สำหรับแผนปฏิบัติการป้องกันรองรับสถานการณ์ฝุ่น PM2.5 สนพ. ได้เปิดศูนย์ปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉินด้านสาธารณสุขกรณีฝุ่น PM 2.5 เกิน 75 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร (มคก./ลบ.ม.) โรงพยาบาลในสังกัด เปิดคลินิกมลพิษทางอากาศ ดังนี้ โรงพยาบาลกลาง โทร . 0 2220 8000 ต่อ 30112 (วันจันทร์ - วันศุกร์ เวลา 08.00 - 16.00 น.) โรงพยาบาลตากสิน โทร. 0 2437 0123 ต่อ 1426, 1430 (วันจันทร์ - วันศุกร์ เวลา 09.00 - 12.00 น.) โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ โทร. 0 2289 7221 บริการตรวจคัดกรอง (วันจันทร์ - วันศุกร์ เวลา 08.00 - 12.00 น.) บริการนัดพบแพทย์ในกลุ่มสงสัย (วันพุธ - วันพฤหัสบดี เวลา 13.00 - 15.00 น.) โรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินฺธโร อุทิศ โทร. 0 2429 3576 ต่อ 8522 (วันจันทร์ - วันศุกร์ เวลา 08.00 - 15.00 น.) โรงพยาบาลเวชการุณย์รัศมิ์ โทร. 0 2543 1307 ต่อ 212, 082 760 2382 หรือ 08 2760 2389 บริการตรวจคัดกรอง (วันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 08.00 - 12.00 น.) บริการนัดพบแพทย์ในกลุ่มสงสัย (วันอังคาร เวลา 13.00 - 15.00 น.) โรงพยาบาลนคราภิบาล โทร. 0 2326 9995 (วันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 08.00 - 15.00 น.) โรงพยาบาลราชพิพัฒน์ โทร. 06 3324 1126 หรือ 09 9170 5879 (วันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 08.00 - 16.00 น.) และโรงพยาบาลสิรินธร โทร. 0 2328 6901 ต่อ 11448 (วันจันทร์ - วันศุกร์ เวลา 08.00 - 12.00 น.) เพื่อให้คำปรึกษาแก่ประชาชน ให้บริการตรวจรักษาลดความรุนแรงของอาการที่เกิดจากฝุ่น PM2.5
นอกจากนี้ ยังได้จัดห้องปลอดฝุ่น พัดลม และแผ่นกรองอากาศ เพื่อจัดทำพื้นที่ปลอดฝุ่น (Safe Zone) ภายในศูนย์เด็กเล็กน่าอยู่คู่นมแม่ของโรงพยาบาลในสังกัดทั้ง 11 แห่ง พร้อมแจกหน้ากากอนามัย และให้คำแนะนำในการป้องกัน ดูแลสุขภาพในช่วงฝุ่นหนาแน่น สำหรับกลุ่มเปราะบางที่มีความเสี่ยงสูง เช่น เด็กเล็ก หญิงตั้งครรภ์ ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ หอบหืด เยื่อบุตาอักเสบ หัวใจและหลอดเลือด รวมถึงผู้ที่ทำงานกลางแจ้งเป็นเวลานาน ควรเลี่ยงพื้นที่ฝุ่นสูง หรือลดระยะเวลาออกนอกอาคารให้น้อยที่สุด หากจำเป็นต้องออกนอกอาคาร ให้สวมหน้ากากป้องกันฝุ่น และงดการทำกิจกรรม หรือออกกำลังกายกลางแจ้ง รวมทั้งปิดประตูหน้าต่างให้สนิท หรืออยู่ในห้องปลอดฝุ่นและสังเกตอาการตนเอง หากมีอาการไอ แน่นหน้าอก วิงเวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ผื่นแดง หรือมีอาการผิดปกติทางร่างกายอื่น ๆ ควรรีบไปพบแพทย์ทันที หรือพบแพทย์ผ่านทาง Telemedicine แอปพลิเคชัน "หมอ กทม." เพื่อตรวจวินิจฉัยอาการได้อย่างรวดเร็ว สามารถปรึกษาเรื่องสุขภาพ โทร 1646 สายด่วนสุขภาพ สนพ.กทม. ให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง
ขณะเดียวกัน ได้มอบหมายกลุ่มงานอนามัยชุมชนของโรงพยาบาลในสังกัดออกหน่วยบริการเชิงรุก โดยให้การดูแลรักษาคำแนะนำเบื้องต้น พร้อมความรู้ในการป้องกันโรคแก่ประชาชนและเครือข่ายทั้งภายในโรงพยาบาล และชุมชนบริเวณพื้นที่ใกล้เคียงรอบโรงพยาบาลในช่วงสถานการณ์ค่าฝุ่น PM2.5 วิกฤตหนาแน่น รวมทั้งรณรงค์ส่วนราชการในสังกัดร่วมมือลดฝุ่น PM2.5 การเดินทาง ลดปริมาณการใช้ยานพาหนะในช่วงที่กรุงเทพฯ มีแนวโน้มปริมาณฝุ่น PM2.5 เพิ่มสูงขึ้น ร่วมลดฝุ่น PM2.5 ในรูปแบบต่าง ๆ ประกอบด้วย การเหลื่อมเวลาทำงาน การส่งเสริมให้บุคลากรใช้รถขนส่งสาธารณะมากขึ้น เพื่อลดความหนาแน่นของรถและลดการสร้างมลพิษทางอากาศ ประชาสัมพันธ์ "ดับเครื่องยนต์เมื่อจอดรถ ลดฝุ่น PM 2.5" กำชับพนักงานขับรถยนต์ดับเครื่องยนต์ทุกครั้ง เมื่อไม่ปฏิบัติงานหรือจอดรถรับ-ส่ง เพื่อลดปัญหาการเกิดมลพิษทางอากาศที่เกิดจากไอเสียของเครื่องยนต์จากยานพาหนะ ซึ่งการติดเครื่องยนต์ทิ้งไว้ขณะจอดรถ ส่งผลให้ไอเสียที่ปล่อยออกมาจะมีมลพิษมากกว่ารถแล่นตามปกติถึง 5 เท่า จึงควรดับเครื่องยนต์ของยานพาหนะทุกชนิดเมื่อจอด โดยเฉพาะเมื่ออยู่ในเขตชุมชน เพื่อลดปัญหาการเกิดมลพิษด้านฝุ่นละอองทางอากาศที่เกิดจากไอเสียของเครื่องยนต์จากยานพาหนะ
ที่มา: กรุงเทพมหานคร