Integrity Hotline สายด่วนแจ้งเรื่องทุจริต ที่มุ่งสร้างวัฒนธรรม 'Speak Up' 1 ใน 7 นโยบายและกลไกทำจริง เพื่อปราบคอร์รัปชันที่ทรู คอร์ปอเรชั่น

จันทร์ ๐๙ ธันวาคม ๒๐๒๔ ๑๑:๔๖
ทรู คอร์ปอเรชั่น หลังการควบรวม ได้รับการรับรองการเป็นสมาชิกแนวร่วมปฏิบัติภาคเอกชนไทยในการต่อต้านคอร์รัปชัน ประจำปี 2567 จากสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (Thai IOD) และแนวร่วมต่อต้านคอร์รัปชันของภาคเอกชนไทย (Thai Private Sector Collective Action against Corruption - CAC) ที่มีหลักการประเมินที่เข้มข้นถึง 71 ข้อภายใต้ 7 หมวดสำคัญ ได้แก่ 1.การประเมินความเสี่ยง 2.มาตรการป้องกันความเสี่ยง 3.นโยบายและข้อปฏิบัติต่อต้านการคอรัปชัน อาทิ การสปอนเซอร์ การบริจาค 4.การบริหารบุคลากร 5.การสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ 6.การแจ้งเบาะแสและขอคำแนะนำ และ 7.การทบทวน ตรวจสอบ และปรับปรุง ซึ่งในการประเมินครั้งนี้ ทรู เป็นที่ยอมรับในเรื่องการผลักดันนำแนวนโยบายที่ชัดเจนลงไปสู่การปฏิบัติจริง สื่อสารและให้พนักงานเข้ามามีส่วนร่วมสอดส่องดูแลองค์กรอย่างจริงจัง และที่สำคัญ คือการบริหาร ประเมิน และจัดการความเสี่ยงด้านคอร์รัปชัน ซึ่งทรู ได้ดำเนินการครอบคลุมทุกหน่วยงานเพื่อป้องกันการทุจริตที่อาจเกิดขึ้นได้
Integrity Hotline สายด่วนแจ้งเรื่องทุจริต ที่มุ่งสร้างวัฒนธรรม 'Speak Up' 1 ใน 7 นโยบายและกลไกทำจริง เพื่อปราบคอร์รัปชันที่ทรู คอร์ปอเรชั่น

ชู "7 นโยบาย" เน้นๆ ทรู ต่อต้านคอร์รัปชัน เนื่องในวันต่อต้านคอร์รัปชันสากล

นอกเหนือจากข้อกำหนดหลักธรรมาภิบาลของบริษัท (Code of Conduct) รวมถึงข้อกำหนดตามกฎหมาย และกฎระเบียบข้อบังคับอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการห้ามกระทำการทุจริตในทุกรูปแบบ ทรู คอร์ปอเรชั่น ยังได้จัดทำนโยบายต่อต้านการทุจริต (Anti-Corruption Policy) โดยเฉพาะ เพื่อระบุข้อกำหนดที่จำเป็นที่ผู้บริหารและพนักงานควรและปฏิบัติตามเพิ่มเติม ซึ่งประกอบไปด้วย 7 ประเด็นหลัก ได้แก่

