สถาบันปิดทองหลังพระ ปฏิบัติการเชิงรุกฟื้นฟูการเกษตรหลังสถานการณ์น้ำท่วม

พุธ ๒๕ ธันวาคม ๒๐๒๔ ๐๙:๑๒
เนื่องด้วยสถานการณ์อุทกภัยน้ำท่วมในพื้นที่ภาคใต้ช่วงปลาย เดือนพฤศจิกายน ปี 2567 มีผลกระทบกับพื้นที่ส่งเสริมด้านอาชีพ ของสถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ พบว่าผลกระทบที่เกิดขึ้นอยู่ในระดับที่สามารถบริหารจัดการได้ ในพื้นที่ปลูกผักผสมผสานแปลง 66 ไร่ พื้นที่โครงการทุเรียนคุณภาพชายแดนใต้ พื้นที่ปลูกอ้อยคั้นน้ำ และข้าวพันธุ์พื้นเมือง ทางสถาบันปิดทองหลังพระฯ จึงได้มีการประชุมวางแผนร่วมกับคณะทำงานด้านส่งเสริมอาชีพ ภายใต้คณะอนุกรรมการประสานงานโครงการพัฒนาของสถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริประจำจังหวัดยะลา จัดทำแผนการฟื้นฟูพื้นที่เกษตรกรรมที่ได้รับผลกระทบ โดยมีเป้าหมายเพื่อให้พืชเศรษฐกิจในพื้นที่สามารถฟื้นตัวและกลับมาให้ผลผลิตได้ตามปกติโดยเร็ว
สถาบันปิดทองหลังพระ ปฏิบัติการเชิงรุกฟื้นฟูการเกษตรหลังสถานการณ์น้ำท่วม

ผลการหารือได้มีการจัดทำแผนฟื้นฟูพื้นที่การเกษตรของเกษตรกรในพื้นที่ของสถาบันปิดทองหลังพระฯ ดังนี้ (1) โครงการทุเรียนคุณภาพชายแดนใต้ โดยใช้ยุทธศาสตร์ฟื้นฟูสวนทุเรียนหลังน้ำลด ใช้ขั้นตอนการกู้ชีพทุเรียน ด้วยการระบายน้ำออกจากสวน แล้วเข้าไปฉีดล้างโคนรากขจัดโคลน เพื่อให้รากมีอากาศหายใจ และฉีดพ่นอาหารเสริมทางใบเพื่อเร่งการฟื้นฟู ด้วยกรดอะมิโน น้ำตาลทางด่วน ฮิวมิคแบบน้ำ ปุ๋ยเกล็ดที่มีค่าปุ๋ยตัวกลางสูง และสารป้องกันเชื้อรา ฉีดพ่นทั่วตั้งต้นและรากเพื่อกระตุ้นการแตกรากใหม่ อีกทั้งมีการลงสำรวจพื้นที่เสียหายเพื่อประเมินผลกระทบและเตรียมปรับแผนรับมือฉุกเฉินในอนาคต (2) การฟื้นฟูไร่อ้อยคั้นน้ำ หลังวิกฤติน้ำท่วมด้วยกลยุทธ์ 3 ขั้นตอน คือ การงดเหยียบย้ำในแปลงเพื่อฟื้นฟูรากอ้อย เวลาเวลา 7 - 10 วัน เพื่อป้องกันความเสียหายไม่ให้รากอ้อยช้ำ รากขาด, การใช้ไม้ยันพยุงต้นที่ล้มเพื่อฟื้นฟูให้ต้นกลับมาสังเคราะห์แสงเช่นเดิม และการกำจัดศัตรูอ้อย (หนูกัดกินลำต้น) ด้วยการวางยาเบื่อผสมข้าวเปลือก การใช้น้ำหมักชีวภาพ และการฉีดพ่นไตรโคเดอร์มากันรากเน่าโคนเน่า และจัดการถางแปลงให้สะอาดหลังจากการฟื้นฟูเสร็จสิ้น (3) การฟื้นฟูข้าวพันธุ์พื้นเมือง ที่ได้รับความเสียหาย ด้วยแผนฟื้นฟู 3 มาตรการ โดยขั้นตอนแรกให้ตรวจสอบสภาพความเสียหาย หากมีน้ำขังให้ระบายน้ำออกและห้ามใส่ปุ๋ยทันทีจะทำให้ต้นข้าวจะน็อคน้ำ ขั้นตอนที่สองให้รอการฟื้นตัวของต้นข้าวประมาณ5 - 7 วัน หากต้นข้าวไม่เน่าจะแตกกอใหม่ ให้ใส่ปุ๋ย 5 กิโลกรัมต่อไร่ ,ใช้น้ำหมักชีวภาพ เว้นการใช้ปุ๋ยแบบยูเรียจะทำให้ข้าวอ่อนแอและแมลงชอบ และเมื่อต้นข้าวอยู่ในสภาพปกติถึงใส่ปุ๋ยตามช่วงการเติบโต 20 กิโลกรัมต่อไร่ หากอยู่ในกรณีต้องซ่อมข้าว ให้ใช้ต้นกล้าเดิมที่มีอายุรุ่นเดียวกันกับที่ปลูกไว้เดิมอยู่แล้ว

