"ภาวะโรคซ้ำซ้อน" ทำให้การดูแลสุขภาพซับซ้อนมากขึ้น เพราะคนเราป่วยได้หลายโรคพร้อมกัน แบ่งเป็น 3 ประเด็นหลักๆ คือ
- คนไข้ป่วยหลายโรคพร้อมกัน (Complexity of disease): หมายถึงปัญหาสุขภาพที่ซับซ้อน ปัจจุบัน คนไข้คนหนึ่งๆ มักป่วยหลายโรค ทั้งโรคติดต่อ เช่น ไข้หวัดใหญ่ และโรคไม่ติดต่อ เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจ ทำให้การดูแลรักษามีความซับซ้อนมากขึ้น บุคลากรทางการแพทย์จึงต้องหาแนวทางรักษาที่เหมาะสมกับคนไข้เฉพาะรายบุคคลมากขึ้น โดยอาศัยหลักฐานทางวิชาการที่น่าเชื่อถือ
- การดูแลคนไข้เฉพาะรายบุคคล (Person centered care): หมายถึงการดูแลสุขภาพที่เน้นความต้องการและความแตกต่างของแต่ละบุคคล วงการแพทย์และทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องควรต้องหาแนวทางดูแลรักษาคนไข้เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดจากทรัพยากรที่มีจำกัด โดยคำนึงถึงความแตกต่างของแต่ละบุคคล
- งบประมาณจำกัด (Economic burden): หมายถึงการบริหารจัดการทรัพยากรทางการแพทย์ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ขณะที่การดูแลสุขภาพแบบรายบุคคลต้องใช้ทรัพยากรมากขึ้น ดังนั้น จึงต้องอาศัยความร่วมมือเพื่อหาวิธีดูแลคนไข้ให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด ด้วยงบประมาณที่มีอยู่อย่างจำกัด ซึ่งพยาบาลมีบทบาทสำคัญในการดูแลคนไข้ให้ได้รับการดูแลที่เหมาะสม
การประชุมนานาชาติครั้งนี้ จึงนับเป็นอีกเวทีสำคัญในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และนำเสนอแนวคิดใหม่ๆ ในการจัดการกับภาวะโรคซ้ำซ้อน มุ่งเน้นการใช้ผู้ป่วยและครอบครัวเป็นหลัก โดยพยาบาลมีบทบาทในการเป็นผู้นำในการดูแลสุขภาวะของประชาชน รวมถึงประยุกต์ใช้องค์ความรู้จากการศึกษา การวิจัย และการบริการวิชาการทางการพยาบาล เพื่อพัฒนานวัตกรรมและแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศในการจัดการภาวะโรคซ้ำซ้อน และสร้างเครือข่ายความร่วมมือของผู้เข้าร่วมการประชุมในการเสริมสร้างการเป็นพันธมิตรไปสู่การพัฒนาสุขภาพอย่างยั่งยืน
โอกาสนี้ จึงขอเชิญชวนพยาบาล สหสาขาวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง และผู้สนใจ เข้าร่วมประชุมวิชาการฯ ตามวันและเวลาดังกล่าว และเชิญชวนร่วมส่งบทคัดย่อนำเสนอผลงาน ภายในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2567 โดยสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติม และสมัครออนไลน์ได้ทางเวบไซต์ https://ns.mahidol.ac.th/TBD2025/ หรือโทร. 02-441-5333 ต่อ 2460, 2465 และ 0-8180-43957
ที่มา: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล