ดีเอชแอล โกลเบิล ฟอร์เวิร์ดดิ้ง ประเทศไทย (DHL Global Forwarding Thailand) เปิดตัว "DHL International Multimodal Hub" ครั้งแรกในประเทศไทย สำหรับการขนส่งระหว่างประเทศแบบมัลติโมดอล

พฤหัส ๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๖๗ ๑๑:๔๗
ลูกค้าสามารถเลือกรูปแบบการขนส่งที่หลากหลาย เข้าถึงกระบวนการทางศุลกากรได้ง่ายขึ้น ครบ จบ ในที่เดียวรายงานไวท์เปเปอร์ฉบับล่าสุดของ DHL เน้นถึงความสำคัญของการขนส่งแบบมัลติโมดอล (Multimodal) ซึ่งช่วยให้ธุรกิจมีความยืดหยุ่นมากขึ้นในการจัดการซัพพลายเชนดีเอชแอล โกลเบิล ฟอร์เวิร์ดดิ้ง (DHL Global Forwarding) ผู้เชี่ยวชาญด้านการขนส่งในเครือ DHL Group ภูมิใจนำเสนอศูนย์กลางการขนส่งระหว่างประเทศแบบมัลติโมดอล "DHL International Multimodal Hub" ในพื้นที่ใหม่ขนาด 480 ตารางเมตร ภายในศูนย์การขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ ณ เขตปลอดอากร 3 สนามบินสุวรรณภูมิ กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
ดีเอชแอล โกลเบิล ฟอร์เวิร์ดดิ้ง ประเทศไทย (DHL Global Forwarding Thailand) เปิดตัว DHL International Multimodal Hub ครั้งแรกในประเทศไทย สำหรับการขนส่งระหว่างประเทศแบบมัลติโมดอล

บริษัท บริการภาคพื้น ท่าอากาศยานไทย จำกัด (AOTGA) ร่วมกับ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) (AOT) และกรมศุลกากรไทย จัดตั้งศูนย์การขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ (Multimodal Transportation Center) ซึ่งเป็นสถานที่ที่มุ่งเน้นการอำนวยความสะดวกด้านการค้าด้วยมาตรการควบคุมทางศุลกากรที่มีประสิทธิภาพ และยกระดับอุตสาหกรรมการขนส่งและโลจิสติกส์ของประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางระดับภูมิภาค

ดีเอชแอล โกลเบิล ฟอร์เวิร์ดดิ้ง ประเทศไทย (DHL Global Forwarding Thailand) คือผู้ให้บริการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศรายเดียวที่พร้อมด้วยคลังสินค้าพิเศษภายในศูนย์ ทำให้ลูกค้าสามารถใช้บริการขนส่งแบบผสมผสานได้อย่างครบวงจร ตอบโจทย์การขนส่งที่หลากหลายรูปแบบหรือ Multimodal ไม่ว่าจะเป็นการขนส่งทางรถ ทางอากาศ หรือทางทะเล ช่วยให้การขนส่งสินค้าเข้า-ออกประเทศเป็นไปอย่างรวดเร็ว สะดวกสบาย และไร้รอยต่อมากยิ่งขึ้น ช่วยให้ลูกค้าประหยัดเวลา ลดขั้นตอน และมีความคล่องตัวในการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วยให้กระบวนการศุลกากรเป็นเรื่องง่ายตอบโจทย์แบบครบวงจร

"หนึ่งในข้อได้เปรียบหลักของ DHL International Multimodal Hub คือ การเป็นศูนย์กลางขนส่งแบบครบวงจรของ DHL ลูกค้าสามารถดำเนินกระบวนการศุลกากรได้อย่างรวดเร็วภายในกรุงเทพฯ ลดขั้นตอนการเดินทางเพื่อไปดำเนินการยังจุดชายแดน ทำให้สินค้าถึงมือผู้รับปลายทางได้เร็วขึ้น ลดระยะเวลาในการขนส่ง และเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจ" คุณวินเซนต์ ยง กรรมการผู้จัดการของ ดีเอชแอล โกลเบิล ฟอร์เวิร์ดดิ้ง ประเทศไทย กล่าว

DHL International Multimodal Hub มอบสิทธิประโยชน์ดังต่อไปนี้:

  • ความยืดหยุ่นในการเปลี่ยนรูปแบบการขนส่ง
  • การยกเว้นเอกสาร Exporter of Record / Importer of Record สำหรับการขนส่งผ่านแดนและการขนส่งแบบ Multimodal
  • บริการขั้นตอนทางศุลกากรตลอด 24 ชั่วโมง รวมถึงการจัดการสินค้าที่ต้องการเอกสารเฉพาะและการอำนวยความสะดวกในการชำระภาษีและอากรในท้องถิ่น
  • ระบบรักษาความปลอดภัยขั้นสูง เช่น กล้องวงจรปิด (CCTV) เซนเซอร์ตรวจจับและกรงนิรภัยสำหรับสินค้ามูลค่าสูง
  • การจัดการใบอนุญาตการขนส่งที่ง่ายดาย โดยสินค้าสามารถนำเข้ามาเก็บไว้ในศูนย์ได้ภายใต้แนวคิด "ศูนย์บริการครบวงจร" ซึ่งช่วยให้กระบวนการต่าง ๆ ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพในขณะที่รอเอกสาร ตัวอย่างสินค้า และการตรวจสอบ

