TSE กางแผนโค้งหลัง ลุ้นคว้าโรงไฟฟ้าสีเขียวเฟส 2 พร้อมลุย M&A-JV ธุรกิจโรงไฟฟ้าขยะ-โซลาร์ฟาร์ม ปิดจ๊อบถือหุ้นคลินิก IVF สร้าง New S-Curve ผลงานปี 68 โตติดปีก

พฤหัส ๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๖๗ ๑๑:๓๓
บมจ.ไทย โซล่าร์ เอ็นเนอร์ยี่ (TSE) เปิดแผนโค้งสุดท้ายปี 67 ลุ้นโครงการโรงไฟฟ้าสีเขียวเฟส 2 คาดชนะประมูลไม่น้อยกว่า 100-150 เมกะวัตต์ เติมพอร์ต ก่อนร่วมประมูลเฟส 3 ในปีหน้า พร้อมรุกทำ M&A- JV ธุรกิจโรงไฟฟ้าขยะ-โซลาร์ฟาร์ม หนุนธุรกิจเติบโตอย่างมีเสถียรภาพ ส่วนแผนแตกไลน์ธุรกิจใหม่ Health Care ผ่านการเข้าถือหุ้น คลินิก IVF สร้าง New S-Curve คาดปิดจ๊อบภายในสิ้นปีนี้ หนุนผลงานปี 68 โตติดปีก เผยงบ 9 เดือนปี 67 กวาดรายได้กว่า 989 ล้านบาท โดยมี EBITDA อยู่ที่ 698 ล้านบาท และกำไรสุทธิ 255 ล้านบาท
TSE กางแผนโค้งหลัง ลุ้นคว้าโรงไฟฟ้าสีเขียวเฟส 2 พร้อมลุย MA-JV ธุรกิจโรงไฟฟ้าขยะ-โซลาร์ฟาร์ม ปิดจ๊อบถือหุ้นคลินิก IVF สร้าง New S-Curve ผลงานปี 68 โตติดปีก

ดร.แคทลีน มาลีนนท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทย โซล่าร์ เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) (TSE) เปิดเผยว่า แผนการดำเนินงานในช่วงที่เหลือของไตรมาส 4/2567 กลุ่มบริษัทอยู่ในระหว่างการเข้าร่วมประมูลโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนเฟส 2 ซึ่งใช้เกณฑ์การคัดเลือกโดยพิจารณาจากผู้ที่ผ่านการประเมินความพร้อมตามเกณฑ์คะแนนคุณภาพ (scoring) ในเฟสแรกแต่ยังไม่ได้รับการคัดเลือกจะได้สิทธิ์ในการพิจารณาก่อน โดยบริษัทคาดหวังว่าจะชนะประมูลอย่างน้อยประมาณ 100-150 เมกะวัตต์ และบริษัทยังพร้อมเข้าร่วมประมูลเฟส 3 ในปีหน้าด้วยเช่นกัน

นอกจากนี้ บริษัทอยู่ระหว่างการพิจารณาเข้าลงทุนการทำ M&A (Mergers and Acquisitions) ที่จะสามารถรับรู้กระแสเงินสดได้ทันที และจับมือกับพันธมิตรในรูปแบบกิจการร่วมค้า (Joint Venture) ทั้งในรูปของกลุ่มธุรกิจโรงไฟฟ้าขยะและโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ โดยจะพิจารณาเลือกลงทุนในโครงการที่มีผลการดำเนินงาน และให้ผลตอบแทนคุ้มค่าสามารถสร้างกระแสเงินสดได้อย่างมั่นคงสม่ำเสมอ รวมถึงยังมีการศึกษาและพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าขยะเองด้วยเช่นกัน ควบคู่ไปกับการเข้าลงทุนในกลุ่มธุรกิจ Private PPA (Private Power Purchase Agreement) ในรูปแบบการลงทุนใหม่ๆ เช่น Direct PPA และ ESCO Model PPA ซึ่งเป็นการขายพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้จากพลังงานแสงอาทิตย์ ให้กับผู้ประกอบการธุรกิจ ทั้งกับภาครัฐและเอกชนแบบครบวงจร เพื่อเสริมความแข็งแกร่งให้กับธุรกิจ

กลุ่มบริษัทยังคงเดินหน้าขยายสายธุรกิจใหม่ด้านธุรกิจสุขภาพ โดยร่วมทุนกับนายแพทย์วิวรรธน์ ชินพิลาศ ดำเนินธุรกิจเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ IVF (In-vitro Fertilization) และจะขยายไปสู่ธุรกิจเสริมความงาม, Wellness และธุรกิจด้านเภสัชกรรม เพื่อนำไปสู่ผลลัพธ์ของการมีสุขภาพดีแบบองค์รวม โดยบริษัท เวิลด์ โซล่าร์ จำกัด (World Solar) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของ TSE จะเข้าซื้อหุ้นสามัญทั้งหมด (100%) ของบริษัท บางกอก อินเฟอร์ทิลิตี้ เซ็นเตอร์ จำกัด (BIC) ซึ่งประกอบกิจการสถานพยาบาล ทางด้านเวชกรรมสาขาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา, การรักษาผู้มีบุตรยาก (คลินิก บางกอก ไอวีเอฟ เซ็นเตอร์) ซึ่งหลังเข้าทำธุรกรรม World Solar จะเปลี่ยนชื่อบริษัทเป็น "บริษัท บีทีเอช จำกัด" และบริษัทฯจะถือหุ้นในสัดส่วน 51% คาดว่าธุรกรรมจะเสร็จสิ้นภายในไตรมาส 4/2567 เพื่อสร้าง New S-Curve ให้กับกลุ่มบริษัทฯ

