อย่างไรก็ตามยังคงต้องติดตามความเสี่ยงจากการดำเนินนโยบาย จากทางสหรัฐหลังทรัมป์ได้รับเลือกตั้งกลับมาเป็นประธานาธิบดีอีกครั้งซึ่งผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้นแต่ละประเด็นที่ต้องติดตามคือ 1. มาตรการทางด้านภาษี โดยที่ทรัมป์มีแนวโน้มที่จะขยายเวลาแคมเปญ TCJA หรือ Tax Cut And Jobs Act ที่ประกาศใช้ในปี 2017 ออกไป ซึ่งนโยบายดังกล่าวจะหมดอายุในปี 2025 ขณะที่ในแง่ของภาษีนิติบุคคล ทรัมป์มีโอกาสที่จะให้ลดภาษีลงอีกจาก 21% ไปที่ 15% อย่างไรก็ตามการลดอัตราภาษีจะหมายถึงรายได้ภาครัฐที่ลดลงซึ่งทรัมป์ตั้งเป้าจะมีรายได้ชดเชยจากการเก็บภาษีนำเข้าจากทั่วโลก ซึ่งคาดว่านโยบายภาษีของทรัมป์อาจช่วยกระตุ้นการเติบโตของ GDP ในระยะสั้นๆ และทำให้อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้นในอนาคต รวมถึงจะทำให้ความไม่เท่าเทียมกันรุนแรงมากขึ้น
2. ทางทรัมป์มีนโยบายกีดกันผู้อพยพโดยผลกระทบทางเศรษฐกิจจากการลดจำนวนผู้อพยพและการเนรเทศผู้อพยพที่ไม่ได้รับอนุญาตจะทำให้ GDP สหรัฐฯลดลงและเกิดภาวะเงินฝืดในระยะกลางเนื่องจากการลดจำนวนประชากรจะทำให้อุปทานแรงงานลดลงรวมถึงอุปสงค์ในประเทศลดลงเช่นกัน อย่างไรก็ตามผลกระทบจากนโยบายกีดกันผู้อพยพจะมีความแตกต่างกันไปตามความเข้มงวดของนโยบาย และ 3.นโยบายการขึ้นภาษีศุลกากรเป็นนโยบายหลักในการหาเสียงของทรัมป์ โดยเขาได้เสนอให้กำหนดภาษีศุลกากรพื้นฐาน 10%-20% สำหรับสินค้าที่นำเข้าทั้งหมด และ 60% สำหรับสินค้าจากจีน อย่างไรก็ตามการขึ้นภาษีศุลกากรเป็นความพยายามที่ทุกฝ่ายต่างเสียเปรียบ ในสถานการณ์ที่มีสินค้าทดแทนน้อย ผู้ส่งออกก็มีแนวโน้มที่จะลดราคาน้อยลง ดังนั้นผู้บริโภคของสหรัฐฯจึงต้องจ่ายเงินซื้อสินค้าที่ราคาแพงมากขึ้น และทำให้อัตราเงินเฟ้อปรับตัวขึ้น ซึ่งจะทำให้เฟดสามารถลดอัตราดอกเบี้ยได้น้อยลงและช้าลง นอกจากนี้เองหากการกีดกันทางการค้าเกิดขึ้นจริงตามที่ทรัมป์เสนอ ความเสี่ยงทางภูมิรัฐศาสตร์จะมีแนวโน้มสูงขึ้นและส่งผลให้สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจโลกผันผวนมากขึ้นตามไปด้วย
สำหรับการลงทุนในช่วงนี้ นายยิ่งยง กล่าวว่า แนะนำเน้นลงทุนปยังหุ้นกลุ่ม Quality มากขึ้น รวมถึงหุ้นที่มีกระแสะเงินสดสูงเพื่อรองรับกับความผันผวนที่อาจเกิดขึ้น ขณะที่ตราสารหนี้ควรเน้นตราสารหนี้คุณภาพที่มี Yield ที่น่าสนใจและ Duration ไม่ยาวเกินไป เผื่อกรณีเงินเฟ้อจากนโยบายของทรัมป์ดันเงินเฟ้อสูงขึ้น โดยมีคำแนะนำจัดพอร์ตออกเป็น 3 กลุ่ม คือ 1.Conservative (รับความเสี่ยงได้ไม่มาก) มีหุ้นไม่เกิน 25% 2. Moderate (รับความเสี่ยงได้ปานกลาง) มีหุ้นไม่เกิน 40-50% 3. Aggressive (รับความเสี่ยงได้สูง) มีหุ้นประมาณ 80-90%
ทั้งนี้มีธีมที่น่าสนใจได้แก่ 1. กลุ่มหุ้นที่มีลักษณะ Quality & Growth เช่น กองทุนเปิดอีสท์สปริง Global Quality Growth (ES-GQG) 2.กลุ่มกองทุนที่ได้ประโยชน์จากนโยบายลดภาษีและกระตุ้นเศรษฐกิจของทรัมป์ เช่น กองทุนเปิดอีสท์สปริง US Blue Chip Equity (ES-USBLUECHIP) และ 3.กองทุนที่ได้ประโยชน์จากธีมลดดอกเบี้ยและเศรษฐกิจสามารถ Soft Landing ได้ เช่น กองทุนเปิดอีสท์สปริง Global Income (ES-GINCOME)
ผู้สนใจสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.eastspring.co.th หรือโทร 1725 ในวันและเวลาทำการ หรือผ่านช่องทางการขายของ บลจ.อีสท์สปริง หรือผู้สนับสนุนการขายและรับซื้อคืนที่ได้รับการแต่งตั้ง ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยง ก่อนการตัดสินใจลงทุน ทั้งนี้ การลงทุนในหน่วยลงทุนมิใช่การฝากเงิน การฝากเงินมีความเสี่ยงของการลงทุน ผู้ถือหน่วยลงทุนอาจได้รับเงินลงทุนคืนมากกว่าหรือน้อยกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกก็ได้ และอาจไม่ได้รับชำระเงินค่าขายคืนหน่วยลงทุนภายในระยะเวลาที่กำหนด หรืออาจไม่สามารถขายคืนหน่วยลงทุนได้ตามที่มีคำสั่งไว้ อนึ่ง กองทุนปิดอีสท์สปริง Global Quality Growth (ES-GQG) กองทุนเปิดอีสท์สปริง US Blue Chip Equity (ES-USBLUECHIP) และกองทุนเปิดอีสท์สปริง Global Income (ES-GINCOME) มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน และไม่ได้ป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนทั้งจำนวน ผู้ลงทุนอาจจะขาดทุนหรือได้รับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน/หรือ ได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้
ที่มา: พีอาร์ดีดี