ในการดำเนินงานแผนฟื้นฟูพื้นที่เกษตรกรรมของเกษตรกร ในพื้นที่ของสถาบันปิดทองหลังพระฯ ได้มีการบูรณาการร่วมมือกันกับคณะทำงานด้านส่งเสริมอาชีพ ภายใต้คณะอนุกรรมการประสานงานโครงการพัฒนาของสถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริประจำจังหวัดยะลา และหน่วยงานท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง ในการดำเนินการสำรวจพื้นที่เพื่อให้การฟื้นฟูหลังสภาวะน้ำท่วมเกิดประสิทธิภาพสูงสุดและเป็นประโยชน์สูงสุดกับเกษตรกร

ที่มา: สถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ

สถาบันปิดทองหลังพระ ปฏิบัติการเชิงรุกฟื้นฟูการเกษตรหลังสถานการณ์น้ำท่วม

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๓๑ ม.ค. รู้จักโรคอ้วนดีแล้ว.จริงหรือ?
๓๑ ม.ค. บมจ.ไทยเซ็นทรัลเคมี ร่วมกับ MBK ส่งมอบปฏิทินในกิจกรรม ปฏิทินเก่ามีค่า เราขอ
๓๑ ม.ค. BSRC ออกหุ้นกู้รอบใหม่ 8,000 ล้านบาท ยอดจองเกินเป้า ตอกย้ำความเชื่อมั่นของผู้ลงทุน
๓๑ ม.ค. คปภ. ร่วมสัมมนาประกันภัย ครั้งที่ 29 เตรียมรับมือความเสี่ยงอุบัติใหม่ พลิกโฉมธุรกิจประกันภัยสู่ความท้าทายในอนาคต
๓๑ ม.ค. มอบของขวัญให้กับครอบครัวของคุณช่วงวันหยุดพิเศษที่ สเตย์บริดจ์ สวีท แบงค็อก สุขุมวิท
๓๑ ม.ค. OR เปิดตัว CEO คนใหม่ หม่อมหลวงปีกทอง ทองใหญ่ มุ่งผลักดันไทยสู่ Oil Hub แห่งภูมิภาค พร้อมขับเคลื่อนองค์กรด้วยดิจิทัล-นวัตกรรม
๓๑ ม.ค. เดลต้า ประเทศไทย คว้ารางวัล ASEAN's Top Corporate Brand ประจำปี 2567
๓๑ ม.ค. โรงแรมอลอฟท์ กรุงเทพ สุขุมวิท 11 พลิกโฉมใหม่ สุดโมเดิร์น! พร้อมเปิดตัว w xyz bar ตอกย้ำความสนุกในแบบฉบับ
๓๑ ม.ค. PAUL JOE เปิดตัว GLOSSY ROUGE ต้อนรับฤดูใบไม้ผลิ 2025
๓๑ ม.ค. บริษัท โกซอฟท์ (ประเทศไทย) ได้รับเกียรติบัตรศูนย์ รับเรื่องและแก้ไขปัญหาให้กับผู้บริโภคระดับดีเด่น จาก สคบ. และการรับรองมาตรฐาน ISO