กรมวิชาการเกษตร นำร่องสร้างกลุ่มแปลงใหญ่ทุเรียนอินทรีย์แห่งแรกในภาคตะวันออก

พุธ ๒๕ ธันวาคม ๒๐๒๔ ๐๙:๓๑
นายรพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า กรมวิชาการเกษตร เล็งเห็นถึงความสำคัญของการผลิตพืชผัก ผลไม้ปลอดภัยโดยเฉพาะทุเรียน ซึ่งเป็นผลไม้เศรษฐกิจสำคัญของประเทศไทย ซึ่งเป็นไปตามนโยบายของ ศ.ดร. นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้สั่งการให้กรมวิชาการเกษตรขับเคลื่อนนโยบายผัก ผลไม้ ต้องมีคุณภาพได้มาตรฐานและปลอดภัย สำหรับการบริโภคทั้งในประเทศและการส่งออก โดยนอกเหนือจากการส่งออกทุเรียนตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืชอาหาร หรือ GAP แล้ว"ทุเรียนอินทรีย์" ยังเป็นอีกหนึ่งในสินค้าเกษตรอินทรีย์ที่กรมวิชาการเกษตรให้ความสำคัญกับการขับเคลื่อนมาอย่างต่อเนื่อง โดยมอบหมายให้สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 6 จังหวัดจันทบุรี (สวพ.6) ดำเนินการวิจัยภายใต้แผนงานวิจัยและพัฒนาการผลิตพืชอินทรีย์เพื่อเพิ่มศักยภาพและขยายผลในพื้นที่ภาคตะวันออก โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตทุเรียนอินทรีย์พื้นที่จังหวัดจันทบุรี
กรมวิชาการเกษตร นำร่องสร้างกลุ่มแปลงใหญ่ทุเรียนอินทรีย์แห่งแรกในภาคตะวันออก

นายพิทวัฒน์ อ่อนทองหลาง ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 6 กล่าวว่า ระหว่างปี 2565-2567 สวพ.6 ได้ดำเนินการวิจัยและพัฒนาการผลิตทุเรียนอินทรีย์ทั้งในระยะต้นเล็กก่อนให้ผลผลิต และระยะให้ผลผลิต โดยสร้างแปลงต้นแบบจำนวน 8 แปลง และทดสอบเทคโนโลยีแนะนำเปรียบเทียบกับวิธีเกษตรกร พบว่าวิธีการที่เหมาะสมในการเพิ่มผลผลิตทุเรียนอินทรีย์ จังหวัดจันทบุรี ซึ่งมีผลวิเคราะห์สมบัติทางเคมีของดิน ค่าอินทรียวัตถุ ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม แคลเซียมและแมกนีเซียม ต่ำกว่าค่าที่เหมาะสม ไม่เคยตัดแต่งกิ่งและฉีดพ่นฮอร์โมนพืช จากการพิจารณาค่าวิเคราะห์ดินและใบทุเรียนร่วมกับวิธีจัดการสวน จึงใช้เทคโนโลยีการตัดแต่งกิ่งหลังเก็บเกี่ยว เพิ่มธาตุอาหารในดินด้วยปุ๋ยอินทรีย์ที่หลากหลายและสารปรับปรุงดิน เพิ่มฮอร์โมนพืช โดยใส่ตามระยะการพัฒนาของพืชทุเรียน ได้แก่ ระยะบำรุงต้นหลังเก็บเกี่ยว ตัดแต่งกิ่ง ใส่ปุ๋ยหมักมูลไก่แกลบระบบเติมอากาศ 20 กก./ต้น 2-3 ครั้ง โดโลไมท์ 2 กก./ต้น 1 ครั้ง มูลค้างคาว 5 กก./ต้น 2 ครั้ง ราดทรงพุ่มด้วยน้ำหมักมูลไก่แกลบ 200-400 มล./20 ล. เดือนละ 1 ครั้ง ระยะก่อนออกดอกถึงติดผล ใส่ปุ๋ยหมักมูลไก่แกลบ 20 กก./ต้น 1 ครั้ง มูลค้างคาว 5 กก./ต้น 1 ครั้ง ราดทรงพุ่มด้วยฮอร์โมนไข่ 50 มล./20 ล. 2 ครั้ง ตัดแต่งดอกและผลอ่อน ระยะการพัฒนาของผล ใส่ปุ๋ยหมักมูลไก่แกลบ 20 กก./ต้น 1-2 ครั้ง มูลค้างคาว 5 กก./ต้น 1 ครั้ง ปุ๋ยอินทรีย์เอกชน 5-10 กก./ต้น 1-2 ครั้ง ราดทรงพุ่มด้วยฮอร์โมนไข่ 50 มล./20 ล. 2 ครั้ง สามารถปรับลดปริมาณและจำนวนครั้งที่ใส่ปุ๋ยได้ โดยพิจารณาตามขนาดทรงพุ่มและปริมาณผลผลิต

