DPU คณะการท่องเที่ยวฯ สุดปัง! ยอด นศ.ใหม่เพิ่มกว่า 20% สาขาการโรงแรมรั้งที่ 1 ตามด้วย การท่องเที่ยวและศิลปะการประกอบอาหาร

พุธ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๗ ๑๐:๐๓
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (DPU) คณะการท่องเที่ยวและการโรงแรม มุ่งเน้นเสริมทักษะการเพิ่มการบริการมูลค่าสูง (High Value Added Services) ในทุกหลักสูตร โดยเฉพาะสาขาการโรงแรมที่ได้รับความนิยมอันดับ 1 หวังเตรียมความพร้อมนักศึกษาสู่การเป็นบุคลากรคุณภาพในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการโรงแรมระดับสูง รองรับตลาดนักท่องเที่ยว "กลุ่มไฮเอนด์" ที่มีกำลังซื้อสูง สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาการท่องเที่ยวของไทยในปัจจุบัน
DPU คณะการท่องเที่ยวฯ สุดปัง! ยอด นศ.ใหม่เพิ่มกว่า 20% สาขาการโรงแรมรั้งที่ 1 ตามด้วย การท่องเที่ยวและศิลปะการประกอบอาหาร

ดร.ยุวรี โชคสวนทรัพย์ คณบดีคณะการท่องเที่ยวและการโรงแรม มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (DPU) เปิดเผยว่า การขาดแคลนบุคลากรในภาคอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและการโรงแรม ประกอบกับการส่งเสริมการท่องเที่ยวจากภาครัฐและเอกชน รวมถึงประเทศไทยได้รับการจัดอันดับจากนิตยสารท่องเที่ยวทรงอิทธิพลในสหรัฐอเมริกาอย่าง Travel + Leisure ให้เป็นจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวแห่งปี 2568 (Destination of the Year 2025) ส่งผลให้ปีนี้มีผู้สนใจสมัครเข้าศึกษาในคณะฯ เพิ่มขึ้นกว่า 20% โดยสาขาการโรงแรมได้รับความนิยมอันดับ 1 ตามด้วยสาขาการท่องเที่ยวและศิลปะการประกอบอาหาร สำหรับรูปแบบการท่องเที่ยวในปัจจุบันมีแนวโน้มเป็นการท่องเที่ยวแบบอิสระและกลุ่มเล็ก โดยนักท่องเที่ยวจีนยังคงเป็นกลุ่มหลัก และมีการเพิ่มขึ้นของนักท่องเที่ยวชาวสเปน ส่งผลให้ตลาดท่องเที่ยวมีความต้องการไกด์ภาษาสเปนเพิ่มขึ้น ทางคณะฯเล็งเห็นโอกาสนี้ จึงได้เปิดหลักสูตรอบรมมัคคุเทศก์ทั่วไป (ต่างประเทศ) สำหรับบุคคลทั่วไประยะเวลา 6 เดือน โดยปัจจุบันดำเนินการเป็นรุ่นที่ 2 และได้จัดให้มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างผู้เข้าอบรมและนักศึกษาระดับปริญญาตรี เพื่อสร้างความเข้าใจในวิชาชีพมัคคุเทศก์อย่างกว้างขวาง

ในปีการศึกษา 2567 ได้ปรับปรุงโครงสร้างหลักสูตรในระดับปริญญาตรีจากเดิมมี 2 สาขาวิชา ได้แก่ 1.การท่องเที่ยวและธุรกิจอีเวนต์ และ 2. การโรงแรมและธุรกิจอาหาร เป็น 3 สาขาวิชา โดยเพิ่มสาขาวิชาศิลปะการประกอบอาหาร เป็นสาขาใหม่ล่าสุด ทั้งนี้ ทุกสาขาวิชาได้เพิ่มแนวคิดการเพิ่มการบริการมูลค่าสูง (High Value Added Services) เข้าไปในหลักสูตร ทั้งนี้นักศึกษาแต่ละหลักสูตรมีจุดเด่นที่แตกต่างกัน โดยนักศึกษาสาขาการท่องเที่ยวจะเข้าใจกระบวนการจัดการและระบบการทำงาน นักศึกษาสาขาการโรงแรมจะมีความเชี่ยวชาญด้านงานบริการ และนักศึกษาสาขาอาหารจะมีความโดดเด่นด้านความคิดสร้างสรรค์และการออกแบบอาหาร ดังนั้นทางคณะฯ จึงเน้นส่งเสริมให้นักศึกษาทั้ง 3 หลักสูตรได้ฝึกปฏิบัติงานร่วมกันในพื้นที่จริง เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และพัฒนาทักษะให้ครอบคลุมทุกด้าน

ดร.ยุวรี กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับการพัฒนาหลักสูตรการท่องเที่ยว จะมุ่งเน้นการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม โดยอาศัยความเชี่ยวชาญของคณาจารย์ที่มีประสบการณ์ด้านมัคคุเทศก์และความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรม พร้อมเสริมการให้บริการมูลค่าสูงสู่การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและการท่องเที่ยวชุมชน ผ่านความร่วมมือกับองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (อพท.) และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) โดยล่าสุดได้รับเกียรติจากททท.สำนักงานนครนายก ในฐานะสถาบันการศึกษาเพียงแห่งเดียวที่ได้รับเชิญให้ร่วมทดสอบและให้คำแนะนำเส้นทางการท่องเที่ยว อีกทั้งยังร่วมมือกับ ททท. สำนักงานจันทบุรี ในการพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชน โดยเฉพาะการเชื่อมโยงชุมชนบางสระเก้า ผู้ผลิตเสื่อกกจันทบูร กับชุมชนหนองบัว หรือชุมชนขนมแปลก ผ่านการท่องเที่ยวทางน้ำ เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นและสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ชุมชน

