"เอบีม คอนซัลติ้ง" ชี้! "Green Loan" ผลิตภัณฑ์สินเชื่อสีเขียว ตัวช่วยธุรกิจสู่การปรับตัวสู้กระแสโลกร้อนเพื่อความยั่งยืน

ศุกร์ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๖๗ ๑๖:๑๒
ปัจจุบันการทำธุรกิจอย่างยั่งยืนและคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม นับเป็นปัจจัยหลักในการดำเนินธุรกิจ ที่ไม่ใช่เน้นแค่เพียงจริยธรรมในการดำเนินธุรกิจเท่านั้น แต่ยังเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ช่วยให้ธุรกิจดำเนินงานได้ต่อเนื่องในแง่ของการลงทุนควบคู่ไปกับความรับผิดชอบต่อสังคม ดังนั้น Green Transformation (GX) จึงไม่ใช่เป็นเพียงทางเลือก แต่เป็นความจำเป็นที่ทุกองค์กรธุรกิจต้องปรับตัวเพื่อความอยู่รอด ทั้งนี้ เอบีม คอนซัลติ้ง หนึ่งในบริษัทที่ปรึกษาด้านธุรกิจและดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชันชั้นนำของโลก ได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับเทรนด์โลกในหัวข้อ "Green Loan" หรือ "ผลิตภัณฑ์สินเชื่อสีเขียว" เพื่อที่กลุ่มภาคธุรกิจควรต้องศึกษาและปรับตัวในแง่การใช้เงินทุนในการปรับเปลี่ยนธุรกิจ โดยองค์กรด้านการเงินจะให้ความสำคัญในการปล่อยสินเชื่อเพื่อธุรกิจสีเขียวมากยิ่งขึ้น
เอบีม คอนซัลติ้ง ชี้! Green Loan ผลิตภัณฑ์สินเชื่อสีเขียว ตัวช่วยธุรกิจสู่การปรับตัวสู้กระแสโลกร้อนเพื่อความยั่งยืน

เอบีม คอนซัลติ้ง ได้เผยว่า ทุกวันนี้ธุรกิจทุกภาคส่วน ล้วนปรับเปลี่ยนตนเองสู่ธุรกิจสีเขียวเพื่อความยั่งยืน ไม่เพียงแต่กลุ่มธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับพลังงาน แต่รวมถึงธุรกิจในภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการ โดยเฉพาะภาคการส่งออกไปยังกลุ่มประเทศที่มีมาตรการเข้มข้นอย่าง "มาตรการปรับคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดน" หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ "CBAM" ซึ่งเป็นมาตรการที่ทั้งสหภาพยุโรป (EU-CBAM) และสหรัฐอเมริกา (US-CBAM) กำหนดขึ้นเพื่อมุ่งสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมแก่ประเทศคู่ค้านอกกลุ่มประเทศเหล่านี้ ผลกระทบจะรวมไปถึงทุกธุรกิจที่อยู่ในห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) ด้วยเช่นกัน ซึ่งนั่นหมายความว่าถึงแม้ธุรกิจจะไม่ได้เป็นผู้ที่ส่งออกโดยตรงแต่เป็นซัพพลายเออร์ (Suppliers) ให้แก่บริษัทที่ส่งออกก็ต้องมีการจัดการเรื่องการปล่อยก๊าซเรือนกระจกด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ยังรวมไปถึงธุรกิจที่อยู่ในตลาดทุนหรือหลักทรัพย์ (Capital Market) เนื่องจากความสำคัญในด้าน "แนวคิดการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน" หรือ "ESG" ก็กำลังเป็นที่สนใจของเหล่านักลงทุน

เอบีม คอนซัลติ้ง ยังอธิบายเพิ่มเติมอีกว่าการที่จะปรับเปลี่ยนธุรกิจสู่ความยั่งยืน หรือ GX นั้นสามารถเริ่มต้นจาก 3 วิธีหลักๆ ที่ภาคธุรกิจสามารถเลือกทำได้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการแข่งขัน ดังนี้