DHL International Multimodal Hub ผลักดันการเชื่อมโยงทางการค้าในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น โดยเฉพาะเครือข่าย DHL Asiaconnect และ DHL Asiaconnect+ ซึ่งเป็นเครือข่ายการขนส่งแบบ LTL (Less Than Truckload) ของ DHL ด้วยศูนย์กลางการขนส่งแบบครบวงจรของ DHL ที่ประเทศไทย ทำให้การขนส่งสินค้าระหว่างประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อินโดจีน และจีน เป็นไปอย่างราบรื่นและสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับประเทศลาว ด้วยแนวคิดเปลี่ยนมุมมอง Landlock สู่ Landlink ช่วยสร้าง "จุดเชื่อมต่อที่สำคัญ" ในภูมิภาค โดยคำนึงถึงการเชื่อมโยงกับผู้คนในท้องถิ่นตามแนวคิด "thinking local, acting local" เน้นถึงความสำคัญของการขนส่งทางถนนอันเป็นส่วนหนึ่งของโซลูชันการขนส่งแบบมัลติโมดอล (Multimodal)

"ในช่วงการแพร่ระบาดโควิด 19 ความสามารถในการขนส่งที่จำกัด อัตราค่าขนส่งทางทะเลและทางอากาศที่สูง รวมถึงการปิดท่าเรือและสนามบิน ได้ผลักดันให้ลูกค้าหันมาใช้การขนส่งทางถนนมากขึ้น ขณะนี้เมื่อสถานการณ์กลับสู่ภาวะปกติแล้ว ลูกค้าก็ยังคงเห็นถึงความสำคัญของการขนส่งทางถนน โดยเฉพาะในภูมิภาคนี้

การขนส่งทางถนนมีบทบาทสำคัญในโซลูชันการขนส่งแบบ Multimodal โดยเฉพาะเมื่อต้องขนส่งสินค้าภายในภูมิภาคหรือกับประเทศจีน การขนส่งสินค้าผ่านรูปแบบการขนส่งแบบผสม เช่น ทางรถไฟและทางถนน สามารถช่วยลดระยะเวลา Door-to-Door (DTD) ได้เร็วกว่าการขนส่งทางทะเล และมีต้นทุนต่ำกว่าการขนส่งทางอากาศ" คุณบรูโน เซลโมนี รองประธานฝ่ายการขนส่งทางถนนและโซลูชันมัลติโมดอล ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ บริษัท ดีเอชแอล โกลบอล ฟอร์เวิร์ดดิ้ง กล่าว

เอกสารไวท์เปเปอร์ "หนทางสู่อนาคต: นำทางสู่โอกาสของการขนส่งสินค้าทางถนนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้" ได้เน้นย้ำ 3 ประเด็นสำคัญสำหรับอนาคตของการขนส่งทางถนนในภูมิภาคนี้:

1. การขับเคลื่อนด้วยระบบดิจิทัลและการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน Digitalization and Improved Infrastructure

ด้วยธุรกิจจำนวนมากต้องการเสริมสร้างความยืดหยุ่นในซัพพลายเชนมากกว่าเดิม ความต้องการแบบทันทีทันเหตุการณ์และการได้รับข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับสถานะการจัดส่งและสภาพถนนจึงมีความสำคัญยิ่งขึ้น เครือข่ายโทรศัพท์มือถือที่พัฒนาแล้วของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ช่วยให้สามารถติดตามการขนส่งทางถนนแบบทันที (real-time) ผ่านเซ็นเซอร์และ GPS ซึ่งทำให้ลูกค้าสามารถคาดการณ์ตำแหน่งและเวลาที่สินค้าจะมาถึงได้อย่างแม่นยำ ด้วยแพลตฟอร์มอย่าง myDHLi ช่วยให้ลูกค้าสามารถควบคุมและติดตามการจัดส่งในทุกรูปแบบการขนส่ง

การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานด้านโลจิสติกส์อย่างต่อเนื่องในภูมิภาคนี้ยังช่วยให้การขนส่งทางถนนและทางรถไฟมีประสิทธิภาพมากขึ้น ตัวอย่างเช่น ทางรถไฟใหม่ที่เชื่อมระหว่างเวียงจันทน์กับคุนหมิง และ DHL International Multimodal Hub แห่งใหม่ในประเทศไทย ช่วยทำให้โซลูชันมัลติโมดอลมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

2. นโยบายของรัฐบาลเพื่อการขนส่งข้ามพรมแดนที่ราบรื่น Government Policies to Streamline Cross-Border Freight

