How to ลด …ชวนรู้วิธีป้องกันและลด Food Waste ฉบับผู้จำหน่ายอาหารและผู้ประกอบอาหารที่ทำได้ทันที !

อังคาร ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๖๗ ๑๑:๒๒
ขยะอาหาร (Food Waste) ที่มาจากผู้จำหน่ายอาหารและผู้ประกอบอาหาร ถือเป็นส่วนหนึ่งของแหล่งกำเนิดปัญหาขยะอาหารที่ส่งผลเสียคุกคามสิ่งแวดล้อมอย่างไม่รู้จบ ดังนั้นการป้องกันและลดขยะอาหารตั้งแต่ต้นทางจากแหล่งกำเนิด จะช่วยให้ปริมาณขยะอาหารของประเทศลดลงไปได้ ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ (Sustainable Development Goals: SDGs 12.3) ที่ต้องการลดปริมาณขยะอาหารของโลกให้ลดลงครึ่งหนึ่งในระดับค้าปลีกและผู้บริโภค ภายในปี 2573
How to ลด ชวนรู้วิธีป้องกันและลด Food Waste ฉบับผู้จำหน่ายอาหารและผู้ประกอบอาหารที่ทำได้ทันที !

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกรมควบคุมมลพิษ เผยถึงวิธีป้องกันและลดขยะอาหาร ณ แหล่งกำเนิด ฉบับผู้จำหน่ายอาหารและผู้ประกอบอาหารไว้ในแผนปฏิบัติการจัดการขยะอาหาร ระยะที่ 1 (2566-2570) ที่มุ่งเน้นเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้จำหน่ายอาหารและผู้ประกอบอาหาร รวมถึงผู้บริโภคผ่านมาตรการด้านการป้องกันและลดการเกิดขยะอาหาร ซึ่งเป็นหนึ่งในมาตรการสำคัญของแผนปฏิบัติการฯ โดยผู้จำหน่ายอาหาร ได้แก่ ห้างสรรพสินค้า ซูเปอร์มาร์เก็ต ตลาด ร้านสะดวกซื้อ และร้านขายของชำ ส่วนผู้ประกอบอาหาร ได้แก่ โรงแรม ภัตตาคาร ร้านอาหาร ร้านอาหารสตรีทฟู้ด โรงพยาบาล อาคารสานักงาน/องค์กรและโรงอาหารภายในอาคาร ผู้ประกอบการรับจัดเลี้ยง/โต๊ะจีน ศูนย์อาหาร เรือนจำ การกีฬา และศาสนสถาน ซึ่งผู้จำหน่ายและผู้ประกอบอาหารทั้งหมดนี้ ถือเป็นแหล่งกำเนิดขยะอาหารต้นทางที่หากไม่มีการบริหารจัดการให้ถูกต้องและเหมาะสม อาจทำให้ขยะอาหารมีปริมาณเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิมได้

ดังนั้นในแผนปฏิบัติการฯ จึงได้ตั้งเป้าดำเนินงานเพื่อป้องกันและลดขยะอาหารในกลุ่มผู้จำหน่ายอาหารและผู้ประกอบอาหารไว้ โดยเริ่มจาก จัดทำองค์ความรู้หรือแนวปฏิบัติและดำเนินงานในการจัดซื้อและขนส่งอาหาร การประกอบอาหาร การจำหน่ายอาหาร และเก็บรักษาอาหาร ซึ่งสามารถทำได้ทันที ไม่ว่าจะเป็น การจัดเมนูอาหารให้พอดีและเลือกวัตถุดิบตามฤดูกาล โดยวางแผนจัดซื้อแลเก็บข้อมูลปริมาณขยะอาหารสำหรับใช้ในการวางแผนจัดซื้อ การป้องกันอาหารและวัตถุดิบไม่ให้เน่าเสียหรือเสียหายระหว่างขนส่ง เช่น ปรับปรุงวิธีการขนส่งให้สอดคล้องกับประเภทอาหารหรือวัตถุดิบ ตัดแต่งวัตถุดิบเพื่อให้เกิดขยะอาหารน้อยที่สุด ดัดแปลงเมนูอาหารและเพิ่มมูลค่าอาหารส่วนเกิน ด้านการจำหน่ายอาหารและการเก็บรักษาอาหาร ก็สามารถบริหารจัดการป้องกันและลดขยะอาหารได้ โดยขายอาหารหลายขนาดและประกอบอาหารให้พอดีกับปริมาณลูกค้า เก็บรักษาอาหารแต่ละประเภทอย่างถูกต้องและเหมาะสม รวมถึงการถนอมอาหาร และการเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ยืดอายุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

