GPSC คว้า 4 โครงการ รวม 193 MW โดย กกพ. เพิ่มพอร์ตพลังงานหมุนเวียน ตามแผนรองรับอุตฯ แห่งอนาคต พร้อมหนุนเป้าหมายลดคาร์บอนฯ ของประเทศ

จันทร์ ๒๓ ธันวาคม ๒๕๖๗ ๑๔:๕๔
GPSC ผ่านการคัดเลือกโดย กกพ. เป็นผู้พัฒนาไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในรูปแบบ FiT ของผู้ผลิตพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดิน 4 โครงการโดยเป็นกำลังการผลิตกว่า 193 เมกะวัตต์ จากโครงการร่วมทุน เฮลิออส 1 เฮลิออส 2 เฮลิออส 4 และไออาร์พีซี คลีน พาวเวอร์ หนุนเพิ่มพอร์ตพลังงานหมุนเวียนในประเทศ ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานสะอาดเข้าระบบ รองรับอุตสาหกรรมแห่งอนาคต เดินหน้าสู่เป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ของประเทศ
GPSC คว้า 4 โครงการ รวม 193 MW โดย กกพ. เพิ่มพอร์ตพลังงานหมุนเวียน ตามแผนรองรับอุตฯ แห่งอนาคต พร้อมหนุนเป้าหมายลดคาร์บอนฯ ของประเทศ

นายวรวัฒน์ พิทยศิริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) หรือ GPSC แกนนำนวัตกรรมธุรกิจไฟฟ้ากลุ่ม ปตท. เปิดเผยว่า GPSC ได้รับการคัดเลือกจากคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ในการประกาศผลการคัดเลือกการจัดหาไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในรูปแบบ Feed -in Tariff (FiT) ปี 2565 -2573 จำนวน 4 โครงการ โดยมีกำลังการผลิตรวมประมาณ 193 เมกะวัตต์ ซึ่งอยู่ในกลุ่มของผู้ผลิตพลังงานพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดิน โดยมีผู้ที่ได้รับการคัดเลือกทั้งสิ้น จำนวน 64 ราย รวม 1,580 เมกะวัตต์ ที่กำหนดให้มีการจ่ายไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ (SCOD) ตั้งแต่ปี 2569-2573

สำหรับโครงการที่ได้รับการคัดเลือก จาก กกพ. ประกอบด้วย บริษัท เฮลิออส 1 จำกัด (Helios 1) กำลังการผลิต 48.6 เมกะวัตต์, บริษัท เฮลิออส 2 จำกัด (Helios 2) กำลังการผลิต 61.4 เมกะวัตต์ บริษัท เฮลิออส 4 จำกัด (Helios 4) กำลังการผลิต 8 เมกะวัตต์ ซึ่ง GPSC ถือหุ้นร่วมกับพันธมิตรทางธุรกิจในสัดส่วน 50% และบริษัทร่วมทุนระหว่าง GPSC และบริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) ภายใต้บริษัท ไออาร์พีซี คลีน พาวเวอร์ จำกัด (IRPC-CP) โดย GPSC ถือหุ้นสัดส่วน 51% กำลังการผลิต 74.88 เมกะวัตต์ ทั้งนี้ Helios 1 และ Helios 2 มีกำหนด SCOD ในปี 2569 และ Helios 4 และ IRPC-CP มีกำหนด SCOD ในปี 2571

นับเป็นความสำเร็จของการเพิ่มโอกาสในการลงทุนพลังงานหมุนเวียนในประเทศ ที่ GPSC ได้เข้าไปมีส่วนเสริมสร้างเสถียรภาพการจัดหาและพัฒนาพลังงานของประเทศตามนโยบายของรัฐบาล ที่มีแนวทางการขับเคลื่อนในการเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานหมุนเวียน ตามแผนการเพิ่มการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานสะอาด ภายใต้แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. 2561 - 2580 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1 (PDP2018 Rev.1)

สำหรับโครงการที่ GPSC ได้รับการคัดเลือก เป็นผู้พัฒนาโครงการในครั้งนี้ จัดอยู่ในกลุ่มที่ 1 โดยแต่ละโครงการจะต้องยอมรับเงื่อนไขการลงนามในสัญญาซื้อขายไฟฟ้าภายใน 14 วัน นับถัดจากวันที่ประกาศผลการคัดเลือก

อย่างไรก็ดี จากการได้รับการคัดเลือกในครั้งนี้ เป็นไปตามแผนกลยุทธ์ของธุรกิจ GPSC ที่มีเป้าหมาย ในการเพิ่มสัดส่วนพลังงานหมุนเวียนเกินกว่า 50% ของกำลังการผลิตในปี 2573 ซึ่ง GPSC เป็นบริษัทด้านนวัตกรรมพลังงานที่มีความเชี่ยวชาญในการพัฒนาพลังงานสะอาดที่หลากหลาย ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ส่งผลให้บริษัทฯ มีความพร้อมในการจัดหาพลังงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และมีส่วนในการสนับสนุนให้ประเทศไทยมีพลังงานสะอาด เพื่อรองรับการลงทุนและการพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศ เพื่อให้ไทยสามารถบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) และการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emissions)"

ที่มา: มาเธอร์ ครีเอชั่น

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