โครงการต่าง ๆ เช่น ระบบการผ่านแดนของศุลกากรอาเซียน (ASEAN's Customs Transit System - ACTS) มุ่งลดปริมาณงานด้านเอกสารลง โดยในปี 2566 หน่วยงานศุลกากรของทั้งสิบประเทศสมาชิกอาเซียนได้ให้การรับรองข้อตกลงว่าด้วยการรับรองสถานะผู้ดำเนินการเศรษฐกิจที่ได้รับอนุญาตของอาเซียน (ASEAN Authorized Economic Operator Mutual Recognition Arrangement - AAMRA) ซึ่งสร้างสภาพแวดล้อมการค้าขายที่สม่ำเสมอและโปร่งใสในหมู่ประเทศสมาชิก โดย AAMRA ยึดมาตรฐานการรับรองของกรอบ SAFE ขององค์การศุลกากรโลก (WCO) เพื่อให้การเคลียร์สินค้าเร็วขึ้นและได้รับการปฏิบัติในฐานะผู้ที่ได้รับการรับรอง AEO ในอาเซียน

นอกจากข้อตกลงในระดับภูมิภาคแล้ว บางประเทศยังดำเนินการภายในประเทศเพื่อส่งเสริมการเคลื่อนย้ายสินค้าข้ามพรมแดน ตัวอย่างเช่น กัมพูชาและเวียดนามได้ร่วมมือกันในการเพิ่มช่องทางจราจร ณ จุดผ่านแดนที่การจราจรติดขัด

3. วาระสำคัญของความยั่งยืนในการขนส่งทางถนน Sustainable Road Freight Is High on the Agenda

รายงานของ International Data Corporation (IDC) ระบุว่า 45% ขององค์กรในเอเชียจะบูรณาการความยั่งยืนในซัพพลายเชน ภายในปี 2569 ซึ่งการขนส่งสินค้ารวมถึงรถบรรทุก เครื่องบิน เรือ และรถไฟนั้นมีส่วนในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกประมาณ 8% ของทั่วโลก แม้ว่าจะมีทางเลือกที่ยั่งยืนสำหรับการขนส่งทางถนน เช่น ยานพาหนะไฟฟ้าและเชื้อเพลิงไฮโดรเจน แต่ในแนวทางปฏิบัติยังจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือที่ดีระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน

"จากรายงาน Global Connectedness ของ DHL กล่าวว่า กลุ่มประเทศที่มีสัมพันธ์มากที่สุดกับประเทศไทย 10 อันดับแรก ได้แก่ จีน (23%), เมียนมาร์ (4%), มาเลเซีย (4%), สิงคโปร์ (3%), เวียดนาม (3%) และกัมพูชา (3%) ประเทศเหล่านี้มีจุดเชื่อมโยงกับประเทศไทยอย่างดีทั้งทางบก ทางทะเล และทางอากาศ ทำให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ระดับภูมิภาคที่เหมาะสมสำหรับภูมิภาคนี้" คุณวินเซนต์ ยง กล่าวปิดท้าย

ที่มา: ดีเอชแอล โกลเบิล ฟอร์เวิร์ดดิ้ง ประเทศไทย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๐ ธ.ค. ASMT ผนึก TFT ร่วมลงนามด้านวิชาการด้านอุตสาหกรรมการบิน
๒๐ ธ.ค. กรมวิชาการเกษตร เดินหน้า ถ่ายทอดองค์ความรู้การผลิตอะโวคาโดคุณภาพ สร้างรายได้เพิ่มให้เกษตรกรกว่า 2 แสนบาท/ไร่
๒๐ ธ.ค. Dow มุ่งพัฒนาประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์ Personal Care ควบคู่ความยั่งยืน ตอบโจทย์ผู้บริโภคตลาดเครื่องสำอางในภูมิภาคเอเชีย
๒๐ ธ.ค. โอซีซี มอบความรู้ พัฒนาอาชีพให้ผู้ต้องขังหญิง
๒๐ ธ.ค. ดร.นุชนารถ ชลคงคา นำทีมสถาบัน ESTC จัดอบรมให้ Karmakamet
๒๐ ธ.ค. กนภ. เห็นชอบร่าง พรบ. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กลไกสำคัญสู่เส้นทางเศรษกิจคาร์บอนต่ำ และมีภูมิคุ้มกันฯ
๒๐ ธ.ค. WePlay x คอลแลบตัวละครสุดปัง! พบกับมินิเกมใหม่ และการ์ตูนสุดน่ารักที่คุณจะต้องหลงรัก
๒๐ ธ.ค. เดลต้า ประเทศไทย และ WEnergy Global ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงเพื่อขับเคลื่อนอนาคตพลังงานสีเขียว
๒๐ ธ.ค. ความภาคภูมิใจของ ไลอ้อน กับ 3 รางวัลแห่งเกียรติยศ เผยผลงานโดดเด่นกับหลายรางวัลที่ได้รับในปี 2567
๒๐ ธ.ค. NOBLE คว้าเรทติ้งสูงสุด ระดับ AAA SET ESG Ratings ประจำปี 2567 ยกระดับองค์กรสู่ความยั่งยืนภายในแนวคิด Live Different ตามกรอบ