เพื่อเป็นการขยายผลเผยแพร่เทคโนโลยีการผลิตทุเรียนอินทรีย์ สวพ.6 จึงได้จัดฝึกอบรมหลักสูตร "เทคโนโลยีการผลิตทุเรียนอินทรีย์" โดยการถ่ายทอดผลงานวิจัยภายใต้โครงการวิจัยและพัฒนาระบบการผลิตทุเรียนอินทรีย์พื้นที่จังหวัดจันทบุรี ให้กับเกษตรกรผู้สนใจได้เรียนรู้และนำไปประยุกต์ใช้ในการผลิตไม้ผลอินทรีย์สวนตนเอง รวมถึงได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างเกษตรกรผู้ผลิตพืชอินทรีย์ นำโดย นายรัฐไท พงษ์ศักดิ์ ประธานวิสาหกิจชุมชนเกษตรเพื่อสุขภาพบ้านปัถวี และอาจารย์ ดร.เข็มชาติ เชยชม มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี ผลสืบเนื่องจากการฝึกอบรมทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และปัจจัยการผลิตพืชอินทรีย์ในพื้นที่ภาคตะวันออก จนเกิดการขับเคลื่อนสร้างเครือข่าย กลุ่มผู้ผลิตทุเรียนอินทรีย์ เตรียมยกระดับจัดตั้งเป็นแปลงใหญ่ทุเรียนอินทรีย์ โดยการรวมกลุ่มจดทะเบียนสร้างกลุ่มแปลงใหญ่ทุเรียนอินทรีย์จังหวัดจันทบุรีขึ้นเป็นครั้งแรกในภาคตะวันออก ซึ่งนับเป็นโอกาสอันดีที่เกษตรกรได้รวมกลุ่มจัดตั้งแปลงใหญ่ทุเรียนอินทรีย์จังหวัดจันทบุรี จึงนับเป็นจุดเริ่มต้นของการขยายผลจากงานวิจัยภายใต้โครงการของกรมวิชาการเกษตรเพื่อขับเคลื่อนการผลิตพืชอินทรีย์จังหวัดจันทบุรี และต่อยอดสู่การตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์ สร้างมูลค่าอย่างยั่งยืน

"นอกจากนี้ สวพ.6 ยังได้วิจัยและพัฒนาการแปรรูปทุเรียนอินทรีย์ โดยจัดฝึกอบรมด้านการแปรรูปและการตลาดสินค้าออนไลน์ สอนการแปรรูปผลิตภัณฑ์ ชิฟฟ่อน หม้อแกงทุเรียน คัพเค้กหน้าซอสทุเรียน ทาร์ตไส้ทุเรียนกวน และไอศกรีมทุเรียน รวมทั้งยังนำเกษตรกรไปศึกษาดูงานแหล่งแปรรูปทุเรียน ได้เรียนรู้เทคนิคและอุปกรณ์การแปรรูปทุเรียนทอด สาธิตวิธีการผลิตน้ำทุเรียน และแบ่งปันประสบการณ์ด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์น้ำทุเรียน เปิดโอกาสให้เกษตรกรได้เรียนรู้เรื่องการตลาดออนไลน์ ฝึกปฏิบัติเทคนิคการถ่ายรูปผลิตภัณฑ์ และการสร้างหน้าร้านออนไลน์ ซึ่งเกษตรกรนำความรู้มาต่อยอดการแปรรูปไอศกรีมทุเรียนและพัฒนาเป็นสูตรของตนเองจำหน่ายสร้างรายได้ในครัวเรือนด้วย" ผอ.สวพ.6 กล่าว

ที่มา: กรมวิชาการเกษตร

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๓๑ ม.ค. รู้จักโรคอ้วนดีแล้ว.จริงหรือ?
๓๑ ม.ค. บมจ.ไทยเซ็นทรัลเคมี ร่วมกับ MBK ส่งมอบปฏิทินในกิจกรรม ปฏิทินเก่ามีค่า เราขอ
๓๑ ม.ค. BSRC ออกหุ้นกู้รอบใหม่ 8,000 ล้านบาท ยอดจองเกินเป้า ตอกย้ำความเชื่อมั่นของผู้ลงทุน
๓๑ ม.ค. คปภ. ร่วมสัมมนาประกันภัย ครั้งที่ 29 เตรียมรับมือความเสี่ยงอุบัติใหม่ พลิกโฉมธุรกิจประกันภัยสู่ความท้าทายในอนาคต
๓๑ ม.ค. มอบของขวัญให้กับครอบครัวของคุณช่วงวันหยุดพิเศษที่ สเตย์บริดจ์ สวีท แบงค็อก สุขุมวิท
๓๑ ม.ค. OR เปิดตัว CEO คนใหม่ หม่อมหลวงปีกทอง ทองใหญ่ มุ่งผลักดันไทยสู่ Oil Hub แห่งภูมิภาค พร้อมขับเคลื่อนองค์กรด้วยดิจิทัล-นวัตกรรม
๓๑ ม.ค. เดลต้า ประเทศไทย คว้ารางวัล ASEAN's Top Corporate Brand ประจำปี 2567
๓๑ ม.ค. โรงแรมอลอฟท์ กรุงเทพ สุขุมวิท 11 พลิกโฉมใหม่ สุดโมเดิร์น! พร้อมเปิดตัว w xyz bar ตอกย้ำความสนุกในแบบฉบับ
๓๑ ม.ค. PAUL JOE เปิดตัว GLOSSY ROUGE ต้อนรับฤดูใบไม้ผลิ 2025
๓๑ ม.ค. บริษัท โกซอฟท์ (ประเทศไทย) ได้รับเกียรติบัตรศูนย์ รับเรื่องและแก้ไขปัญหาให้กับผู้บริโภคระดับดีเด่น จาก สคบ. และการรับรองมาตรฐาน ISO