  1. การเลือกใช้พลังงานจากแหล่งพลังงานสะอาดแทนที่พลังงานแบบดั้งเดิม (Alternative Energy Source) เช่น การใช้พลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ หรือ พลังงานลม
  2. การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ (Efficient Energy Consumption) เช่น เลือกใช้เครื่องจักรสมัยใหม่ที่มีค่าประหยัดพลังงานที่สูง หรือ เปลี่ยนมาใช้หลอดไฟ LED ที่ช่วยประหยัดพลังงานและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่า
  3. การลดการปล่อยพลังงาน (Emission Reduction) เช่น การเปลี่ยนเครื่องจักรหรือกระบวนการผลิต เพื่อลดปริมาณคาร์บอนที่ปล่อยออก

ภาคธุรกิจควรสร้างองค์ความรู้ในองค์กร รวมถึงแสวงหาข้อมูลที่ทันสมัยและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญในกิจกรรม GX เพื่อให้การปรับตัวเป็นไปอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ในส่วนของการสนับสนุนจากภาครัฐ ได้มีการออกมาตรการต่างๆ เพื่อสนับสนุนกิจกรรม GX เช่น สิทธิประโยชน์ทางภาษีสำหรับธุรกิจที่ปรับตัวและพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ รวมถึงการสนับสนุนแหล่งเงินทุนผ่านทางผลิตภัณฑ์สินเชื่อของธนาคารต่างๆ ที่เรียกว่า "Green Loan"

"Green Loan" หรือ ผลิตภัณฑ์สินเชื่อสีเขียว เป็นเครื่องมือที่ภาครัฐใช้ในการช่วยผลักดันกิจกรรม GX
ในภาคธุรกิจโดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจ SMEs ที่ถือเป็นกลุ่มใหญ่ในประเทศ และต้องการเม็ดเงินเข้ามาช่วยสนับสนุนสำหรับการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ สินเชื่อ "Green Loan" นั้นจะต่างจากสินเชื่อทั่วๆ ไปตรงที่สินเชื่อนี้มีไว้เพื่อให้ธุรกิจนำไปใช้ในโครงการที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเท่านั้น เช่น การจัดซื้อเครื่องจักรใหม่ๆ หรือลงทุนในเทคโนโลยีที่ช่วยประหยัดพลังงานและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เป็นต้น โดยในปีที่ผ่านมาธนาคารพาณิชย์หลายแห่งได้ออกผลิตภัณฑ์ สินเชื่อ "Green Loan" ด้วยอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำกว่าสินเชื่อธุรกิจทั่วไป การขยายตัวของผลิตภัณฑ์สินเชื่อในกลุ่มนี้จะเพิ่มขึ้น รวมถึงการขยายเงื่อนไขโครงการที่สามารถเข้าร่วมให้มีความหลากหลายตามกิจกรรม GX ที่จะเกิดขึ้นจากแนวโน้มของธุรกิจที่ได้รับผลกระทบ

ทั้งนี้ เรื่องของ Green Loan หรือ ผลิตภัณฑ์สินเชื่อสีเขียว ที่แม้จะเป็นเรื่องใหม่ในประเทศไทย แต่เรื่องนี้ถือว่าเป็นเทรนด์ในระดับโลกที่มีมานานแล้วในหลายประเทศ เป็นการชี้ให้เห็นว่า โลกการเงินที่เป็นแกนหลักของทุนนิยม ก็มีความตระหนักและสามารถเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยโลกแก้ไขปัญหา Climate Change เช่นกัน ในขณะที่ประเทศไทยเอง ก็ต้องช่วยกันสร้างการตระหนักรู้และความร่วมมือให้เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็น ภาครัฐ หน่วยงานที่กำกับดูแล ตลาดเงิน ตลาดทุน รวมไปถึงภาคเอกชน ที่ต้องจับมือในการร่วมสร้างมาตรฐานไปพร้อมๆ กัน ช่วยขับเคลื่อนไปสู่การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นศูนย์ หรือ "Net Zero" ให้ได้ในปี ค.ศ. 2065 สำหรับเมืองไทย

ที่มา: ฟีนอมมีนอล พีอาร์

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