ณ ห้องประชุมศูนย์ปฏิบัติการกรมส่งเสริมการเกษตร (OR) ชั้น 2 อาคาร 1 กรมส่งเสริมการเกษตร และผ่านระบบออนไลน์ (Zoom Meeting)
โดยการประชุมมีวัตถุประสงค์เพื่อหารือแนวทางร่วมมือระหว่างกรมส่งเสริมการเกษตร และสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (DEPA) ในการขับเคลื่อนให้เกษตรกรที่เพาะปลูกทุเรียนเกิดการประยุกต์ใช้ดิจิทัลแพลตฟอร์ม Big Data ด้านการเกษตรภายใต้โครงการฯ และการเชื่อมโยงข้อมูลเกษตรกรร่วมกัน
การประชุมดังกล่าวประกอบด้วย ผู้แทนสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (DEPA) ผู้เชี่ยวชาญ ผู้อำนวยการกอง/สำนักของกรมส่งเสริมการเกษตร ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 1- 6 ในส่วนของสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 2 จังหวัดราชบุรี นางสาวเชาวนีฐ์ โคมแก้วผู้อำนวยการกลุ่มยุทธศาสตร์และสารสนเทศ รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 2 จังหวัดราชบุรี พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่กลุ่มยุทธศาสตร์และสารสนเทศ และเจ้าหน้าที่กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการผลิต
เข้าร่วมการประชุมหารือดังกล่าวประเด็นเนื้อหาในการประชุมหารือได้แก่
- บันทึกข้อตกลงความร่วมมือการส่งเสริมสนับสนุนและการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในภาคการเกษตร ระหว่างกรมส่งเสริมการเกษตรกรและสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (2565 - 2570)
- ผลการดำเนินงานโครงการส่งเสริมและสนับสนุนคูปองดิจิทัลเพื่อการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัล (depa mini Transformation Voucher) ปี 2565 - ผลการดำเนินงานโครงการฯ (depa)
- การเชื่อมโยงข้อมูลทะเบียนเกษตรกร เพื่อตรวจสอบสถานะของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ (ศสท.)
- ผลการดำเนินโครงการส่งเสริมการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลสำหรับเกษตรกรและผู้ประกอบการ กิจกรรมการส่งเสริมและสนับสนุนผ่านมาตรการคูปองดิจิทัล (depa mini Transformation Voucher) ปีงบประมาณ 2567 (กองวิจัยและพัฒนางานส่งเสริมการเกษตร)
- การดำเนินโครงการ 1 ตำบล 1 ดิจิทัล (OTOD ทุเรียนดิจิทัล) (depa)
- การมอบหมายหน่วยงานกรมส่งเสริมการเกษตรเพื่อร่วมดำเนินโครงการฯ
- หน้าที่/ผู้รับผิดชอบการบริหารจัดการโครงการฯ ของกรมส่งเสริมการเกษตร และสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (DEPA)
- การตรวจสอบข้อมูลทะเบียนเกษตรกรและรูปแปลงเพาะปลูก
- แผนปฏิบัติงานโครงการ
- โครงการบ่มเพาะเขตส่งเสริมเมืองอัจฉริยะด้านการเกษตร (OTOD Smart Agriculture)
ซึ่งโครงการ 1 ตำบล 1 ดิจิทัล (OTOD ทุเรียนดิจิทัล) เป็นการส่งเสริมและสนับสนุนให้เกษตรกรที่เพาะปลูกทุเรียนประยุกต์ใช้ดิจิทัลแพลตฟอร์ม Big data ด้านการเกษตร เพื่อการบริหารจัดการสวน การดูแลรักษาพืช การจำหน่ายและการตลาดผลผลิตทางการเกษตร ข้อมูลสภาพอากาศและสิ่งแวดล้อม การตรวจสอบและรับรองมาตรฐาน หรือเพื่อการตรวจสอบย้อนกลับผลผลิตทางการเกษตร เพื่อการบันทึกและการจัดเก็บข้อมูลในการเพาะปลูกทุเรียน ตามหลักการขอการรับรอง GAP (Good Agricultural Practices) การตรวจสอบย้อนกลับผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรอันจะเป็นประโยชน์กับเกษตรกรต่อไป
ที่มา: สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 2 จังหวัดราชบุรี