นายแพทย์
ปกรณ์ ตุงคะเสรีรักษ์ ผู้อำนวยการสำนักส่ง
เสริมสุขภาพ กรมอนามัย เปิดเผยว่า กรมอนามัย ร่วมกับ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้าง
เสริมสุขภาพ (สสส.) และ
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนานักส่ง
เสริมสุขภาพคนพิการทางการเคลื่อนไหวหรือร่างกายวัยทำงาน (4 ภาค) ประจำภาคเหนือ ตั้งแต่วันที่ 28-29 พ.ย.ที่ผ่านมา ที่โรงแรมเดอะสเปซ ลำปาง เพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรของศูนย์บริการคนพิการทั่วไป ที่ได้รับการรับรองจาก
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เพื่อเป็นนักส่ง
เสริมสุขภาพคนพิการทางการเคลื่อนไหวหรือร่างกายคนทำงานประจำภาคเหนือ ด้วยหลักสูตร 13 ชม.สุขภาพดี มี.ไว้.ใช้. โดยมีศูนย์อนามัยและสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดร่วมสนับสนุนเป็นทีมพี่เลี้ยงเพื่อพัฒนาให้เกิดศูนย์บริการคนพิการทั่วไปต้นแบบการส่ง
เสริมสุขภาพคนพิการฯ ร่วมสร้างให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ สู่การมีสุขภาพดี ห่างไกลโรค ในพื้นที่กลุ่มเป้าหมายจำนวนทั้งสิ้น 70 คน ประกอบด้วยศูนย์บริการคนพิการทั่วไป สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด ศูนย์อนามัย และภาคี
เครือข่ายที่เกี่ยวข้อง โดยมีเป้าหมาย ใน 3 ระดับ คือ 1. ระดับการเปลี่ยนแปลง ทำให้นักส่ง
เสริมสุขภาพคนพิการ มีความรู้ตามหลักเพิ่มขึ้น สามารถนำความรู้ทักษะ ประยุกต์เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้ดีขึ้น เช่น มีรอบเอวที่เล็กลง 2. ระดับพัฒนา มีความรู้ความเข้าใจ มีทักษะในการดูแลสุขภาพ สามารถแนะนำบอกต่อคนรอบข้าง 3. ระดับการสร้างผลกระทบ สามารถประสานภาคี
เครือข่ายที่เกี่ยวข้อง เพื่อหนุนเสริม เชื่อมโยง หรือร่วมมือขับเคลื่อนงานส่ง
เสริมสุขภาพคนพิการ ทั้งในระดับพื้นที่ ระดับเขตสุขภาพของตนเองให้ดีขึ้น
นายแพทย์ปกรณ์ กล่าวว่า รูปแบบการประชุมในครั้งนี้ประกอบด้วย การพัฒนาทักษะการเป็นวิทยากรและการสื่อสารเพื่อพัฒนานักส่งเสริมสุขภาพคนพิการ การแบ่งกลุ่มฝึกปฏิบัติเพื่อออกแบบการสอนเนื้อหาตามหลักสูตร 13 ชม. มี.ไว้.ใช้. ซึ่งผลสัมฤทธิ์ในการจัดประชุมคือ 1. ได้นักส่งเสริมสุขภาพคนพิการทางการเคลื่อนไหวหรือร่างกายวัยทำงาน ประจำภาคเหนือ ที่สามารถเป็นผู้นำในการถ่ายทอดองค์ความรู้และขยายผลการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพคนพิการทางการเคลื่อนไหวหรือร่างกาย 2. เกิดโครงการส่งเสริมสุขภาพคนพิการฯ จากศูนย์บริการคนพิการทั่วไป ที่สามารถขับเคลื่อนงานส่งเสริมสุขภาพคนพิการฯ ในระดับพื้นที่และพัฒนาเป็นศูนย์ส่งเสริมสุขภาพคนพิการฯต้นแบบต่อไป 3. เกิดทีมพี่เลี้ยงงานส่งเสริมสุขภาพคนพิการฯ ที่มาจากศูนย์อนามัยและสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด ประจำภาคเหนือแผนการขับเคลื่อนงานต่อไป เป็นการลงพื้นที่เยี่ยมเสริมพลังศูนย์ส่งเสริมสุขภาพคนพิการฯ ที่ขับเคลื่อนงานส่งเสริมสุขภาพคนพิการทางการเคลื่อนไหวหรือร่างกายวัยทำงานด้วยหลักสูตร 13 ชม. สุขภาพดี มี.ไว้.ใช้.ต่อไป
ที่มา: ซี.เอ.อินโฟ มีเดีย