ในส่วนของหลักสูตรศิลปะการประกอบอาหารนั้น ปัจจุบันตลาดแรงงานมีความต้องการบุคลากรด้านการทำอาหารสูง ทางคณะฯจึงได้มีการเชิญผู้เชี่ยวชาญและเชฟมืออาชีพมาถ่ายทอดความรู้ พร้อมผนวกแนวคิดการสร้างมูลค่าเพิ่มและการบริการที่มีคุณภาพสูง โดยเฉพาะในยุคที่เทคโนโลยี AI (Artificial Intelligence) เข้ามามีบทบาทในทุกสายอาชีพ แต่งานด้านการบริการยังคงต้องอาศัยทักษะความเข้าใจมนุษย์เป็นสำคัญ สำหรับจุดเด่นของคณะฯ คือ การมีพันธมิตรที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านและมีชื่อเสียงระดับสากล เพื่อเพิ่มโอกาสในการฝึกงานและการประกอบอาชีพในอนาคต

นอกจากนี้ทางคณะฯ ยังได้รับการยอมรับจากภาคธุรกิจ หลังจากได้รับเชิญให้เป็นผู้ฝึกสอนมารยาทบนโต๊ะอาหาร (Table Manners) ให้แก่ทีมงานผู้ผลิตซีรีส์ "สืบสันดาน" ของ Netflix ส่งผลให้ได้รับความไว้วางใจในการบริการจัดเลี้ยง ลูกค้า VIP และผู้บริหารระดับสูง จากบริษัทต่างๆ อาทิ จูเลียส แบร์ ,สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง เป็นต้น

"เรายังได้พัฒนาความร่วมมือกับโรงแรมระดับ 5 ดาว โดยได้ลงนามบันทึกข้อตกลง (MOU) กับโรงแรมแมริออท พร้อมส่งนักศึกษาเข้าร่วมโครงการ Fast Track จำนวน 4 คน ซึ่งโครงการนี้ได้คัดเลือกนักศึกษาตามความสมัครใจและความพร้อม โดยนักศึกษาจะต้องเรียนภาคทฤษฎีอย่างเข้มข้น 3 ปี และปฏิบัติงานจริง 1 ปี และเป็นการฝึกงานแบบ CWIE (Cooperative and Work Integrated Education) ที่เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ฝึกงานในทุกแผนก และยังมีความร่วมมือกับโรงแรมระดับ 5 ดาวอื่น ๆ อาทิ โรงแรมเซ็นทารา และโรงแรมบันยันทรี ซึ่งมีมาตรฐานการบริการระดับสากล เพื่อเพิ่มโอกาสการในการฝึกงานในโรงแรมระดับนานาชาติให้แก่นักศึกษาในอนาคต"ดร.ยุวรี กล่าวในตอนท้าย

สำหรับผู้สนใจ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://tourism.dpu.ac.th/

ที่มา: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

DPU คณะการท่องเที่ยวฯ สุดปัง! ยอด นศ.ใหม่เพิ่มกว่า 20% สาขาการโรงแรมรั้งที่ 1 ตามด้วย การท่องเที่ยวและศิลปะการประกอบอาหาร

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๐ ธ.ค. ASMT ผนึก TFT ร่วมลงนามด้านวิชาการด้านอุตสาหกรรมการบิน
๒๐ ธ.ค. กรมวิชาการเกษตร เดินหน้า ถ่ายทอดองค์ความรู้การผลิตอะโวคาโดคุณภาพ สร้างรายได้เพิ่มให้เกษตรกรกว่า 2 แสนบาท/ไร่
๒๐ ธ.ค. Dow มุ่งพัฒนาประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์ Personal Care ควบคู่ความยั่งยืน ตอบโจทย์ผู้บริโภคตลาดเครื่องสำอางในภูมิภาคเอเชีย
๒๐ ธ.ค. โอซีซี มอบความรู้ พัฒนาอาชีพให้ผู้ต้องขังหญิง
๒๐ ธ.ค. ดร.นุชนารถ ชลคงคา นำทีมสถาบัน ESTC จัดอบรมให้ Karmakamet
๒๐ ธ.ค. กนภ. เห็นชอบร่าง พรบ. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กลไกสำคัญสู่เส้นทางเศรษกิจคาร์บอนต่ำ และมีภูมิคุ้มกันฯ
๒๐ ธ.ค. WePlay x คอลแลบตัวละครสุดปัง! พบกับมินิเกมใหม่ และการ์ตูนสุดน่ารักที่คุณจะต้องหลงรัก
๒๐ ธ.ค. เดลต้า ประเทศไทย และ WEnergy Global ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงเพื่อขับเคลื่อนอนาคตพลังงานสีเขียว
๒๐ ธ.ค. ความภาคภูมิใจของ ไลอ้อน กับ 3 รางวัลแห่งเกียรติยศ เผยผลงานโดดเด่นกับหลายรางวัลที่ได้รับในปี 2567
๒๐ ธ.ค. NOBLE คว้าเรทติ้งสูงสุด ระดับ AAA SET ESG Ratings ประจำปี 2567 ยกระดับองค์กรสู่ความยั่งยืนภายในแนวคิด Live Different ตามกรอบ