เปิดประตูสู่โอกาส! จุฬาฯ เปิดหลักสูตรเรียนภาษาไทยสำหรับชาวต่างชาติ

พุธ ๑๓ พฤศจิกายน ๒๕๖๗ ๑๖:๒๗
"การเรียนภาษาไทยสามารถเปิดประตูสู่ประสบการณ์ใหม่และโอกาสในการทำงานสำหรับชาวต่างชาติที่อยู่อาศัยหรือมาเที่ยวที่ประเทศไทยได้" ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เกียรติ เทพช่วยสุข ผู้อำนวยการศูนย์ภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ (The Center for Thai as a Foreign Language - CTFL) คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ กล่าว
เปิดประตูสู่โอกาส! จุฬาฯ เปิดหลักสูตรเรียนภาษาไทยสำหรับชาวต่างชาติ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เกียรติ เทพช่วยสุข
ผู้อำนวยการศูนย์ภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ จุฬาฯ

ศูนย์ภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ จุฬาฯ เปิดหลักสูตร "Intensive Thai" ที่ได้รับความนิยมอย่างมากสำหรับชาวต่างชาติ หลักสูตรนี้ได้แบ่งออกเป็น 9 ระดับ โดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ตั้งแต่กลุ่มเริ่มต้น (1-2-3) กลุ่มระดับกลาง (4-5-6) และกลุ่มขั้นสูง (7-8-9) เปิดให้เรียนทั้งที่มหาวิทยาลัยและแบบออนไลน์ แต่ละระดับจะใช้เวลาเรียน 2 เดือน หรือ 6 สัปดาห์ แล้วหยุด 2 อาทิตย์ก่อนจะเริ่มระดับต่อไป มีการสอบวัดผลระหว่างเรียนและเมื่อจบหลักสูตร นอกจากนี้ยังมีการสอบวัดผลก่อนเรียนเพื่อจัดระดับของผู้เรียน มีการเรียนการสอนวันละ 3 ชั่วโมงจำนวน 5 วันต่อสัปดาห์ หากผู้เรียนอาศัยอยู่ต่างประเทศหรือต่างจังหวัดก็สามารเรียนผ่านทางออนไลน์ได้เช่นกัน

ทางศูนย์ฯ ได้ร่วมมือกับ ศูนย์นวัตกรรมการเรียนรู้ จุฬาฯ เพื่อจัดทำหลักสูตรออนไลน์สำหรับทุกคนที่สนใจผ่านระบบ Chula MOOC ในรายวิชา Communicative Thai for Foreigners ที่มีถึง 9 ภาษา ซึ่งมีการสอบก่อนเรียนและหลังเรียนเพื่อดูพัฒนาการของผู้เรียน เมื่อเรียนจนจบหลักสูตรผู้เรียนก็จะได้ประกาศนียบัตรจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยด้วย

Chula MOOC เป็นแหล่งการเรียนรู้ออนไลน์ฟรีสำหรับบุคคลทั่วไป สามารถเรียนได้ทุกที่ทุกเวลาตามที่ผู้เรียนสะดวก ผู้สนใจดูรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับหลักสูตรออนไลร์ระยะสั้นได้ที่ Chula MOOC และ Chula MOOC Flexi.

นอกจากนี้ศูนย์ฯ ได้เปิดหลักสูตรปริญญาโท สาขาวิชาภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ (TFL) สำหรับนิสิตต่างชาติเป็นครั้งแรกในประเทศไทย เริ่มเปิดเรียนครั้งแรกในภาคการศึกษาปลายปีการศึกษา 2567 เป็นหลักสูตรสำหรับผู้ที่ไม่ได้สื่อสารภาษาไทยเป็นภาษาแม่ที่ต้องการจะพัฒนาทักษะภาษาไทยให้อยู่ในระดับสูง

หลักสูตรนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างมหาบัณฑิตที่เข้าใจภาษาไทยและวัฒนธรรมไทยอย่างลึกซึ้ง โดยเน้นที่การทำวิจัย การแปล ธุรกิจ การสอนภาษาไทย และการทำงานร่วมกับองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร อีกทั้งยังสร้างบุคลากรผู้เชี่ยวชาญรอบด้านที่สามารถใช้ทักษะภาษาไทยได้ในสาขาที่หลากหลาย

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ (CTFL) คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ ทางอีเมล [email protected] หรือ ทางเว็บไซต์ https://www.arts.chula.ac.th/CTFL/

"จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นมหาวิทยาลัยที่สร้างนวัตกรรมเพื่อสังคม และได้รับการจัดอันดับว่าเป็นมหาวิทยาลัยมีชื่อเสียงติด 100 อันดับแรกของโลกด้านชื่อเสียงทางวิชาการ โดย (QS) World University Rankings 2021-2022"



ที่มา:  ศูนย์สื่อสารองค์กร จุฬาฯ

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๙:๐๐ วิทยาลัยดุสิตธานี เซ็น MoU กับ บริษัท หยั่น หว่อ หยุ่น คอร์ปอเรชั่น กรุ๊ป จำกัด
๐๙:๑๑ บางจากฯ สะท้อนความเป็นเลิศด้วย 2 รางวัลพระราชทาน และ 5 รางวัลดีเด่น จาก TMA Excellence Awards 2024
๐๙:๑๙ มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ในพระบรมราชูปถัมภ์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล และกระทรวงการต่างประเทศ
๐๘:๓๐ เบตเตอร์ กรุ๊ป โชว์ศักยภาพความเป็นผู้นำด้านการบริหารจัดการแบบ One Stop Service ในงาน Thailand Industrial Conference
๐๘:๕๗ กทม. เตรียมพร้อมมาตรการเฝ้าระวัง-ป้องกันการแพร่ระบาดโรคฝีดาษลิงในกรุงเทพฯ
๐๘:๕๑ สจส. คืนช่องจราจรแยกพร้อมจิต พร้อมปรับช่องทางคนเดินกว้าง 1.20 เมตร
๐๘:๒๑ กทม. จัดสรรงบฯ จัดซื้อนมโรงเรียนในสังกัด พร้อมกำกับดูแลการส่งมอบ-รับมอบให้มีคุณภาพ
๐๘:๐๘ โรงแรมเรเนซองส์ กรุงเทพฯ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๐๘:๔๙ Taiwan Excellence นำเสนอมิติใหม่แห่งวงการอุตสาหกรรมโลหการ ชูวิสัยทัศน์เด่น Innovate for Green Metalwork ที่ Metalex
๐๘:๒๑ ซินเน็คฯ เปิด Nintendo Authorized Store by SYNNEX แห่งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้