บริษัทก่อสร้างชั้นนำ หนุน ม.วลัยลักษณ์ เอ็มโอยูพัฒนางานวิจัยในอุตสาหกรรมก่อสร้าง

พุธ ๑๓ พฤศจิกายน ๒๕๖๗ ๑๖:๓๓
2 บริษัทก่อสร้างชั้นนำของประเทศ ร่วมกับ ม.วลัยลักษณ์ เซ็นเอ็มโอยูพร้อมมอบทุนกว่า 1 ล้านบาท หนุนงานวิจัยวัสดุแท่งคอมโพสิตและคอนกรีตรีไซเคิล เพื่อช่วยยกระดับอุตสาหกรรมการก่อสร้าง
บริษัทก่อสร้างชั้นนำ หนุน ม.วลัยลักษณ์ เอ็มโอยูพัฒนางานวิจัยในอุตสาหกรรมก่อสร้าง

เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2567 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อนุรักษ์ ถุงทอง ผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ พร้อมด้วย นายพิสิษฐ์ จรัสพงศ์ถาวร กรรมการบริหาร บริษัท จีเอฟอาร์พี คิงส์ และนายประเสริฐ ตั้งเด่นไชย กรรมการผู้จัดการบริษัท ปัญญาคอนกรีต จำกัด ร่วมกันลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมวัสดุแท่งคอมโพสิตและคอนกรีต โดยได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์เป็นประธานในพิธี มีผู้บริหารของทั้ง 2 ฝ่ายร่วมเป็นสักขีพยาน ณ ห้องINNOVATION HUB อุทยานวิทยาศาสตร์ฯและห้องเกียรติยศ รพ.ศูนย์การแพทย์ ม.วลัยลักษณ์

บันทึกข้อตกลงความร่วมมือในครั้งนี้ มีเป้าหมายสำคัญในการพัฒนาวัสดุแท่งคอมโพสิตในอุตสาหกรรมการก่อสร้าง ศึกษาและวิจัยต่อยอดผลิตภัณฑ์วัสดุแท่งคอมโพสิต พัฒนาอุตสาหกรรมการก่อสร้างคอนกรีตและนวัตกรรมการก่อสร้าง ศึกษาและวิจัยต่อยอดผลิตภัณฑ์ที่ได้จากคอนกรีตรีไซเคิล พร้อมทั้งการสนับสนุนความร่วมมือการทำวิจัยเพิ่มเติมในอนาคต ภายใต้กรอบเวลา 3 ปี

โอกาสเดียวกันนี้ ทั้ง 2 บริษัทและม.วลัยลักษณ์ ยังได้การลงนามในสัญญาโครงการวิจัย จำนวน 2 โครงการ พร้อมสนับสนุนทุนการวิจัยให้แก่ รองศาสตราจารย์ ดร.ทนงศักดิ์ อิ่มใจ ซึ่งเป็นหัวหน้าโครงการวิจัย รวมทั้งสิ้น 1,075,000 บาท ด้วย

รองศาสตราจารย์ ดร.ทนงศักดิ์ กล่าวถึงความสำคัญของโครงการวิจัยในครั้งนี้ ว่า อุตสาหกรรมการก่อสร้างเป็นส่วนสำคัญที่ใช้ทรัพยากรธรรมชาติจำนวนมาก การนำวัสดุคอนกรีตรีไซเคิลและวัสดุแท่งคอมโพสิตมาใช้ จะช่วยลดการใช้ทรัพยากรและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ที่สำคัญจะช่วยยกระดับอุตสาหกรรมการก่อสร้างของประเทศไทยได้

"ในอนาคตเรามีแผนในการก่อสร้างอาคารจริงขนาด 3 ชั้น ที่ใช้วัสดุแท่งคอมโพสิต 100% เป็นโครงสร้างเสริมแรง โดยจะตรวจวัดและติดตามผลด้านความทนทานและประสิทธิภาพของวัสดุต่อสภาพแวดล้อมจริงเป็นระยะเวลา 12 เดือน เพื่อประเมินความทนทานและความสามารถในการรองรับน้ำหนักในระยะยาว" รองศาสตราจารย์ ดร.ทนงศักดิ์ กล่าว

ส่วนการใช้คอนกรีตรีไซเคิลสำหรับผลิตลูกปูนหนุนเหล็กเสริมในโครงสร้างคอนกรีต จะช่วยลดการใช้ทรัพยากรใหม่และลดขยะก่อสร้างได้อย่างมีประสิทธิภาพ ป้องกันการสึกกร่อนของเหล็กเสริมในคอนกรีต ทนทานต่อการกัดกร่อนในสภาวะแวดล้อมที่รุนแรง ที่สำคัญจะช่วยยืดอายุการใช้งานของโครงสร้างได้อีกด้วย

ที่มา: มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

บริษัทก่อสร้างชั้นนำ หนุน ม.วลัยลักษณ์ เอ็มโอยูพัฒนางานวิจัยในอุตสาหกรรมก่อสร้าง

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๓:๔๖ เมอร์ค ร่วมสนับสนุน สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทยฯ รณรงค์โครงการ อยากให้คนไทยไม่เป็นเบาหวาน ชวนคนไทยประเมินความเสี่ยงผ่าน QR Code ง่ายๆ เพียง 1
๑๓:๐๒ จิตใจที่ดีกว่าเริ่มต้นที่ศิลปะและเสียงเพลง วิธีบำบัดซึมเศร้าที่คุณอาจไม่รู้!
๑๓:๓๔ ยกระดับวันแฮงค์เอาท์ให้สมบูรณ์แบบด้วยชุดอาหารว่างสุดพรีเมียม ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ฯ เซ็นทรัลเวิลด์
๑๓:๑๒ อีมิแน้นท์แอร์ จัดอบรมช่างแอร์ ระดับ 3 รุ่นที่ 2 หวังยกระดับมาตรฐานช่างแอร์ทั่วประเทศ
๑๓:๒๑ KSG รับเกียรติบัตร การแลกเปลี่ยนประสบการณ์และการเผยแพร่ความสำเร็จ ในโครงการพัฒนาและบริหารธุรกิจเพื่อยกระดับความสามารถการแข่งขันด้วยดิจิทัล(Digital MDICP) โดย
๑๓:๐๓ EGCO Group โชว์กำไรจากการดำเนินงาน Q3/67 กว่า 3,600 ลบ. และ 9M/67 กว่า 7,000 ลบ. แรงหนุนจากกลุ่มโรงไฟฟ้าต่างประเทศ และ
๑๓:๑๗ ยูบิลลี่ ไดมอนด์ เฉิดฉายระดับเอเชีย อัญรัตน์ พรประกฤตคว้ารางวัลนักการตลาดหญิงยอดเยี่ยมแห่งเอเชียจาก Asia Marketing
๑๓:๓๑ Kingston ตอกย้ำความเป็นผู้นำอันดับหนึ่ง ครองแชมป์การจัดส่ง SSD ติดต่อกันเป็นปีที่ 7 ในปี 2566
๑๓:๕๕ สสส. สานพลังภาคี ขจัดเหลื่อมล้ำกิจกรรมทางกาย เผย 5 กลุ่มไร้โอกาส 'ผู้หญิง-เด็ก-ผู้สูงอายุ-คนจน-ไม่มีอาชีพ' เร่งไทยพิชิตเป้า 85% ในปี
๑๓:๒๑ โรงพยาบาลหัวเฉียว จัดโครงการธรรมโอสถ บรรยายธรรมะเรื่อง ชีวิต Strong ต้องครองด้วยสติ