รองศาสตราจารย์ ดร. ณัฐวุฒิ พิมพา ผู้ช่วยคณบดีด้านความยั่งยืนได้เปิดเผยถึงแนวทางแห่งการเปลี่ยนแปลงว่า "การทำงานในระดับชาติร่วมกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย รวมไปถึงการที่อาจารย์ของเราก็มีความสำคัญในการทำงานร่วมกับองค์กรระหว่างประเทศ และ องค์กรในภาคธุรกิจในประเด็นความยั่งยืน ดังนั้น เราจึงเริ่มปรับวิชาในหลักสูตรให้มีองค์ประกอบยั่งยืน และเรากำลังพัฒนามาตรวัดทักษะด้านความยั่งยืนทางธุรกิจให้กับผู้เรียนในหลักสูตรของเราครับ นอกจากนี้ผมเองในนามมหิดลก็ได้พัฒนาหลักสูตรออนไลน์ด้าน ESG ผ่านระบบ MOOCSของมหิดลให้ทุกนไม่ว่าคุณจะอยู่ที่ไหน สามารถมาเรียนได้ฟรี เพราะบ้านเราต้องการคนที่เข้าใจงานด้านนี้และมีทักษะพอเพียง"
"ความยั่งยืนมีหลายมิติ เรามองว่าคนที่จบจากหลักสูตรเราไปจะไม่เพิกเฉยต่อความไม่ยั่งยืนในองค์กรตน และจะสามารถมองเห็นคำตอบทางการจัดการที่ทำให้องค์กรนั้นประกอบธุรกิจอย่างเป็นธรรม ยั่งยืน และส่งผลกระทบในวงกว้าง เช่น เป็นผู้สร้างนโยบายด้านธุรกิจลดก๊าซเรือนกระจก หรือ เป็นผู้ประกอบการที่สร้างธุรกิจหรือสินค้าที่เป็นโซลูชั่นในปัญหาโรค เช่น อาหาร สุขภาพ หรือ ความไม่เท่าเทียม"
สุดท้ายอาจารย์กล่าวว่า ภาคธุรกิจมีความสำคัญมากต่อการผลักดันประเด็นความยั่งยืนให้ก้าวต่อทั้งในไทยและกับคู่ค้าในประเทศต่างๆ เราอาจจะมีเวลาถึงปี 2030 ดังนั้นคนทำงานกับเราต้องเข้าใจประเด็นความยั่งยืนขององค์กรที่ส่งผลกระทบเชิงบวกต่อธุรกิจตั้งแต่วันแรกของการทำงาน ผมคิดว่าโรงเรียนธุรกิจทุกแห่ง รวมถึงที่มหิดล จำเป็นต้องสร้างสมดุลย์ระหว่างความรู้ทางการบริหารจัดการ และ การทำงานร่วมกับภาคประชาสังคม เพื่อความยั่งยืนของสังคม
ที่มา: Mahidol University