ THOHUN ก็มีแนวคิดจัดตั้งกองทุนเพื่อเป็นกองกลางไว้ก่อน หากเกิดเหตุก็สามารถไปช่วยเหลือประชาชนที่เดือดร้อนได้ทันที" รศ.ดร.แสงเดือน กล่าวถึงทิ้งท้าย

ที่มา: MindTouch

THOHUN ผนึกกำลังเครือข่าย ฟื้นฟูคุณภาพชีวิตพี่น้องชาวเชียงราย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๒ พ.ย. รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๒๒ พ.ย. ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๒๒ พ.ย. Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๒๒ พ.ย. ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๒๒ พ.ย. โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๒๒ พ.ย. กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๒๒ พ.ย. สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๒๒ พ.ย. 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๒๒ พ.ย. โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๒๒ พ.ย. electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version