  1. การไม่ยอมอ่อนข้อต่อการทุจริต - ประกาศนโยบายที่ชัดเจนในการต่อต้านการทุจริตทุกรูปแบบทั้งภายในและภายนอกองค์กร ส่งเสริมและสร้างค่านิยมอันดีให้กับบุคลากรที่ต้องดำเนินงานด้วยความซื่อสัตย์และความโปร่งใส
  2. ไมตรีทางธุรกิจ - กำหนดระเบียบปฏิบัติที่สอดคล้องกับข้อกำหนดของกฎหมาย อาทิ การให้/รับของขวัญ หรือการเลี้ยงรับรองใดๆ ห้ามไม่ให้มีมูลค่าเกิน 3,000 บาท/คน/ครั้ง แก่เจ้าหน้าที่รัฐ/รัฐวิสาหกิจ และต้องได้รับการพิจารณาอนุมัติตามสายบังคับบัญชาที่มีการกำหนดไว้ในระเบียบปฏิบัติของบริษัทอย่างถูกต้อง เหมาะสมกับโอกาสและวาระทางธุรกิจ
  3. การจ่ายเงินเพื่ออำนวยความสะดวก แก่เจ้าหน้าที่ของรัฐ เป็นสิ่งไม่ควรกระทำ ด้วยถือเป็นการให้สินบนรูปแบบหนึ่ง เป็นการกระทำที่ทุจริตและผิดกฎหมาย
  4. คนกลาง - ประเมินความเสี่ยง บริหารจัดการ พร้อมกำหนดหลักเกณฑ์ที่ชัดเจน เพื่อให้มั่นใจว่าคนกลางที่ดำเนินการแทน หรือเป็นตัวแทนบริษัท คู่ค้าทางธุรกิจของบริษัท จะปฏิบัติตามกฎหมาย สอดคล้องกับค่านิยม และหลักธรรมาภิบาลของบริษัท
  5. เจ้าหน้าที่รัฐ - ส่งเสริมการทำงานหรือมีปฏิสัมพันธ์ โดยยึดมั่นหลักความโปร่งใส ตรวจสอบได้ ไม่ให้และไม่รับสินบน ปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบอย่างเคร่งครัด พร้อมรายงานการกระทำที่ไม่ถูกต้องผ่านหน่วยงานกำกับดูแลจริยธรรมองค์กรให้เร็วที่สุด
  6. การเป็นสปอนเซอร์ การบริจาค และการช่วยเหลือสังคมอื่นๆ - ดำเนินการด้วยความโปร่งใส มีการประเมินความเสี่ยงด้านจริยธรรม และต้องผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการ Sponsorship and Donation Committee ทุกกรณี แบบไม่มีข้อยกเว้น เพื่อป้องกันหรือลดความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น
  7. ผลประโยชน์ทับซ้อน - กำหนดนโนบาย การจัดการที่ชัดเจนและเป็นระบบ รวมถึงรายงานเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อนเป็นรายปี บันทึกผล วางแผนการรับมืออย่างเหมาะสม พร้อมเก็บหลักฐานเป็นลายลักษณ์อักษรและเป็นความลับ

จากแนวคิด - สู่การปฏิบัติ - สร้างผลลัพธ์จริง

ทรู คอร์ปอเรชั่น เดินหน้ายกระดับการดำเนินงานด้านบรรษัทภิบาลด้วยนโยบายและกฎเกณฑ์ที่เข้มข้น มุ่งเน้นการนำนโยบายมาปฏิบัติให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม อาทิ มีการจัดตั้งหน่วยงานที่มีหน้าที่กำกับดูแลธรรมาภิบาลภายในบริษัทฯ โดยเฉพาะ เพื่อกำกับดูแลการบังคับใช้และตรวจสอบให้มั่นใจว่าพนักงานทุกคนปฏิบัติตามกฎหมายและมาตรฐานสูงสุดทางจริยธรรม อีกทั้งยังสร้างวัฒนธรรม 'Speak Up' ที่ให้พนักงาน รวมถึงบุคคลภายนอก มีส่วนร่วมเป็นหูเป็นตา แจ้งเบาะแสที่อาจละเมิดต่อหลักธรรมาภิบาลของบริษัท ผ่านสายด่วนธรรมาภิบาล (Integrity Hotline) ซึ่งสะดวก ง่าย ปลอดภัย โดยคำถามและการรายงานใดๆ จะถูกเก็บเป็นความลับ ไม่สามารถระบุตัวตนผู้ร้องเรียน นับเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือการดำเนินงานสำคัญที่ช่วยบริหารจัดการความเสี่ยงและยกระดับมาตรฐานด้านธรรมาภิบาลขององค์กร