นอกจากนี้การป้องกันและลดขยะอาหารยังสามารถจัดโปรแกรมจำหน่ายอาหารหรือวัตถุดิบที่เน่าเสียง่าย ที่มีลักษณะไม่สวย หรือ ใกล้หมดอายุ เช่น ลดราคาผักและผลไม้ที่มีลักษณะไม่สวย สินค้าอาหารที่ใกล้หมดอายุ หรืออาหารพร้อมทานที่ผลิตวันต่อวันในช่วงเวลาใกล้ปิดทำการ ส่งเสริมการจัดการอาหารในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อลดการเกิดขยะอาหาร ทั้งดัดแปลงเมนูอาหารโดยใช้อาหารส่วนเกิน บริจาคอาหารส่วนเกินให้กับมูลนิธิต่าง ๆ ขายอาหารหลากหลายขนาด เช่น อาหารตามสั่งข้าวน้อย ข้าวมาก หรือ ข้าวปกติ เป็นต้น หรือจัดโปรโมชันเมนูอาหารขายดีและขายไม่ดีคู่กัน เพื่อลดขยะอาหารจากเมนูที่ขายไม่ดีและการจัดอาหารหรือจัดประชุมแบบบุฟเฟต์ ส่งเสริมธุรกิจบริการจัดส่งอาหาร (Food Delivery) โดยให้มีการวางแผนงานบริการตั้งแต่การตรวจสอบรายการสั่งซื้อและการขนส่งที่เหมาะสมกับประเภทอาหาร เพื่อไม่ให้ผู้ซื้อและผู้บริโภคปฏิเสธการรับอาหารที่อาจส่งผลต่อการเกิดขยะอาหารได้ จัดทำโครงการต้นแบบในการประชุมใช้แนวทางปฏิบัติป้องกันและลดการเกิดขยะอาหาร สำหรับธุรกิจจำหน่ายอาหารและประกอบอาหาร โดยคัดเลือกผู้จำหน่ายอาหารและผู้ประกอบอาหารนำร่องในการประยุกต์ใช้แนวปฏิบัติในการบริหารจัดการเพื่อป้องกันและลดการเกิดขยะอาหาร และเพื่อเป็นต้นแบบนำไปสู่การวางระบบของประเทศต่อไป รณรงค์ประชาสัมพันธ์เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจ ปลูกจิตสำนึกและสร้างความร่วมมือ กับผู้จำหน่ายอาหารและผู้ประกอบอาหารในการปรับเปลี่ยนแนวปฏิบัติเพื่อป้องกันและลดการเกิดขยะอาหาร เช่น การให้ความรู้ความเข้าใจแก่ผู้จำหน่ายอาหารและผู้ประกอบการอาหารเกี่ยวกับประโยชน์ที่จะได้รับจากการปรับรูปแบบการบริหารจัดการเพื่อลดการเกิดขยะอาหารซึ่งจะช่วยลดต้นทุนและสร้างกำไรให้มากขึ้น รวมถึงโทษของขยะอาหารและการใช้ทรัพยากรต่าง ๆ เพื่อนำมาผลิตอาหาร ตลอดจนการสร้างเครือข่ายระหว่างภาครัฐ ผู้จำหน่ายอาหาร และผู้ประกอบอาหาร ในการดำเนินการป้องกันและลดการเกิดขยะอาหารและจัดการขยะอาหาร รวมถึงรายงานผล เช่น การทำ MOU หรือ ประกาศเจตนารมณ์ร่วมกัน เป็นต้น

