โครงการ AYF จัดขึ้นร่วมกันเป็นประจำทุกปีโดยมูลนิธิ Singapore International Foundation (SIF) และ National Youth Council (NYC) มีเป้าหมายเพื่อเชื่อมโยง และส่งเสริมผู้นำรุ่นใหม่ให้เติบโต โดยมุ่งเน้นความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน
โครงการ AYF พ.ศ. 2567 ได้พาผู้นำเยาวชนเหล่านี้เดินทางไปยังสาธารณรัฐสิงคโปร์ รวมถึงเมืองเวียงจันทน์ และเมืองหลวงพระบางในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ในระหว่างโครงการ พวกเขาได้ร่วมหารือเกี่ยวกับหัวข้อต่าง ๆ เช่น การเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัล การยอมรับความหลากหลาย และความยั่งยืนในภูมิภาคกับผู้นำทางความคิดชั้นนำจากหลากหลายภาคส่วน พวกเขายังได้ร่วมกันระดมความคิดเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาท้าทายร่วมกันในด้านต่างๆ เหล่านี้
ผู้นำเยาวชนเหล่านี้ยังได้มีโอกาสสนทนากับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการของสาธารณรัฐสิงคโปร์ นายชาน ชุน ซิง ที่สิงคโปร์ และ รองเลขาธิการสหภาพเยาวชนลาว ฯพณฯ ทองลี สีสุลิด ที่เมืองเวียงจันทน์ ทั้งสองท่านได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของการเสริมสร้างการสานสัมพันธ์ ความเข้มแข็ง และความร่วมมือในภูมิภาคอาเซียน
ในสาธารณรัฐสิงคโปร์ และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ผู้นำเยาวชนได้เยี่ยมชมองค์กรต่าง ๆ ที่เป็นผู้นำด้านนวัตกรรม และความพร้อมในอนาคต และ รวมถึงการเยี่ยมชมฟาร์มพลังงานแสงอาทิตย์ลอยน้ำ (Sembcorp Tengeh) ซึ่งเป็นระบบพลังงานแสงอาทิตย์แบบลอยน้ำแห่งแรกของสาธารณรัฐสิงคโปร์ นอกจากนี้ ผู้เข้าร่วมโครงการยังได้เห็นการตรวจคนเข้าเมืองของ Immigration & Checkpoints Authority (ICA) ในการใช้เทคโนโลยีเพื่อการจัดการการควบคุมชายแดนที่จุดตรวจวู้ดแลดน์ (Woodlands Checkpoint) ซึ่งเป็นหนึ่งในจุดผ่านแดนทางบกที่พลุกพล่านที่สุดแห่งหนึ่งของโลก โดยรองรับผู้เดินทางเฉลี่ยวันละ 400,000 คน
นางสาวเพชรมณี วิยเดช ผู้นำเยาวชนฯ จากประเทศลาวกล่าวว่า "ภูมิภาคอาเซียนมีโอกาสอันดีในการร่วมมือเพื่อใช้นวัตกรรมในการแก้ปัญหาในพื้นที่เช่น การศึกษาที่สามารถนำภูมิภาคเติบโตได้ในระยะยาว ตัวอย่างเช่น เราสามารถสร้างกรอบการศึกษาในระดับภูมิภาคเพื่อเพิ่มการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพและความรู้ด้านดิจิทัลได้ โดยการร่วมมือเพื่อปรับปรุงการศึกษาและแก้ปัญหาช่องว่างด้านทักษะ ภูมิภาคอาเซียนจะสามารถสร้างชุมชนที่มีความยืดหยุ่นมากขึ้น มีทักษะเพิ่มขึ้น และมีแนวคิดก้าวหน้า พร้อมที่จะรับมือกับความท้าทายในอนาคต"
ที่เมืองเวียงจันทน์ เหล่าผู้นำเยาวชนได้เยี่ยมชม Makerbox Lao ซึ่งเป็นพื้นที่ทำงานของชุมชนที่ใช้ประโยชน์จากสิ่งอำนวยความสะดวกด้านการผลิตดิจิทัลที่ทันสมัยสำหรับการทดลองโครงการด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม ศิลปะ และคณิตศาสตร์ (STEAM) ผู้ก่อตั้ง Makerbox Lao ได้พูดคุยเกี่ยวกับวิธีการร่วมมือกันของที่นี่ที่ได้ช่วยส่งเสริมนวัตกรรมในชุมชน สอดคล้องกับบทบาทของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวในฐานะประธานอาเซียนในปี พ.ศ. 2567 ในการเสริมสร้างความร่วมมือข้ามพรมแดนเพื่ออาเซียนที่เชื่อมโยงและนวัตกรรมที่มากขึ้น นอกจากนี้ พวกเขายังได้เยี่ยมชมเมืองหลวงพระบาง ซึ่งเป็นแหล่งมรดกโลกของ UNESCO และได้ร่วมทำงานฝีมือที่ Ock Pop Tock องค์กรที่อุทิศตนเพื่อรักษาเอกลักษณ์ผ้าทอ และหัตถกรรมพื้นบ้านของลาว