นอกจากนี้ ตัวอย่างในส่วนงานอื่นๆ เช่น การเร่งขยายโครงข่ายที่ต้องขออนุญาตหน่วยงานราชการในการตั้งเสาสัญญาณมือถือเพื่อรองรับความต้องการใช้งานที่เติบโต โดยจะมีการป้องกันความเสี่ยงด้วยการวางแผนล่วงหน้า กำหนดข้อตกลงระดับการให้บริการ (Service Level Agreement - SLA) ในแต่ละขั้นตอนให้ชัดเจน เพื่อเผื่อระยะเวลาให้ทันกับการดำเนินการ ลดโอกาสการทุจริต รวมถึงมีมาตรการควบคุมทางการเงินที่ป้องกันไม่ให้มีการจ่ายสินบนให้กับเจ้าหน้าที่รัฐอีกด้วย ขณะที่ในส่วนงาน Business Sales-Government Segment ที่ต้องมีการเสนอขายหรือเข้าร่วมประมูลโครงการเพื่อขายสินค้า/บริการให้กับหน่วยงานรัฐ จัดให้มีการควบคุมเพิ่มเติมด้วยการกำหนดให้มีการเช็คสอบราคาขายและการออกเอกสารทางการเงินที่เกี่ยวข้อง รวมถึงให้หัวหน้างานมีการประเมินเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อนของพนักงานขาย ซึ่งสิ่งเหล่านี้ จะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดการคอรัปชัน ลดช่องสบโอกาสเพิ่มรายการอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับการขาย เพื่อเอื้อต่อการทำทุจริตเงินทอนให้กับเจ้าหน้าที่รัฐ เป็นต้น

ที่มา: ทรู คอร์ปอเรชั่น

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗ ม.ค. วว. ร่วมกับพันธมิตรเปิดศูนย์การเรียนรู้วิสาหกิจชุมชนผู้ผลิตไม้ดอกไม้ประดับ ต.เหมืองแก้ว อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่
๑๗ ม.ค. กระแสดีเกินคาด! WOW Festival 2025 ปรากฏการณ์ใหม่ ปลุกพลังคน เติมเต็มพลังเมือง พร้อมขนเซอร์ไพรส์รอทุกคนถึง 19 ม.ค.
๑๗ ม.ค. นั่งชิลๆ จิบน้ำชายามบ่ายพร้อมขนมเลิศรส ณ ที แอนด์ ทิปเปิ้ล ชั้น 23
๑๗ ม.ค. CPW จัดโปรเด็ด!! ช้อปสินค้าไอทีลดหย่อนภาษีสูงสุด 30,000 บาท
๑๗ ม.ค. LDC เดินหน้าปี 2568 บุกตลาดภาคใต้ เตรียมเปิด 3 สาขาใหม่ ย้ำมาตรฐานศูนย์ทันตกรรม โมเดลโรงพยาบาลขนาดเล็ก
๑๗ ม.ค. เชอร์วู้ดฯ ร่วมกับ มูลนิธิคุณแม่ลี้กิมเกียวฯ แจกนมฮอกไกโด ถั่วมารูโจ้ ส่งความสุข ฉลองวันเด็กแห่งชาติ 2568
๑๗ ม.ค. ขายบัตรแล้ว! นิตยสารแพรว พร้อมเสิร์ฟความน่ารักของ เก่ง น้ำปิง ในงาน Praew Meet Read Into The Wild with Keng
๑๗ ม.ค. ซินเจียยู่อี่ ซินนี้ฮวดไช้ สุขสมหวัง ร่ำรวย เฉลิมฉลองเทศกาลตรุษจีนกับอาหารจีนเลิศรส ณ ห้องอาหารจีนแทพเพสทรี ใน 3 โรงแรมชั้นนำเครือเคป แอนด์
๑๗ ม.ค. เตรียมจองซื้อ หุ้นกู้ดิจิทัลบางจาก อายุ 4 ปี ดอกเบี้ย 3.15% บนแอปฯ เป๋าตัง ครั้งแรกกับการให้สิทธิ์ผู้ถือหุ้นกู้ดิจิทัลบางจากจองซื้อก่อน ดีเดย์ 7-13 ก.พ. 68
๑๗ ม.ค. วิลล่า เทวา รีสอร์ท โฮเทล กรุงเทพฯ ประสบความสำเร็จอย่างยอดเยี่ยม: ได้รับการจัดอันดับเป็นอันดับ 5 จาก 1,257 โรงแรมในกรุงเทพฯ บนเว็บไซต์