ไม่ว่าขยะอาหารในมือเราจะมาจากมื้อไหน ก็จะค่อย ๆ ลดลงไปได้ หากผู้จำหน่ายอาหารและผู้ประกอบอาหารนำแนวทางเหล่านี้มาปรับประยุกต์ใช้ ซึ่งถือเป็นหนึ่งแรงขับเคลื่อนสำคัญในการป้องกันและลดการเกิดขยะอาหารได้เป็นอย่างดี เพราะนอกจากจะช่วยลดปริมาณการเกิดขยะอาหารจากแหล่งกำเนิดและช่วยลดโลกร้อนได้แล้ว ยังช่วยสนับสนุนให้แผนปฏิบัติการจัดการขยะอาหาร ระยะที่ 1 (2566-2570) ได้เดินหน้าไปสู่เป้าหมายที่ต้องการให้สัดส่วนขยะอาหารลดลงเหลือไม่เกิน ร้อยละ 28 ภายในปี 2570 ได้อีกด้วย

ที่มา: ซี.เอ.อินโฟมีเดีย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๓:๔๘ กลุ่มเซ็นทรัล สานฝันกรุงเทพฯสู่ เมืองเดินได้-เมืองเดินดี แบ่งปันทางเดินเท้าหน้า เซ็นทรัล เอ็มบาสซี เพื่อคุณภาพชีวิตของคนเมือง ตามแนวคิด Central of Life
๑๑:๕๔ KJL ผู้นำด้านนวัตกรรมไฟฟ้า ครอบคลุมทุกการใช้งาน ประเดิมจัดสัมมนารวมพลคนไฟฟ้า โซลาร์รูฟ (Solar Rooftop
๑๑:๕๓ ซีพี แอ็กซ์ตร้า เคียงข้างสังคมไทย สนับสนุนกิจกรรม หนาวนี้ทำดีเพื่อพ่อ 2568 ต่อเนื่องปีที่ 3 ร่วมส่งเสริมให้คนไทยมีสุขอนามัยและคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น
๑๑:๒๙ สวธ. มอบรางวัลบอร์ดเกมเล่าเรื่องราว กทม. เผยเป็น Soft Power ส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ พร้อมเตรียมนำไปแสดงที่เยอรมัน ในปี
๑๑:๒๘ เอสพี กรุ๊ป เข้าซื้อกิจการพลังงานหมุนเวียนครั้งแรกในประเทศไทย พร้อมตอบสนองแผนพัฒนาพลังงานทางเลือกของรัฐ
๑๑:๔๑ พีทีที ลูบริแคนท์ส ลดก๊าซเรือนกระจกกว่า 8,000 กิโลกรัม ยกระดับการรักษ์โลก ผ่านโครงการ เซฟโลก เซฟรถ เพื่ออนาคตน้อง
๑๑:๒๙ ก๊าซหุงต้ม ปตท. จับจริง แจกจริง! ประกาศรางวัลครั้งที่ 1 กับแคมเปญ ซีลทอง QR พารวยกับ ก๊าซหุงต้ม ปตท. ชวนลุ้นโชคใหญ่ทองคำแท่ง 20 บาท
๑๑:๐๖ พัฒนาอินเตอร์คูล เปิดบ้านจัดกิจกรรม OPEN HOUSE ครั้งยิ่งใหญ่แห่งปี
๑๑:๑๐ How to ลด ชวนรู้วิธีป้องกันและลด Food Waste ฉบับผู้จำหน่ายอาหารและผู้ประกอบอาหารที่ทำได้ทันที !
๑๑:๑๓ ปกป้องโลกด้วยมือเรา ลดขยะอาหารตั้งแต่ที่บ้าน