นายอิศรารุดดิน ผู้นำเยาวชนจากประเทศอินโดนีเซีย กล่าวว่า "การมีความสัมพันธ์ระหว่างภูมิภาคอาเซียน สามารถเสริมสร้างการปรับตัว โดยบ่มเพาะการแบ่งปันองค์ความรู้ และทรัพยากรที่มีอยู่ร่วมกัน อีกทั้งมีแนวปฎิบัติที่ดีทั่วภูมิภาค ดังนั้นการร่วมมือเช่น การตอบสนองต่อภัยพิบัติอย่างเร่งด่วน พร้อมโครงการสนับสนุนด้านการแพทย์สามารถเพิ่มความยืดหยุ่น จึงช่วยให้ประเทศต่าง ๆ ช่วยเหลือกันในยามวิกฤต โดยการการเสริมความแข็งแกร่งความสัมพันธ์ทั่วทั้งภูมิภาคอาเซียน สามารถเปิดโอกาสในพื้นที่ต่าง ๆ ได้ประโยชน์จากเครือข่ายที่กว้างขึ้น ลดความเสี่ยง และเพิ่มศักยภาพของพวกเขาให้สามารถเผชิญกับความท้าทายในอนาคตร่วมกัน"
เพื่อกระตุ้นให้ผู้นำเยาวชนสานต่อความร่วมมือหลังจบโครงการ และสร้างผลกระทบที่ยิ่งใหญ่ขึ้นในภูมิภาค ทางโครงการจึงได้เปิดตัวกองทุน AYF Impact Fund เพื่อสนับสนุนโครงการริเริ่ม ที่ช่วยส่งเสริมการพัฒนาเยาวชน การสร้างชุมชน และสาเหตุอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยมอบทุนสนับสนุนให้แก่โครงการริเริ่มของผู้นำเยาวชนแต่ละคนสูงสุด 5,000 ดอลลาร์สิงคโปร์ หรือสำหรับโครงการที่ดำเนินการเป็นทีม สูงสุด 20,000 ดอลลาร์สิงคโปร์
ผู้นำเยาวชนจากสิงคโปร์ เมียนมาร์ เวียดนาม และฟิลิปปินส์ ได้ใช้กองทุนนี้ในปี พ.ศ. 2562 เพื่อสร้างเว็บไซต์ ASEAN Women Empowerment Portal ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มที่เปิดโอกาสให้สตรีทั่วอาเซียนได้แลกเปลี่ยนความคิด และประสบการณ์ รวมถึงเรียนรู้จากกัน และกันเกี่ยวกับประเด็นเฉพาะในภูมิภาค
นายจานู มูฮัมหมัด ผู้นำเยาวชนจากประเทศอินโดนีเซียได้แรงบันดาลใจจากกองทุน AYF Impact โดยกล่าวว่า "เกษตรกรรุ่นใหม่จำนวนมากในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กำลังเผชิญกับความท้าทายที่เกี่ยวกับ ความสนใจต่อการเกษตรที่ลดลงความไม่มั่นคงทางเศรษฐกิจในฐานะเกษตรกร ขาดความสามารถในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการเข้าถึงทรัพยากรที่จำกัด
ผมหวังว่าจะส่งเสริมผู้ประกอบการด้านการเกษตรโดยใช้ AI และอินเทอร์ในทุกสิ่ง (IoT) ผ่านกองทุน AYF Impact เพื่อเพิ่มรายได้ให้แก่ เกษตรกรรุ่นใหม่ในภาคส่วนการทำเกษตรไร้ดิน (ไฮโดรโปนิกส์) และ การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำแบบหมุนเวียน (อะควาโปนิกส์) ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อให้พวกเขามีศักยภาพที่เพิ่มขึ้น และผมกำลังมองถึงการดำเนินแผนโครงการนำร่องนี้ร่วมกับนักผู้นำเยาวชนในโครงการนี้ จากอินโดนีเซียและกัมพูชา"
เดวิด ชู ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร NYC กล่าวว่า "AYF เป็นโครงการผู้นำเยาวชนสำคัญที่เพาะบ่ม และเชื่อมโยงผู้นำเยาวชนรุ่นใหม่จากหลากหลายภาคส่วนทั่วอาเซียน เยาวชนของเรามีบทบาทสำคัญในการเสริมสร้างความสัมพันธ์ระดับภูมิภาค และ AYF เป็นจุดเริ่มต้นในการสร้างผลกระทบระดับภูมิภาคเปิดโอกาสให้เยาวชนได้รับข้อมูลเชิงลึกและเครือข่ายที่มี ค่าเพื่อรับมือกับความท้าทายที่ซับซ้อนของอาเซียน"
คอรินน่า ชาน ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ SIF กล่าวว่า "ท่ามกลางความท้าทายระดับโลก เช่น การเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ ความมั่นคงทางอาหาร และสาธารณสุข เยาวชนสามารถผลักดันการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ด้วยมุมมองใหม่ ๆ และวิธีการที่กล้าหาญ "ข้าพเจ้ารู้สึกยินดีที่ AYF ยังคงเป็นเวทีที่เชื่อมโยงเยาวชนผู้นำอาเซียนมารวมตัวกัน เพื่อทำงานร่วมกัน และร่วมมือกันเพื่อสร้างอาเซียนที่ไร้รอยต่อ และเต็มไปด้วยนวัตกรรม"
ที่มา: RICE Communications Thailand