ภาพที่ 1 หนี้ครัวเรือนในระบบเครดิตบูโรอยู่ที่ 13.6 ล้านล้านบาท (หนี้ครัวเรือนไทยทั้งหมด 16.3 ล้านล้านบาท) อัตราการเติบโต 0.5% YoY (Year on Year) ถ้าเป็น QoQ (Quarter on quarter) จะ -0.2% สรุปคือสินเชื่อไม่โต เศรษฐกิจในไตรมาส 3 เติบโต 3% ในช่วง 9 เดือนโต 2.3% สินเชื่อธุรกิจคนตัวเล็ก -4.6% YoY สินเชื่อเบิกเกินบัญชี -4.5% YoY
ภาพที่ 2 ระดับของหนี้เสีย หรือ NPL (Non-Performing Loan) ก็เป็นไปตามคาดมาอยู่ที่ประมาณ 1.2 ล้านล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 8.8% ของหนี้รวม 13.6 ล้านlล้านบาท คือเส้นสีแดงที่พุ่งขึ้นมาชัดเจนตั้งแต่ไตรมาส 1 ปี 2566 พักฐานไตรมาส 4 ปี 2566 แล้วไปต่อตั้งแต่ปี 2567 พร้อม ๆ กับมาตรการกลับไปสู่ความเป็นปกติ (normalize) เศรษฐกิจค่อย ๆ โตกลับมาอย่างเชื่องช้า มีเรื่องการให้กู้อย่างรับผิดชอบ การแก้หนี้เรื้อรัง และแก้หนี้ครบวงจร ภาพของเส้นหนี้เสียวิ่งจาก 7.7% สู่ 8.8%
ภาพที่ 3 หนี้ NPL ประมาณ 1.2 ล้านล้านบาทโดยประมาณ เติบโต 14.1% YoY 3.4% QoQ ซึ่ง NPL สินเชื่อบ้านรถยนต์ บัตรเดรดิต และสินเชื่อส่วนบุคคลนิ่ง ๆ หรือโตไม่มากจากไตรมาสก่อน แต่ที่กังวลมากคือสินเชื่อธุรกิจคนตัวเล็กหรือ SMEs เติบโต 20%YoY 5.2%QoQ อันนี้คือประเด็นสำคัญมาก ๆ
ภาพที่ 4 หนี้กำลังจะเสียหรือหนี้ที่ต้องจับตาเป็นพิเศษ หรือ SM (Special Mention) ยอดคงค้าง Q3 ปี 2567 มาหยุดที่ 4.8 แสนล้านบาทโดยประมาณ ลดลงมาทั้ง YoY และ QoQ
2 ภาพสุดท้าย คือ การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ที่มีปัญหา (Troubled Debt Restructuring: TDR) ซึ่งตัวเลขสะสมมาอยู่ที่ 1.03ล้านล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 7.6% ของ 13.6 ล้านล้านบาท เติบโต QoQ ติดลบประมาณ 3%
ในส่วนของ การปรับปรุงโครงสร้างหนี้เชิงป้องกันก่อนเป็นหนี้เสีย (Debt Restructuring : DR) ยอดสะสมตั้งแต่เมษายน 2567 มาหยุดที่ 1.2 ล้านบัญชี 6.45 แสนล้านบาท
ทั้งหมดคือข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น และหลายท่านจะได้นำไปประกอบการพิจารณากับมาตรการแก้หนี้บ้าน หนี้รถยนต์ หนี้ SMEs ที่กำลังจะประกาศความชัดเจนในเร็ววัน
ที่มา: ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