ทั้งนี้ ผลการดำเนินงานของกลุ่มบริษัทในไตรมาส 3/2567 มีรายได้จากการขายและการให้บริการรวมสำหรับงวดสามเดือน จำนวน 316 ล้านบาท ซึ่งใกล้เคียงกับปีก่อนหน้า

ส่วนผลการดำเนินงานในงวด 9 เดือนแรกของปี 2567 (สิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2567) กลุ่มบริษัทมีรายได้รวม 989 ล้านบาท มี EBITDA อยู่ที่ 698 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิ 255 ล้านบาท โดยสาเหตุหลักมาจากส่วนแบ่งกำไรจากเงินลงทุนในกิจการร่วมค้าลดลง เนื่องจากได้สิ้นสุดสัญญารายได้เงินอุดหนุนส่วนเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้า (Adder) ของโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ในช่วงที่ผ่านมาเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน

จากการดำเนินงานตามปกติของกลุ่มบริษัทฯ ปัจจุบันมีโครงการโรงไฟฟ้าทั้งหมด 41 โครงการ กำลังการผลิตเสนอขายรวม 241.86 เมกะวัตต์ โดยแบ่งเป็นโครงการที่เปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์ (COD) แล้ว จำนวน 34 โครงการ และโครงการที่ยังไม่เปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์ (COD) อีก 7 โครงการ

แม้กลุ่มบริษัทฯอาจได้รับผลกระทบจากการลดลงของรายได้เงินอุดหนุนส่วนเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้า (Adder) ของโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์บางโครงการ แต่โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์และโรงไฟฟ้าชีวมวลของกลุ่มบริษัทฯยังสามารถดำเนินกิจการได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อเนื่องและสม่ำเสมอ และมีรายได้จากการรับซื้อไฟฟ้าในรูปแบบ Feed-in Tariff (FiT) ตลอดอายุสัญญา

นอกจากนี้ ปัจจุบันบริษัทได้มีการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต (Repowering, Replacement and Upgrade Efficiency) ของกลุ่มโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์อย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและพลังงานจากการผลิตไฟฟ้าได้มากขึ้นถึง 15-20% ซึ่งเป็นจังหวะที่ดีในการลงทุนเนื่องจากต้นทุนของอุปกรณ์หลักถูกลง และมีประสิทธิภาพดีขึ้น ทำให้สามารถชดเชยในส่วนของเงินอุดหนุนส่วนเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้า (Adder) ได้บางส่วน

อีกทั้งกลุ่มบริษัทฯยังมีการบริหารจัดการต้นทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีต้นทุนทางการเงินที่ลดลงจากการชำระคืนเงินกู้ (Corporate loan) จำนวน 1,276 ล้านบาท และการไถ่ถอนหุ้นกู้คืนก่อนกำหนดกว่า 1,175 ล้านบาท ในช่วงต้นปีที่ผ่านมา กลุ่มบริษัทฯมีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาศักยภาพในการดำเนินงานด้านธุรกิจ ลดต้นทุนและค่าใช้จ่ายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและอัตรากำไรในธุรกิจ อีกทั้งยังมีความพร้อมและพื้นฐานทางการเงินที่แข็งแกร่ง มีเป้าหมายที่จะเติบโตอย่างยั่งยืนและสร้างมูลค่าเพิ่มในระยะยาวให้กับผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ ต่อไป

ที่มา: ไออาร์เน็ตเวิร์ค

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๐ ธ.ค. ASMT ผนึก TFT ร่วมลงนามด้านวิชาการด้านอุตสาหกรรมการบิน
๒๐ ธ.ค. กรมวิชาการเกษตร เดินหน้า ถ่ายทอดองค์ความรู้การผลิตอะโวคาโดคุณภาพ สร้างรายได้เพิ่มให้เกษตรกรกว่า 2 แสนบาท/ไร่
๒๐ ธ.ค. Dow มุ่งพัฒนาประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์ Personal Care ควบคู่ความยั่งยืน ตอบโจทย์ผู้บริโภคตลาดเครื่องสำอางในภูมิภาคเอเชีย
๒๐ ธ.ค. โอซีซี มอบความรู้ พัฒนาอาชีพให้ผู้ต้องขังหญิง
๒๐ ธ.ค. ดร.นุชนารถ ชลคงคา นำทีมสถาบัน ESTC จัดอบรมให้ Karmakamet
๒๐ ธ.ค. กนภ. เห็นชอบร่าง พรบ. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กลไกสำคัญสู่เส้นทางเศรษกิจคาร์บอนต่ำ และมีภูมิคุ้มกันฯ
๒๐ ธ.ค. WePlay x คอลแลบตัวละครสุดปัง! พบกับมินิเกมใหม่ และการ์ตูนสุดน่ารักที่คุณจะต้องหลงรัก
๒๐ ธ.ค. เดลต้า ประเทศไทย และ WEnergy Global ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงเพื่อขับเคลื่อนอนาคตพลังงานสีเขียว
๒๐ ธ.ค. ความภาคภูมิใจของ ไลอ้อน กับ 3 รางวัลแห่งเกียรติยศ เผยผลงานโดดเด่นกับหลายรางวัลที่ได้รับในปี 2567
๒๐ ธ.ค. NOBLE คว้าเรทติ้งสูงสุด ระดับ AAA SET ESG Ratings ประจำปี 2567 ยกระดับองค์กรสู่ความยั่งยืนภายในแนวคิด Live Different ตามกรอบ