สถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมปิดทองหลังพระฯ จับมือมหาวิทยาลัยแม่โจ้ (แพร่) ผลิต "มะนาวนอกฤดู" หนึ่งเทคนิค เพิ่มรายได้ฤดูแล้ง

จันทร์ ๒๕ พฤศจิกายน ๒๐๒๔ ๐๙:๓๒
ดร.ศรายุทธ ตรีรัตน์ ผู้เชี่ยวชาญด้านพืช สาขาเทคโนโลยีการผลิตพืช ม.แม่โจ้ (แพร่) ร่วมกับพนักงานสำนักงานปฏิบัติการภาคเหนือ ลงพื้นที่แปลงมะนาวบ้านยอด หมู่ 2 ตำบลยอด อำเภอสองแคว จังหวัดน่าน เพื่อพัฒนาพื้นที่เรียนรู้และฝึกปฏิบัติ การเพิ่มผลผลิตมะนาวนอกฤดู Social lab ปัจจุบันบ้านยอด หมู่ที่ 2 มีพื้นที่ปลูกมะนาวตาฮิติกว่า 589 ไร่ ซึ่งเกษตรกรได้รวมกลุ่มกันเป็น วิสาหกิจชุมชนผู้ปลูกมะนาวบ้านยอด มีกระบวนการผลิตได้รับมาตรฐาน GAP จำหน่ายให้บริษัทเอกชนเป็นรายได้หลักของคนในหมู่บ้าน
สถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมปิดทองหลังพระฯ จับมือมหาวิทยาลัยแม่โจ้ (แพร่) ผลิต มะนาวนอกฤดู หนึ่งเทคนิค เพิ่มรายได้ฤดูแล้ง

ในปี 2567 สถาบันปิดทองหลังพระ ได้ร่วมกับกลุ่มเกษตรกร 8 ราย พัฒนาและยกระดับเพิ่มผลผลิตมะนาวในฤดูแล้งจำนวน 80 ต้น โดยเริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนกรกฎาคม ตั้งแต่การตัดแต่งกิ่งมะนาวให้ได้ทรงพุ่มที่เหมาะสม การใช้สารพาโควบิวทราโซลชะลอการแตกยอด การใช้ปุ๋ย และการวางแผนระบบน้ำในแปลง

สำหรับการลงพื้นที่ของผู้เชี่ยวชาญมะนาวในครั้งนี้ ได้ติดตามการปลูกมะนาวตาฮิติ ในพื้นที่บ้านยอด ที่เป็นการปลูกลงดิน ในพื้นที่ธรรมชาติ โดยให้ความสำคัญในช่วงหลังการใช้ปุ๋ยบำรุงและสะสมอาหารของมะนาว ที่ต้องการผลผลิตนอกฤดู คือ การงดน้ำ เพื่อสร้างความเครียดให้ต้นมะนาว ต้นมะนาวจะรู้สึกว่ากำลังอยู่ในสภาวะที่อาจไม่เหมาะสมกับการเติบโต ทำให้พืชเข้าสู่ระยะพักตัว (Dormancy) และพร้อมตอบสนองทันทีเมื่อมีการกระตุ้นด้วยน้ำหรือสารอาหาร ในการพัฒนาเป็นดอก

การแนะนำการใช้ปุ๋ยสูตร 13-0-46 (โพแทสเซียมไนเตรต) เพื่อกระตุ้นให้ต้นมะนาวแตกดอก หลังจากผ่านความเครียดจากการงดน้ำซึ่งจะส่งผลให้มะนาวออกดอกพร้อมกัน และสามารถควบคุมเวลาเก็บเกี่ยวได้ โดยเกษตรกรผู้เข้าร่วมจะเริ่มทำการพ่นปุ๋ยทันทีและจะทำการติดตามผลหลังจากฉีดพ่นอีก 7 วัน เพื่อกระตุ้นการแตกตาดอก หากยังไม่ได้ตามที่ต้องการ จะทำการให้ปุ๋ย 13-0-46 อีกครั้ง โดยคาดการณ์ว่า หากมะนาวออกดอกภายในเดือน พฤศจิกายน จะยังทันการเก็บผลและส่งขายในเดือน เมษายน 2568

ผู้เชี่ยวชาญยังแนะนำปัจจัยเสี่ยงที่มีผลกระทบต่อการผลิตมะนาว 1) การควบคุมและกักน้ำ เนื่องจากหากฝนตกติดต่อกันหรือมีความชื้นสูง ในช่วง ตุลาคม - พฤศจิกายน จะทำให้มะนาวไม่เครียดตามที่ต้องการ และไม่เข้าสู่ระยะพักตัว ในอนาคตอาจแก้ไขด้วยการคลุมแปลงด้วยพลาสติก 2) การตัดแต่งกิ่งต้องเริ่มภายในเดือนกรกฎาคม - ต้นสิงหาคม และเกษตรกรต้องเด็ดขาดในการปลิดดอกและผลมะนาว

ที่มา: สถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๓๑ ม.ค. รู้จักโรคอ้วนดีแล้ว.จริงหรือ?
๓๑ ม.ค. บมจ.ไทยเซ็นทรัลเคมี ร่วมกับ MBK ส่งมอบปฏิทินในกิจกรรม ปฏิทินเก่ามีค่า เราขอ
๓๑ ม.ค. BSRC ออกหุ้นกู้รอบใหม่ 8,000 ล้านบาท ยอดจองเกินเป้า ตอกย้ำความเชื่อมั่นของผู้ลงทุน
๓๑ ม.ค. คปภ. ร่วมสัมมนาประกันภัย ครั้งที่ 29 เตรียมรับมือความเสี่ยงอุบัติใหม่ พลิกโฉมธุรกิจประกันภัยสู่ความท้าทายในอนาคต
๓๑ ม.ค. มอบของขวัญให้กับครอบครัวของคุณช่วงวันหยุดพิเศษที่ สเตย์บริดจ์ สวีท แบงค็อก สุขุมวิท
๓๑ ม.ค. OR เปิดตัว CEO คนใหม่ หม่อมหลวงปีกทอง ทองใหญ่ มุ่งผลักดันไทยสู่ Oil Hub แห่งภูมิภาค พร้อมขับเคลื่อนองค์กรด้วยดิจิทัล-นวัตกรรม
๓๑ ม.ค. เดลต้า ประเทศไทย คว้ารางวัล ASEAN's Top Corporate Brand ประจำปี 2567
๓๑ ม.ค. โรงแรมอลอฟท์ กรุงเทพ สุขุมวิท 11 พลิกโฉมใหม่ สุดโมเดิร์น! พร้อมเปิดตัว w xyz bar ตอกย้ำความสนุกในแบบฉบับ
๓๑ ม.ค. PAUL JOE เปิดตัว GLOSSY ROUGE ต้อนรับฤดูใบไม้ผลิ 2025
๓๑ ม.ค. บริษัท โกซอฟท์ (ประเทศไทย) ได้รับเกียรติบัตรศูนย์ รับเรื่องและแก้ไขปัญหาให้กับผู้บริโภคระดับดีเด่น จาก สคบ. และการรับรองมาตรฐาน ISO